วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอแนวทางและมาตรการ การกระจายการถือครองที่ดินในสังคมไทย (นโยบายสาธารณะ)

นำเสนอต่อ คณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
(เอกสารประกอบการประชุมของคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2/2552 วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ณ ห้อง 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล)

***ข้อเสนอด้านโฉนดชุมชน ***

1. ความหมายของโฉนดชุมชน

“โฉนดชุมชน” เป็นรูปแบบการบริหารจัดการของการใช้สิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งเป็นสิทธิรวมหมู่ของชุมชนในการจัดการการครอบครองที่ดินและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดิน เพื่อสร้างความมั่นคงในการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน และเป็นการรักษาพื้นที่เกษตรในการผลิตพืชอาหารในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยการเลือกรูปแบบการผลิตที่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและระบบภูมินิเวศ รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล

2. ขั้นตอนดำเนินการโฉนดชุมชน

การดำเนินการโฉนดชุมชนให้เริ่มทันทีในพื้นที่ของชุมชนที่มี
ความพร้อม ดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่องให้เห็นเป็นตัวอย่าง
แล้วจึงขยายผล โดยใช้มาตรการทางนโยบาย ด้วยการมีมติ
คณะรัฐมนตรีรองรับ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริการ
จัดการโฉนดชุมชนขึ้นมา ประกาศใช้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนร่วมกัน
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน และเมื่อมีข้อมูล การเรียนรู้
จากโครงการนำร่องระยะหนึ่ง จึงพัฒนาเป็นกฎหมายโฉนดชุมขนต่อไป

3. การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อทำโฉนดชุมชน

เนื่องจากที่ดินแต่ละประเภทที่ชุมชนครอบครองอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายและหน่วยงานของรัฐที่แตกต่างกันกระบวนการได้มาซึ่งที่ดินย่อมมีความแตกต่างกันด้วย เช่น ที่ดินในเขตป่า ที่ดินในเขตที่สาธารณะ ที่ดินในเขตที่ราชพัสดุ ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินเอกชนทิ้งร้าง และที่ดินในเขตสวนป่า ควรมีการกันเขตพื้นที่เหล่านี้มาให้ชุมชนนำร่องดำเนินการจัดการด้วยชุมชนเอง ที่ดินเอกชนควรให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำเงินจากกองทุนปฏิรูปที่ดินมาจัดซื้อ และนำมาดำเนินการร่วมกับชุมชน ซึ่งจะต้องดำเนินการเสนอทางเลือกในการได้มาซึ่งที่ดินโดยชัดเจน

4. พื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ

พื้นที่นำร่องของเครือข่ายปฎิรูปที่ดินประกอบด้วย

ภาคเหนือ จำนวน 13 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง บ้านแพะใต้ อยู่หมู่ 7 ต.หนองล่อง อ.ป่าซาง จ.เชียงใหม่ บ้านท่ากอม่วง ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน หมู่บ้านน้ำปุก หมู่ที่ 1 ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา บ้านแม่หมี หมู่ 6 ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง บ้านสมานมิตร หมู่ 1 ต. ดอนศิลา อ. เวียงชัย จ. เชียงราย บ้านสันกลาง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร บ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ บ้านหินลาดใน หมู่ 7 ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 10 ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ บ้านหนองขาวกลาง ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก บ้านหนองห้า หมู่ ๘ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

ภาคใต้ จำนวน 10 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านตะแพนหมู่ 2, บ้านห้วยครก หมู่ 4, บ้านท่ายูง หมู่ 5, บ้านห้วยไทร-หัสคุณ หมู่ 7, บ้านท่าข้าม หมู่ 8 ตำบลตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง และบ้านทับเขือ-ปลักหมู หมู่ 1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และหมู่ 1 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง บ้านคลองไทร บ้านไทรงาม ตำบลไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี และบ้านสันติพัฒนา ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี

ภาคอีสาน จำนวน 9 พื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่สัญญาเช่า ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง บ้านห้วยระหงส์ ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง บ้านห้วยกลฑา ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวตำบลโคกมน อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ที่สาธารณะทุ่งซำเสี้ยว ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ที่สาธารณะดงกลาง ต.ดงกลาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ที่สาธารณะดอนฮังเกลือ ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ ที่สาธารณะดอนหนองโมง-หนองกลาง บ้านเขวาโคก ต.สระบัว อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด

ภาคกลาง จำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วย สหกรณ์เช่าที่นาคลองโยง จ.นครปฐม และสหกรณ์เช่าที่นาพิชัยภูเบนทร์ จ. อุตรดิตถ์

สลัม จำนวน 1 พื้นที่ ชุมชนเพิ่มสิน กรุงเทพมหานคร

ข้อเสนอด้านภาษีที่ดิน

1. รัฐบาลควรดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ..... มาตรา 8 ให้บัญญัติเพิ่มเติมโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนเข้าคลังอย่างน้อยร้อยละ 2 เพื่อเป็นกองทุนสำหรับจัดตั้งและบริหารจัดการของธนาคารที่ดิน
2. การจัดเก็บภาษีที่ดิน ควรจัดเก็บภาษีกับที่ดินที่ผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ทำประโยชน์ ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานานในอัตราภาษีที่สูงกว่าอัตราภาษีที่ดินที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
3. ควรมีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ที่มีที่ดินถือครองในมูลค่าน้อยหรือเกษตรกรที่ยากจน เพื่อไม่ให้ภาระภาษีตกแก่กลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและต้องอาศัยที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตเพื่อดำรงชีพ
4. เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างแท้จริง ควรมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน เพื่อเป็นแรงกดดันไม่ให้เกิดการถือครองที่ดินในจำนวนมาก คือยิ่งถือครองเป็นจำนวนมากก็ต้องยิ่งมีภาระเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ควรมีการศึกษาว่าขนาดการถือครองที่ดินที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทควรจะเป็นเท่าไร และควรมีการยกร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินก้าวหน้า แยกออกมาชัดเจนจาก ร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ข้อเสนอด้านกองทุนธนาคารที่ดิน


1. รัฐบาลจึงควรเร่งให้มีการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินขึ้น โดยให้เป็นองค์กรอิสระ บริหารงานในรูปแบบองค์กรมหาชนและไม่แสวงหากำไร เพื่อเป็นเป็นกลไกพิเศษที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงที่ดินที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อยรวมทั้งที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของคนจนและชนชั้นกลางระดับล่าง
2. ให้ธนาคารที่ดินที่มีอำนาจหน้าที่ในการประกาศให้ที่ดินทำกินที่ได้มีการจัดหาผ่านกลไกของกองทุนธนาคารที่ดิน เป็นพื้นที่คุ้มครองเพื่อเกษตรกรรม รวมถึงการสนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับนิเวศวิทยา ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
3. เกษตรกรรายย่อย คนจนและชนชั้นกลางระดับล่างที่จะขอรับการสนับสนุนในการจัดหาที่ดินจากกองทุนธนาคารที่ดินจะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันในลักษณะของกรรมสิทธิ์ร่วมหรือโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลุดมือของที่ดินจากเกษตรกรรายย่อยและคนจน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการถือครองที่ดิน
4. ในระยะเริ่มต้นให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน โดยการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนำเงินกองทุนต่างๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นทุนตั้งต้นและดำเนินการให้เกิดโครงการนำร่องเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
5. ในระยะยาวให้รัฐบาลผลักดันให้มีพระราชบัญญัติกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อยกระดับกองทุนธนาคารที่ดินให้เป็นองค์กรมหาชน ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน



***ข้อเสนอจากคณะทำงานศึกษามาตรการทางกฎหมาย นโยบายเพื่อรองรับการกระจายการถือครองที่ดิน ***
ภาพรวมของปัญหาการจัดการที่ดินสังคมไทย

ระบบการจัดการที่ดินเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในบางกลุ่มและการทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์ การขาดแคลนและการสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกร การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ของรัฐและเอกชน ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและรวมถึงการสร้างระบบกฎหมายเพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการจัดการที่ดินให้เกิดขึ้น
สภาพปัญหาในที่ดินเอกชน
สภาพปัญหาของการถือครองที่ดินโดยเอกชนในสังคมไทยได้สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการจัดการที่ดินโดยรัฐไทยได้อย่างชัดเจน
ในด้านหนึ่ง มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินจำนวนมหาศาลภายในกลุ่มคนจำนวนน้อย เช่น การถือครองที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยบุคคลและนิติบุคคลจำนวน 50 รายแรก ถือครองที่ดินเป็นจำนวนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด จากจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการมากกว่า 5.7 ล้านคน หรือหากพิจารณาจากจำนวนถือครองที่ดินของชนชั้นนำในสังคมไทยที่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะจะพบว่ามีการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏอย่างชัดเจนในหมู่นักการเมืองที่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงข้าราชการระดับสูงที่ไม่ปรากฏข้อมูลต่อสาธารณะแต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่ามีแนวโน้มในลักษณะเช่นเดียวกัน
ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามกับการถือครองที่ดินของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องใช้ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรสำคัญในการผลิตเพื่อดำรงชีพ ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยไม่มีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่า 811,892 ครอบครัว และในส่วนที่ต้องเช่าที่ดินทำกินมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านครอบครัว รวมทั้งข้อมูลการสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ก็ยังพบว่าในการถือครองที่ดินจำนวนมากได้ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่ทำประโยชน์ การสำรวจของมูลนิธิสถาบันที่ดินพบว่ามีที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้โดยไม่ทำประโยชน์มีจำนวนถึง 48 ล้านไร่ และทำให้เกิดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนขั้นต่ำ 127,384.03 ล้านบาท ทั้งนี้ที่ดินซึ่งถูกทิ้งร้างเหล่านี้เป็นที่ดินซึ่งเกิดจากการกว้านซื้อเพื่อเก็งกำไรโดยมิได้ต้องการนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดการผลิตที่แท้จริงแต่อย่างใด
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาการถือครองที่ดินที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินและการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้แก่ประชาชน

ปัญหาของระบบกฎหมายสำหรับที่ดินเอกชน

ระบบกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในสังคมไทยเปิดโอกาสให้มีการถือครองที่ดินโดยเอกชนได้อย่างเสรี แม้จะมีการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและบำรุงท้องที่แต่ก็เป็นไปในอัตราที่ต่ำและไม่มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลระบบภาษีที่มีอยู่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากแต่อย่างใด จึงเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่นำมาสู่การพยายามครอบครองที่ดินจำนวนมากในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การกว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการเก็งกำไร การซื้อที่ดินซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิในราคาต่ำก่อนนำไปสู่การออกเอกสารสิทธิโดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การขอรับสิทธิในที่ดินซึ่งรัฐต้องการแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ ดังที่เกิดในการแจกจ่ายที่ดินแก่เกษตรกรตามนโยบายการปฏิรูปที่ดิน
แม้ในกฎหมายที่ดินจะมีการควบคุมไม่เกิดการทิ้งร้าง แต่ในสภาพความเป็นจริงไม่มีกระบวนการตรวจสอบอย่างจริงจังเกิดขึ้น ที่ดินจำนวนมากจึงถูกปล่อยปละละเลยโดยไม่มีการทำประโยชน์เกิดขึ้น หรือในส่วนของการปฏิรูปที่ดินที่แม้จะห้ามโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก แต่ก็เช่นเดียวกันมีการโอนสิทธิเกิดขึ้นระหว่างบุคคลด้วยกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับกฎหมายผังเมืองซึ่งควบคุมลักษณะการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ แต่การกำหนดพื้นที่ดังกล่าวก็สามารถถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ยาก ทำให้การคาดหวังว่าจะมีการจำกัดกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าเป็นจำนวนมหาศาล เช่น การเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหมู่บ้านจัดสรร ทำให้การลงทุนในระบบชลประทานเพื่อการเกษตรเกิดการสูญเปล่าขึ้น

แนวทางแก้ไขปัญหาในที่ดินเอกชน

จำเป็นต้องเปลี่ยนมิติการมองที่ดินจาก “ทรัพย์สินส่วนตัว” มาเป็น “ต้นทุนทางสังคม” การใช้ประโยชน์ในที่ดินและการถือครองที่ดินต้องคำนึงประโยชน์ของสังคมและความเป็นธรรมเข้ามากำกับ การถือครองที่ดินไม่อาจอนุญาตให้เกิดขึ้นได้อย่างเสรีภายใต้การแสวงประโยชน์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของการใช้กฎหมายในการกำกับระบบการจัดการที่ดินต้องดำเนินไปภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญ คือการกระจายการถือครองที่ดินและการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชนชั้นล่าง
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการใช้มาตรการหลายด้านประกอบกัน นับตั้งแต่การใช้ระบบภาษีที่ดินแบบก้าวหน้าเพื่อทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจากคนส่วนน้อยในสังคมและทำให้ที่ดินไม่อยู่ในการแสวงหาประโยชน์ด้วยการเก็งกำไร หากสามารถทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินออกมาได้ก็จะทำให้รัฐสามารถนำที่ดินเหล่านี้ไปกระจายสู่เกษตรกรหรือผู้ขาดแคลนที่ดินทำกินได้มากขึ้น จากเดิมที่ต้องอาศัยที่ดินของรัฐเป็นหลัก นโยบายการปฏิรูปที่ดินหรือการใช้ธนาคารที่ดินมาเป็นเครื่องมือก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ก็จะสามารถกระทำได้อย่างเป็นจริงมากขึ้น
การใช้ระบบภาษีที่ดินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน แต่ทั้งนี้ภาษีดังกล่าวต้องเป็นไปในลักษณะก้าวหน้าเพื่อเป็นแรงกดดันไม่ให้เกิดการถือครองที่ดินในจำนวนมาก และต้องมีลักษณะที่ก้าวหน้าโดยยิ่งถือครองเป็นจำนวนมากก็ยิ่งมีภาระเพิ่มมากขึ้นเพื่อทำให้เกิดภาระกับผู้ถือครองจนไม่เป็นแรงจูงใจให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นจากการถือครองที่ดินดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สภาพปัญหาในที่ดินของรัฐ

การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน โดยกำหนดว่าที่ดินทั้งหมดของประเทศซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 320 ล้านไร่ ให้แบ่งเพื่อนำมาใช้ทำประโยชน์ 130 ล้านไร่ และที่เหลือกำหนดไว้เพื่อการอนุรักษ์
ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวนำไปสู่การมีนโยบายเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินอีกมากมายหลายนโยบาย มีการบัญญัติกฎหมายและจัดตั้งองค์กร พร้อมทั้งกำหนดอัตรากำลังและจัดตั้งหน่วยงานในระดับต่างๆ และกลไกเพื่อปกป้องรักษาพื้นที่ป่าไม้ ตามนโยบายดังกล่าวมีการจัดสรรพื้นที่ป่าออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งดำเนินการโดยมีกฎหมายต่างๆ บัญญัติกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการ มีการสร้างแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ
นโยบายเหล่านี้เป็นผลให้พื้นที่จำนวนมากเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐและอยู่ภายอำนาจการจัดการของหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมกับการปฏิเสธสิทธิของชุมชนท้องถิ่นทำให้ประชาชนจำนวนมากกลายเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ของรัฐโดยเฉพาะในพื้นที่ป่า กระทั่งปัจจุบันประมาณว่ามีผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างผิดกฎหมายประมาณ 3 แสนครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมายแต่หน่วยงานรัฐก็ไม่สามารถผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้ออกมาได้ และกลายเป็นปัญหาเรื้อรังสืบเนื่องมา
นอกจากมีนโยบายในการจัดการพื้นที่ทั้งในด้านการคุ้มครองพื้นที่และนโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว ยังมีนโยบายในด้านอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินในเขตป่า เช่น นโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ส่งผลให้เกิดการสัมปทานป่าไม้ มีการเปิดพื้นที่ป่าสมบรูณ์เพื่อทำไม้แต่ขาดการฟื้นฟูทำให้เกิดป่าเสื่อมโทรม, นโยบายส่งเสริมการปลูกพื้นเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก เช่น ปอ ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ ซึ่งยิ่งส่งเสริมให้มีการส่งออกก็ยิ่งทวีขยายการสูญเสียพื้นที่ป่า, นโยบายการสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนที่สร้างเข้าไปในพื้นที่ป่า การสร้างเขื่อน เป็นต้น อันเป็นผลให้พื้นที่ดังกล่าวจำนวนมากตกอยู่ในความครอบครองและการใช้ประโยชน์ของธุรกิจเอกชน
นอกจากที่ดินในเขตป่าดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ที่ดินของรัฐในลักษณะอื่นๆ เช่น ที่ราชพัสดุ ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินซึ่งส่วนราชการต่างๆ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้ก็ประสบปัญหาและเริ่มทวีความรุนแรง เนื่องจากที่ดินของรัฐในลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยถูกจัดการไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบฐานข้อมูล ด้านนโยบาย ด้านกลไกและเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในด้านการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมาก่อน ดังนั้น เมื่อหน่วยงานของรัฐที่ดูแลที่ดินเริ่มใช้นโยบายการนำที่ดินไปแสวงหาผลประโยชน์ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น
จากการศึกษาผลกระทบจากนโยบายเช่นนี้พบว่ามีการกระจุกตัวการถือครองที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ จึงส่งผลให้ผู้ที่เคยได้รับการจัดสรรที่ดินไม่แน่ใจในความมั่นคงในสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินอีกต่อไป มีการนำมาตรการทางกฎหมายอาญา มาตรการตามกฎหมายแพ่งมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาโดยใช้ทัศนะในการมองประชาชนว่าเป็นผู้กระทำความผิดในทางกฎหมาย จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อไม่ไห้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป ในขณะที่ความต้องการในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในความดูแลของรัฐในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยหรือประกอบการกลับมีความต้องการสูงขึ้นทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ลักษณะดังกล่าวมักจะอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีโอกาสที่จะหางานทำได้สูงกว่า ในขณะที่จำนวนของผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินลักษณะดังกล่าวก็มีสูงขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวของภาคการเกษตรจึงทำให้เกิดการไหลเข้ามาขายแรงงานในเมืองของแรงงานภาคการเกษตร
ขณะที่ในพื้นที่ชนบทประชาชนที่ครอบครองและทำประโยชน์ก็ถูกปฏิเสธสิทธิในผืนดินที่ได้ครอบครองอยู่ แม้จะเป็นการครอบครองมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ของรัฐประเภทต่างๆ เช่น พื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น การไม่ยอมรับสิทธิของประชาชนในลักษณะเช่นนี้เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวางระหว่างชุมชนที่อาศัยในพื้นที่ป่ากับหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

ปัญหาของระบบกฎหมายสำหรับที่ดินของรัฐ

ในการจัดการที่ดินของรัฐทั้งหมดดังที่กล่าวมา แม้จะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อให้ใช้เป็นที่ทำกินโดยมีหน่วยงานต่างๆเข้ามารับผิดชอบดำเนินการ เช่น การจัดสรรสิทธิในรูปของสิทธิทำกินเขตป่า (สทก.) การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) การจัดตั้งเป็นนิคมพัฒนาตนเอง หมู่บ้านป่าไม้ โครงการจัดสรรที่กินทำกินในเขตป่า (คจก.) ฯลฯ แต่เมื่อประเมินการดำเนินการตามนโยบายเพื่อกระจากการถือครองที่ดินภายใต้โครงการต่างๆ ดังที่กล่าวมากลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินก็ยังคงสูญเสียที่ดินทำกิน และในรายที่ยังคงถือครองที่ดินที่ได้รับการจัดสรรอยู่ก็พบว่ายังขาดความมั่นคงในชีวิต ยังคงเป็นหนี้และมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียที่ดินทำกินสูง ทั้งๆ ที่มีสิทธิในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ปัญหาพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งก็คือ การไม่ยอมรับรองสิทธิของประชาชนที่ได้ใช้ครอบครองและประโยชน์ในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ ทำให้มีการผลักดันและขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดเป็นแนวเขตของรัฐ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจะแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินทำกินจึงต้องสร้างแนวทางใหม่เพื่อตอบโจทก์เรื่องการถือครองที่ดิน ซึ่งคำถามเรื่องการถือครองที่ดินไม่ได้มีคำถามว่าจะให้สิทธิประเภทใด จำนวนการถือครองที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร วิธีการหรือเครื่องมือเพื่อให้เข้าถึงสิทธิในที่ดินควรจะเป็นอย่างไร แต่คำถามเรื่องการถือครองที่ดินควรจะเป็นคำถามที่ว่าจะมีการปฏิรูประบบบริหารจัดการการถือครองที่ดินของประเทศอย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากว่าจากอดีตที่ผ่านมาความล้มเหลวของระบบการกระจายการถือครองที่ดินทำกินอยู่ตรงที่การดำเนินการเฉพาะจุด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการบริหารการกระจายการถือครองที่ดินเสียใหม่ทั้งระบบ ซึ่งระบบการบริหารการกระจายการถือครองที่ดินที่จะดำเนินการอย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ (จึงจะทำให้เกิดการกระจายตัวของที่ดิน) คือ
1. การรับรองสิทธิของประชาชนที่จะทำกินในพื้นที่ที่ดินของรัฐตามสถานะต่างๆ อย่างเป็นธรรม
2. การรับรองหน่วยของผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายในรูปของกลุ่มหรือชุมชน
3. การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินออกเป็นเขตต่างๆ ตามศักยภาพและความสามารถในการรองรับของที่ดินในแต่ละพื้นที่
4. การมีส่วนร่วมของประชาชนและของชุมชนในการเข้ามาดำเนินการกำหนดและจัดสรรที่ดิน การบริหารจัดการ การติดตามประเมินผล
5. การกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมของฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และจะต้องมีสถานะและสภาพบังคับในทางกฎหมายเพื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ที่จะต้องรับผิดชอบและดำเนินการ
6. การปฏิรูประบบกฎหมายทั้งระบบเพื่อวางระบบการบริหารจัดการการกระจายการถือครองที่ดิน
7. การปฏิรูประบบการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการกระจายการถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน
8. การวางระบบการคุ้มครองการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทต่างๆ อย่างเข้มงวดและจริงจัง
9. การสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางระบบการบริหารจัดการที่ดินสมัยใหม่อาทิเช่น ระบบฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน ระบบการให้สิทธิในการถือครองที่ดินในรูปของกลุ่ม อาทิเช่น โฉนดชุมชน สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น หรือการใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเข้ามาเสริมการดำเนินการ เช่น ธนาคารที่ดิน กฎหมายภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือที่เรียกว่าภาษีทรัพย์สิน
10. ในระยะการเริ่มต้นดำเนินการมีความจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและสั่งการไปยังส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการตราพระราชกฤษฎีกาหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อปูทางไปสู่การดำเนินการในการปฏิรูปที่ดิน (ในระยะกลางและในระยะยาว)

แนวทางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปที่ดิน

รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นโยบายที่สำคัญประการหนึ่งคือการปฏิรูปที่ดิน ทั้งนี้ประเด็นสำคัญคือภายใต้นโยบายดังกล่าวมีเครื่องมือที่จะช่วยให้การดำเนินการเป็นจริงในระดับปฏิบัติได้อย่างไร
กระบวนการที่ต้องดำเนินการ
1. ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดของรัฐบาลควรที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่เร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อต้องการที่จะทำให้การปฏิรูปที่ดินเกิดรูปธรรมที่แท้จริง ในมิติทางนโยบายและกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1.1 แนวทางและวิธีการที่จะต้องดำเนินการ
มีแนวทางและวิธีการที่สามารถดำเนินการได้ดังต่อไปนี้
1.1.1. การมีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะในการดำเนินการของพื้นที่นำร่อง
1.1.2. การเตรียมการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางในการปฎิรูปที่ดิน โดยเฉพาะพื้นที่ของรัฐ
1.1.3. การมีมติครม.กำหนดแนวทางในการปฏิรูประบบราชการเพื่อนำไปสู่การรับเอานโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยตั้งอยู่บนแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.1.4. การมีนโยบายในการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับหลักความเป็นธรรมเพื่อการกระจายการถือครองที่ดินและการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพของประชาชนที่ไร้ที่ดินทำกิน กล่าวคือ
ก. ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลซึ่งประกาศไว้ ซึ่งมีผลเท่ากับว่านโยบายดังกล่าวมีเครื่องมือในทางกฎหมายที่สามารถดำเนินการได้โดยทันที
ข. ปัญหาความล้มเหลวเรื่องการจัดที่ดินให้กับผู้ยากไร้ที่ผ่านๆมามีปัญหาอยู่สาม ประการ
ประการแรก ขาดระบบสนับสนุนในเชิงการบริหารจัดการ
ประการที่สอง ขาดกระบวนการในการจัดการเชิงสังคม
ประการที่สาม ขาดระบบการตรวจสอบและหลักประกันเพื่อไม่ให้
เกิดการสูญเสียที่ดินอีก
ทั้งสามประการดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาในทางกฎหมายโดยตรง หากเป็นปัญหาของระดับนโยบายและปัญหาของระบบราชการที่ขาดการบูรณาการกันและที่สำคัญคือการการมีส่วนร่วมจากประชาชน คู่ขนานไปกับปัญหาของภายในกลุ่มของประชาชนที่จะได้รับการจัดสรร ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะต้องใช้กระบวนการในเชิงการบริหารการจัดการเฉพาะพื้นที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งจำเป็นอย่างยางที่จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ทุกๆฝ่ายเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา
ดังนั้น การมีมติครม. เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่หน่วยงานที่จะดำเนินการตามกฎหมาย การมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อบูรณาการแนวทางการทำงานร่วมกันของส่วนราชการต่างๆ การตราพระราชกฤษฎีการทั้งตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพตามมาตรา 7 ก็ดี การตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการสนับสนุนและติดตามการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพในระยะต้น และ การวางระบบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายปฎิรูปที่ดินของรัฐบาลในระยะยาว จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ค. สำหรับประเด็นเรื่องรูปแบบของเอกสารสิทธิซึ่งเป็นข้อเสนอที่มีการพิสูจน์มาแล้วในระดับหนึ่งว่าสามารถที่จะเป็นหลักประกันเรื่องการป้องกันการไม่ใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือใช้ที่ดินผิดประเภท รวมถึงการขายสิทธิในที่ดินได้ ก็มีข้อเสนอที่เป็นทางออกในทางกฎหมายทั้งในระยะเฉพาะหน้าและในระยะยาว โดยในระยะนำร่องมีข้อเสนอให้จัดตั้งสหกรณ์และให้สหกรณ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรืออาจจะเป็นหน่วยในรูปแบบอื่นเพื่อเป็นเจ้าของสิทธิอาทิเช่น ในกรณีที่องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งเข้าใจและยอมรับในแนวคิดเรื่องโฉนดชุนชนและสิทธิชุมชนเข้ามาถือสิทธิในนามของชุมชน และในระยะยาวอาจจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่อไป
1.1.5. การจัดทำข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงระบบกฎหมายที่จะทำให้การปฏิรูปที่ดิน การติดตามประเมินผลประสบความสำเร็จอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องกำหนดมาตรการที่เป็นเครื่องมือทางการคลังเช่น ธนาคารที่ดิน มาตรการทางภาษีโดยใช้อัตราภาษีก้าวหน้า การกำหนดเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ในที่ดิน การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มฯลฯ

http://www.prachatai.com/sites/default/files/%2030%20มิย%2052.doc

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การแปรรูปรถไฟไทย

ครม.พิจารณาแผนฟื้นฟูการรถไฟวันนี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 08:00
คมนาคมชง ครม.วันนี้ พิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ และจัดตั้ง 2 บริษัทลูกของการรถไฟ คาดสร้างรายได้แตะแสนล้านบาทภายใน 10 ปี

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.คาดหวังให้การพิจารณาแผนปฏิบัติการในการปรับปรุงโครงสร้าง และจัดตั้งบริษัทเดินรถและบริหารทรัพย์สินผ่านการเห็นชอบจาก ครม.วันนี้ (26 พ.ค.) ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการดำเนินการในภาพรวมของ ร.ฟ.ท.

นายยุทธนา กล่าวว่า การจัดตั้งบริษัทลูกของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงค์ จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ โดยแผนการจัดตั้งบริษัทลูกถือเป็นการดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระบบเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ที่ ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นช่วงเดือน เม.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบริษัทเดินรถของแอร์พอร์ตลิงค์เกิดขึ้น การจัดหาบุคลากร การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ จะสามารถเดินหน้าอย่างคล่องตัว เพราะไม่ต้องนำทุกเรื่องที่จะดำเนินการผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. โดยผู้บริหารของบริษัทลูกที่จัดตั้งขึ้น สามารถบริหารและสั่งการงานต่างๆ ได้เลย ส่วนโครงสร้างของบริษัท ยืนยันว่า ร.ฟ.ท.ควรเป็นผู้ถือหุ้น 100% ส่วนการที่จะนำผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในพนักงาน ร.ฟ.ท. รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบว่า รูปแบบใดมีความเหมาะสมมากที่สุด

ส่วนความคืบหน้าของการก่อสร้างและทดสอบการเดินรถของโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ในส่วนของการก่อสร้าง และตกแต่งสถานี มีความคืบหน้าแล้ว 99%

สาเหตุที่ ร.ฟ.ท. ต้องการเปิดให้มีการเริ่มทดสอบเดินรถเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ส.ค.นี้ เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 31 คัน 9 ขบวน ที่ประกอบโดย บริษัทซีเมนส์ นำเข้ามาในประเทศไทยจนครบเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งก็ควรนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ทดสอบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังคาดหวังว่า แผนฟื้นฟูกิจการในภาพรวมจะผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้ฐานะการเงิน และภาพรวมกิจการรถไฟปรับตัวไปในทิศทางดีขึ้น

สำหรับภาพรวมของแผนการฟื้นฟูกิจการที่กระทรวงคมนาคม เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณานั้น ได้เสนอให้ภาครัฐเข้ามารับภาระ ผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ (PSO) และการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน หรือระบบราง การซ่อมบำรุง และระบบอาณัติสัญญาณ (Infrastructure Maintenance Operation : IMO) ในอนาคต 70% คิดเป็นวงเงิน 48,426 ล้านบาท โดยบริษัทเดินรถที่ ร.ฟ.ท.จัดตั้งขึ้น จะรับภาระที่เหลืออีก 30%

ทั้งนี้ โดยผลการศึกษาระบุชัดเจนว่า การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อเทียบกับการไม่ดำเนินการจะมีผลแตกต่างกันมาก คือ การดำเนินการตามแผนฟื้นฟู จะทำให้ ร.ฟ.ท. มีรายได้เพิ่มจากการเดินรถ เป็น 109,521 ล้านบาท จากปกติ 79,638 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 10 ปี เนื่องจาก ร.ฟ.ท.จะมีรายได้เพิ่มจากการเดินรถ และขนส่งสินค้า ตามแผนการลงทุนก่อสร้างทางคู่ ขณะเดียวกัน จะสามารถลดเงินอุดหนุน ตามเงื่อนไข IMO จาก 69,320 ล้านบาท ลงเหลือ 48,426 ล้านบาท และลดเงินสนับสนุนด้าน PSO ลงจาก 40,000 ล้านบาท ลงเหลือ 25,376 ล้านบาท
**************************************************************
สหภาพฯร.ฟ.ท.ร้องนายก เบรกนำแผนฟื้นฟูเข้าครม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 2 มิถุนายน 2552 00:01

สหภาพฯ ร.ฟ.ท. ยื่นหนังสือร้อง "อภิสิทธิ์" เบรกแผนฟื้นฟูฯ เข้า ครม. ชี้ขัดข้อตกลงที่ผู้บริหารรับปากสหภาพฯ ไว้

นายภิญโญ เรือนเพชร รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) พร้อมคณะประมาณ 60-70 คนได้เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน ร.อ.ทวิช ศุภวรรณ์ ผู้อำนวยการส่วนประสานงานมวลชนและองค์กรประชาชน ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้ระงับการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.เข้าที่ประชุม ครม.

นายภิญโญ กล่าวว่า ผู้บริหาร ร.ฟ.ท.ได้ ทำข้อตกลงกับสหภาพฯ เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2550 ว่า กรณีจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรของการรถไฟฯผู้บริหารจะต้องทำความ ตกลงกับสหภาพฯก่อน แต่แผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟฯ ที่กระทรวงคมนาคมและผู้บริหารการรถไฟฯ เตรียมเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาในวันที่ 3 มิ.ย. นี้ ยังไม่ได้มีการหารือร่วมกับสหภาพฯก่อน ซึ่งถือว่า ผิดข้อตกลงที่เคยทำร่วมกันไว้ ดังนั้น สหภาพฯจึงมายื่นหนังสือถึงนายกฯ เพื่อขอให้ระงับการนำแผนฟื้นฟูฯ เข้า ครม.ออกไปก่อน

นอกจากนั้นแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าว ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพการจ้างงานของพนักงาน ร.ฟ.ท. เพราะตามแผนดังกล่าวฯ จะมีการปลดพนักงานออกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งแผนฟื้นฟูฯยังกำหนดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการกิจการบางส่วนนั้น ทำให้เชื่อว่า จะทำให้ภาครัฐและประชาชนเสียประโยชน์ เพราะวัตถุประสงค์ของภาคเอกชน คือ การแสวงหากำไร
“สหภาพฯ เห็นว่าความพยายามในการผลักดันแผนฟื้นฟูฐานะการเงินของ ร.ฟ.ท. เตรียมจะเสนอเข้า ครม.พิจารณานั้น ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนที่ผู้บริหารตกลงกับสหภาพฯ ไว้ และแผนดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในการส่งเสริมการขนส่งระบบราง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะการตั้งบริษัทลูก จะทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างการรถไฟฯและบริษัทที่จะเกิดขึ้นใหม่ขาดจากกันใน อนาคต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน และพนักงานในที่สุด" นายภิญโญ ย้ำ

นายภิญโญ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาสหภาพฯเคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาของ ร.ฟ.ท. ต่อรัฐบาลมาแล้ว เช่น จัดทำรางคู่ทั่วประเทศ ปรับขนาดรางเป็นขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร การจัดหารถจักร รถโดยสาร รถสินค้าให้เพียงพอ เพิ่มการจัดเก็บรายได้จากที่ดินทั่วประเทศ ให้รัฐบาลจ่ายเงินการบริการทางสังคมให้ตรงเวลา (PSO) ซึ่งเงินในส่วนนี้รัฐบาลค้างจ่ายเงินให้ ร.ฟ.ท. มาตั้งแต่ปี 2545 คิดเป็นวงเงินรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ ร.ฟ.ท. ต้องเสียดอกเบี้ยปีละ 2 พันล้านบาท การแก้ปัญหาจุดตัดทั่วประเทศกว่า 3 พันแห่ง เป็นต้น แต่รัฐบาลไม่เคยดำเนินการตามข้อเสนอเลย
****************************************************************
ครม.เห็นชอบรฟท.ปรับโครงสร้างฟื้นฟูการเงิน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 3 มิถุนายน 2552 15:55

ครม.เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อฟื้นฟูฐานะการเงิน สอดคล้องนโยบายรัฐบาลเพิ่มขนส่งทางราง

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ(กนร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบและเห็นชอบหลักการตามที่คณะกรรมการ กนร.เสนอการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มการขนส่งทางราง ซึ่งมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่าการขนส่งทางอื่น

แนวทางดังกล่าว ร.ฟ.ท.จะ มีการปรับโครงสร้าง โดยจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 บริษัท คือ บริษัทเดินรถ และ บริษัทบริหารทรัพย์สินแยกจาก รฟท. โดยให้ รฟท.ถือหุ้น 100% และดำเนินการจัดตั้งบริษัททั้ง 2 ภายใน 30 วัน นับแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ และให้เริ่มดำเนินการได้ภายใน 180 วัน

ทั้งนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นเพียงผู้จัดหาเอกชนเข้าพัฒนาที่ดินและบริหารสัญญา เท่านั้น ภาครัฐจะรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และพิจารณาในการแก้ไขภาระหนี้สิน

โดยใช้รายได้ของ ร.ฟ.ท.และบริษัทลูกที่จะหาได้ในอนาคตจ่ายคืนและดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังช่วยเหลือ รวมถึงการเพิ่มบทบาทให้กับเอกชนในกิจการของ ร.ฟ.ท.

สำหรับผลที่จะได้จากการลงทุนในครั้งนี้ จะทำให้ภายใน 6 ปี จำนวนขบวนรถที่วิ่งบนรางเพิ่มขึ้น 100% ปริมาณในการขนส่งโดยสารเพิ่ม 25% และการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 100% พร้อมทั้งจะมีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 11,000 ล้านบาท ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า
*************************************************************
รถไฟหยุดวิ่งทั่วประเทศค้านการแปรรูป

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศหยุดเดินรถทั่วประเทศ เพื่อคัดค้านการแปรรูปรถไฟ ผู้ว่าฯรฟท.ยัน การแปรูปบริษัท รฟท.ถือหุ้น100%
(22มิ.ย.) นายสาวิต แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานฯ ได้เสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาลและรัฐมนตรีคมนาคมหลายครั้ง แต่ไม่มีใครสนใจ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังพยายามที่จะปฎิรูปรถไฟต่อไป โดยสหภาพไม่เห็นด้วย

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสหภาพฯทั่วประเทศได้ประกาศหยุดงานเพื่อประท้วงรัฐบาล ส่วนจะเปิดเดินรถเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาของรัฐบาลต่อไป

ทางด้านนายยุทธนา ทับเจริญ ผู้ว่าฯรฟท. กล่าวยืนยันว่า ไม่ใช่นโยบายการปฎิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เป็นการจัดตั้งในรูป บริษัทฯซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะถือหุ้น 100% ที่ผ่านมาได้เดินสายชี้แจงอย่างต่อเนื่องแล้ว

ส่วนกรณีที่แรงงานรถไฟทั่วประเทศประท้วงหยุดเดินรถนั้น เบื้องต้นทราบว่า เป็นรถไฟดีเซล สายระยะสั้น ซึ่งการรถไฟได้เตรียมแผนทั้งการเจรจากับแรงงานและการประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย
จาก นสพ. คม ชัด ลึก วันที่ 22 มิถุนายน 2552

***********************************************************

http://www.tgocity.com/topics/481-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การกระจายการถือครองที่ดินในสังคมไทย (นโยบายสาธารณะ)

ระบบการจัดการที่ดินเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในบางกลุ่มและการทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์ การขาดแคลนและการสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกร การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ของรัฐและเอกชน ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและรวมถึงการสร้างระบบกฎหมายเพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการจัดการที่ดินให้เกิดขึ้น

ที่ดินเอกชน

สภาพปัญหาของการถือครองที่ดินโดยเอกชนในสังคมไทยได้สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการจัดการที่ดินโดยรัฐไทยได้อย่างชัดเจน

ในด้านหนึ่ง มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินจำนวนมหาศาลภายในกลุ่มคนจำนวนน้อย

เช่น การถือครองที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยบุคคลและนิติบุคคลจำนวน 50 รายแรก ถือครองที่ดินเป็นจำนวนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด จากจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการมากกว่า 5.7 ล้านคน หรือหากพิจารณาจากจำนวนถือครองที่ดินของชนชั้นนำในสังคมไทยที่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะจะพบว่ามีการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏอย่างชัดเจนในหมู่นักการเมืองที่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงข้าราชการระดับสูงที่ไม่ปรากฏข้อมูลต่อสาธารณะแต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่ามีแนวโน้มในลักษณะเช่นเดียวกัน

ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามกับการถือครองที่ดินของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องใช้ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรสำคัญในการผลิตเพื่อดำรงชีพ ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอต้องเช่าผู้อื่นเพิ่มเติม มีจำนวนถึง 1.2 ครัวเรือน รวมทั้งข้อมูลการสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ก็ยังพบว่าในการถือครองที่ดินจำนวนมากได้ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่ทำประโยชน์ การสำรวจของมูลนิธิสถาบันที่ดินพบว่ามีที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้โดยไม่ทำประโยชน์มีจำนวนถึง 30 ล้านไร่ และทำให้เกิดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนขั้นต่ำ 127,384.03 ล้านบาท ทั้งนี้ที่ดินซึ่งถูกทิ้งร้างเหล่านี้เป็นที่ดินซึ่งเกิดจากการกว้านซื้อเพื่อเก็งกำไรโดยมิได้ต้องการนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดการผลิตที่แท้จริงแต่อย่างใด

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาการถือครองที่ดินที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินและการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้แก่ประชาชน

ระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในสังคมไทยเปิดโอกาสให้มีการถือครองที่ดินโดยเอกชนได้อย่างเสรี แม้จะมีการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและบำรุงท้องที่แต่ก็เป็นไปในอัตราที่ต่ำและไม่มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ระบบภาษีที่มีอยู่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากแต่อย่างใด จึงเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่นำมาสู่การพยายามครอบครองที่ดินจำนวนมากในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เช่น การกว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการเก็งกำไร การซื้อที่ดินซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิในราคาต่ำก่อนนำไปสู่การออกเอกสารสิทธิโดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การขอรับสิทธิในที่ดินซึ่งรัฐต้องการแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ ดังที่เกิดในการแจกจ่ายที่ดินแก่เกษตรกรตามนโยบายการปฏิรูปที่ดิน

แม้ในกฎหมายที่ดินจะมีการควบคุมไม่เกิดการทิ้งร้าง แต่ในสภาพความเป็นจริงไม่มีกระบวนการตรวจสอบอย่างจริงจังเกิดขึ้น ที่ดินจำนวนมากจึงถูกปล่อยปละละเลยโดยไม่มีการทำประโยชน์เกิดขึ้น หรือในส่วนของการปฏิรูปที่ดินที่แม้จะห้ามโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก แต่ก็เช่นเดียวกันมีการโอนสิทธิเกิดขึ้นระหว่างบุคคลด้วยกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับกฎหมายผังเมืองซึ่งควบคุมลักษณะการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ แต่การกำหนดพื้นที่ดังกล่าวก็สามารถถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ยาก ทำให้การคาดหวังว่าจะมีการจำกัดกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าเป็นจำนวนมหาศาล เช่น การเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหมู่บ้านจัดสรร ทำให้การลงทุนในระบบชลประทานเพื่อการเกษตรเกิดการสูญเปล่าขึ้น

ทางแก้ไข

จำเป็นต้องเปลี่ยนมิติการมองที่ดินจาก “ทรัพย์สินส่วนตัว” มาเป็น “ต้นทุนทางสังคม” การใช้ประโยชน์ในที่ดินและการถือครองที่ดินต้องคำนึงประโยชน์ของสังคมและความเป็นธรรมเข้ามากำกับ การถือครองที่ดินไม่อาจอนุญาตให้เกิดขึ้นได้อย่างเสรีภายใต้การแสวงประโยชน์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว

เป้าหมายของการใช้กฎหมายในการกำกับระบบการจัดการที่ดินต้องดำเนินไปภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญ คือการกระจายการถือครองที่ดินและการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชนชั้นล่าง

ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการใช้มาตรการหลายด้านประกอบกัน นับตั้งแต่การใช้ระบบภาษีที่ดินแบบก้าวหน้าเพื่อทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจากคนส่วนน้อยในสังคมและทำให้ที่ดินไม่อยู่ในการแสวงหาประโยชน์ด้วยการเก็งกำไร หากสามารถทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินออกมาได้ก็จะทำให้รัฐสามารถนำที่ดินเหล่านี้ไปกระจายสู่เกษตรกรหรือผู้ขาดแคลนที่ดินทำกินได้มากขึ้น จากเดิมที่ต้องอาศัยที่ดินของรัฐเป็นหลัก นโยบายการปฏิรูปที่ดินหรือการใช้ธนาคารที่ดินมาเป็นเครื่องมือก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ก็จะสามารถกระทำได้อย่างเป็นจริงมากขึ้น

การใช้ระบบภาษีที่ดินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน แต่ทั้งนี้ภาษีดังกล่าวต้องเป็นไปในลักษณะก้าวหน้าเพื่อเป็นแรงกดดันไม่ให้เกิดการถือครองที่ดินในจำนวนมาก และต้องมีลักษณะที่ก้าวหน้าโดยยิ่งถือครองเป็นจำนวนมากก็ยิ่งมีภาระเพิ่มมากขึ้นเพื่อทำให้เกิดภาระกับผู้ถือครองจนไม่เป็นแรงจูงใจให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นจากการถือครองที่ดินดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่ดินของรัฐ
สภาพปัญหา

การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน โดยกำหนดว่าที่ดินทั้งหมดของประเทศซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 320 ล้านไร่ ให้แบ่งเพื่อนำมาใช้ทำประโยชน์ 120 ล้านไร่ และที่เหลือกำหนดไว้เพื่อการอนุรักษ์

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวนำไปสู่การมีนโยบายเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินอีกมากมายหลายนโยบาย มีการบัญญัติกฎหมายและจัดตั้งองค์กร พร้อมทั้งกำหนดอัตรากำลังและจัดตั้งหน่วยงานในระดับต่างๆ และกลไกเพื่อปกป้องรักษาพื้นที่ป่าไม้ ตามนโยบายดังกล่าวมีการจัดสรรพื้นที่ป่าออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งดำเนินการโดยมีกฎหมายต่างๆ บัญญัติกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการ มีการสร้างแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ

นโยบายเหล่านี้เป็นผลให้พื้นที่จำนวนมากเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐและอยู่ภายอำนาจการจัดการของหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมกับการปฏิเสธสิทธิของชุมชนท้องถิ่นทำให้ประชาชนจำนวนมากกลายเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ของรัฐโดยเฉพาะในพื้นที่ป่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมายแต่หน่วยงานรัฐก็ไม่สามารถผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้ออกมาได้ และกลายเป็นปัญหาเรื้อรังสืบเนื่องมา

นอกจากมีนโยบายในการจัดการพื้นที่ทั้งในด้านการคุ้มครองพื้นที่และนโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว ยังมีนโยบายในด้านอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินในเขตป่า เช่น นโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ส่งผลให้เกิดการสัมปทานป่าไม้ มีการเปิดพื้นที่ป่าสมบรูณ์เพื่อทำไม้แต่ขาดการฟื้นฟูทำให้เกิดป่าเสื่อมโทรม, นโยบายส่งเสริมการปลูกพื้นเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก เช่น ปอ ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ ซึ่งยิ่งส่งเสริมให้มีการส่งออกก็ยิ่งทวีขยายการสูญเสียพื้นที่ป่า, นโยบายการสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนที่สร้างเข้าไปในพื้นที่ป่า การสร้างเขื่อน เป็นต้น อันเป็นผลให้พื้นที่ดังกล่าวจำนวนมากตกอยู่ในความครอบครองและการใช้ประโยชน์ของธุรกิจเอกชน

นอกจากที่ดินในเขตป่าดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ที่ดินของรัฐในลักษณะอื่นๆ เช่น ที่ราชพัสดุ ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินซึ่งส่วนราชการต่างๆ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้ก็ประสบปัญหาและเริ่มทวีความรุนแรง เนื่องจากที่ดินของรัฐในลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยถูกจัดการไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบฐานข้อมูล ด้านนโยบาย ด้านกลไกและเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในด้านการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมาก่อน ดังนั้น เมื่อหน่วยงานของรัฐที่ดูแลที่ดินเริ่มใช้นโยบายการนำที่ดินไปแสวงหาผลประโยชน์ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

การกระจุกตัวการถือครองที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ ส่งผลให้ผู้ที่เคยได้รับการจัดสรรที่ดินไม่แน่ใจในความมั่นคงในสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินอีกต่อไป มีการนำมาตรการทางกฎหมายอาญา มาตรการตามกฎหมายแพ่งมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาโดยใช้ทัศนะในการมองประชาชนว่าเป็นผู้กระทำความผิดในทางกฎหมาย จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อไม่ไห้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป

ในขณะที่ความต้องการในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในความดูแลของรัฐในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยหรือประกอบการกลับมีความต้องการสูงขึ้นทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ลักษณะดังกล่าวมักจะอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีโอกาสที่จะหางานทำได้สูงกว่า ในขณะที่จำนวนของผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินลักษณะดังกล่าวก็มีสูงขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวของภาคการเกษตรจึงทำให้เกิดการไหลเข้ามาขายแรงงานในเมืองของแรงงานภาคการเกษตร

ขณะที่ในพื้นที่ชนบทประชาชนที่ครอบครองและทำประโยชน์ก็ถูกปฏิเสธสิทธิในผืนดินที่ได้ครอบครองอยู่ แม้จะเป็นการครอบครองมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ของรัฐประเภทต่างๆ เช่น พื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น การไม่ยอมรับสิทธิของประชาชนในลักษณะเช่นนี้เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวางระหว่างชุมชนที่อาศัยในพื้นที่ป่ากับหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

ระบบกฎหมาย

ในการจัดการที่ดินของรัฐทั้งหมดดังที่กล่าวมา แม้จะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อให้ใช้เป็นที่ทำกินโดยมีหน่วยงานต่างๆเข้ามารับผิดชอบดำเนินการ เช่น การจัดสรรสิทธิในรูปของสิทธิทำกินเขตป่า (สทก.) การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) การจัดตั้งเป็นนิคมพัฒนาตนเอง หมู่บ้านป่าไม้ โครงการจัดสรรที่กินทำกินในเขตป่า (คจก.) ฯลฯ แต่เมื่อประเมินการดำเนินการตามนโยบายเพื่อกระจายการถือครองที่ดินภายใต้โครงการต่างๆ ดังที่กล่าวมากลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินก็ยังคงสูญเสียที่ดินทำกิน และในรายที่ยังคงถือครองที่ดินที่ได้รับการจัดสรรอยู่ก็พบว่ายังขาดความมั่นคงในชีวิต ยังคงเป็นหนี้และมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียที่ดินทำกินสูง ทั้งๆ ที่มีสิทธิในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ปัญหาพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งก็คือ การไม่ยอมรับรองสิทธิของประชาชนที่ได้ใช้ครอบครองและประโยชน์ในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ ทำให้มีการผลักดันและขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดเป็นแนวเขตของรัฐ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจะแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินทำกินจึงต้องสร้างแนวทางใหม่เพื่อตอบโจทก์เรื่องการถือครองที่ดิน ซึ่งคำถามเรื่องการถือครองที่ดินไม่ได้มีคำถามว่าจะให้สิทธิประเภทใด จำนวนการถือครองที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร วิธีการหรือเครื่องมือเพื่อให้เข้าถึงสิทธิในที่ดินควรจะเป็นอย่างไร

แต่คำถามเรื่องการถือครองที่ดินควรจะเป็นคำถามที่ว่าจะมีการปฏิรูประบบบริหารจัดการการถือครองที่ดินของประเทศอย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากว่าจากอดีตที่ผ่านมาความล้มเหลวของระบบการกระจายการถือครองที่ดินทำกินอยู่ตรงที่การดำเนินการเฉพาะจุด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการบริหารการกระจายการถือครองที่ดินเสียใหม่ทั้งระบบ

ซึ่งระบบการบริหารการกระจายการถือครองที่ดินที่จะดำเนินการอย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ
1. การรับรองสิทธิของประชาชนที่จะทำกินในพื้นที่ที่ดินของรัฐตามสถานะต่างๆ อย่างเป็นธรรม
2. การรับรองหน่วยของผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายในรูปของกลุ่มหรือชุมชน
3. การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินออกเป็นเขตต่างๆ ตามศักยภาพและความสามารถในการรองรับของที่ดินในแต่ละพื้นที่
4. การมีส่วนร่วมของประชาชนและของชุมชนในการเข้ามาดำเนินการกำหนดและจัดสรรที่ดิน การบริหารจัดการ การติดตามประเมินผล
5. การกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมของฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และจะต้องมีสถานะและสภาพบังคับในทางกฎหมายเพื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ที่จะต้องรับผิดชอบและดำเนินการ
6. การปฏิรูประบบกฎหมายทั้งระบบเพื่อวางระบบการบริหารจัดการการกระจายการถือครองที่ดิน
7. การปฏิรูประบบการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการกระจายการถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน
8. การวางระบบการคุ้มครองการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทต่างๆ อย่างเข้มงวดและจริงจัง
9. การสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางระบบการบริหารจัดการที่ดินสมัยใหม่อาทิเช่น ระบบฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน ระบบการให้สิทธิในการถือครองที่ดินในรูปของกลุ่ม อาทิเช่น โฉนดชุมชน สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น หรือการใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเข้ามาเสริมการดำเนินการ เช่น ธนาคารที่ดิน กฎหมายภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือที่เรียกว่าภาษีทรัพย์สิน
10. ในระยะการเริ่มต้นดำเนินการมีความจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและสั่งการไปยังส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการตราพระราชกฤษฎีกาหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อปูทางไปสู่การดำเนินการในการปฏิรูปที่ดิน (ในระยะกลางและในระยะยาว )

ที่มา : รายงานการศึกษาของคณะทำงานศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบายเพื่อรองรับการกระจายการถือครองที่ดิน มิ.ย. 2552
โดย คนไร้ที่ดิน

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=450123

ยุทธศาสตร์รถไฟ

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕:๔๔ น.

งานเขียนชิ้นนี้มุ่งหมายรณรงค์เพื่อให้ฟื้นพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกำหนดให้การคมนาคมทางบกของประเทศใช้รถไฟเป็นหลัก กลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แทนยุทธศาสตร์รถยนต์ ที่ส่งผลให้ประเทศไทยต้องมีรายจ่ายค่าน้ำมันสูงที่สุดเป็นลำดับหนึ่งของ ประเทศ และประชาชนต้องเป็นหนี้เป็นสินเพื่อซื้อหารถยนต์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางราชการก็ต้องสร้างถนนหนทางด้วยงบประมาณมหาศาล เป็นต้นเหตุสำคัญของความยากจนของประเทศ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 บท ดังที่นำมาเสนอไว้ต่อไปนี้.

จุดยืนและท่าทีของรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำเกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชั่นเท่าที่ปรากฏเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง ถ้าเป็นเช่นนั้นก็สมแล้วที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือรับสั่งและกำลังทำโจทย์สำคัญที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้กล่าวไว้ว่าแม้เป็นเรื่องยากแต่ก็ไม่ยากเกิน

กระบวนแรก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้เตะโครงการถนนปลอดฝุ่นวงเงิน 40,000 ล้านบาทตกไปแล้ว และกระบวนที่ติดตามมาก็มีท่าทีว่าจะต้องปรับปรุงโครงการจัดหารถบัสเอ็นจีวี 4,000 คัน ที่มีข่าวลือกระฉ่อนว่าเป็นโครงการโกงข้ามภพข้ามชาติถึง 5 รัฐบาลด้วย

แต่ทว่ายังคงมีไอ้โม่งทั้งในประเทศและไอ้โม่งที่เป็นทุนใหญ่ข้ามชาติจากต่าง ประเทศยังคงผลักดันให้ประเทศไทยเร่งขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์ในขอบเขตทั่ว ประเทศ ซึ่งต้องลงทุนมหาศาลอีกต่อไป

ขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศก็เพื่อให้มีการใช้รถยนต์เพิ่มมากขึ้นจาก ที่เกือบจะมากที่สุดในเอเชียอยู่แล้ว นั่นย่อมเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทุนต่างชาติผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งกำลังจะเจ๊ง วายวอดอยู่ทั่วทุกมุมโลกในขณะนี้

ดังนั้นจึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะไม่หลงกลอันสุดแสนจะอุบาทว์นี้ เพราะนี่คือกลอุบายที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ความหายนะมากขึ้น และทำให้คนไทยพินาศล่มจมมากขึ้น

เพราะแค่จำนวนรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ก็ได้ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้า พลังงานน้ำมันเป็นจำนวนมหาศาล จนรายจ่ายค่าพลังงานของประเทศโลดขึ้นไปอยู่ลำดับหนึ่งของบรรดาประเภทรายจ่าย ทั้งหมดของประเทศไปแล้ว และได้กลายเป็นต้นตอของวิกฤตต่าง ๆ ของประเทศไทยมาหลายปีแล้ว เราจึงต้องไม่เพิ่มความเสียหายให้กับประเทศชาติของเราต่อไปอีก

เพราะแค่จำนวนรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ก็ได้ก่อหนี้สินให้กับคน ไทยทั่วประเทศ จนแทบไม่มีวันผุดไม่มีวันเกิดอยู่แล้ว เราจะต้องไม่เพิ่มปัญหาขึ้นไปอีก หากจะต้องช่วยกันกอบกู้พี่น้องร่วมชาติให้พ้นจากภาระหนี้สินจากการผ่อนรถให้ ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดด้วย

ประเทศไทยทำความผิดใหญ่หลวงในการกำหนดยุทธศาสตร์การคมนาคมทางบกที่กำหนดให้ใช้รถยนต์ เป็นหลัก ทำให้มีการขยายถนนมากขึ้นและทำให้ปริมาณรถยนต์มากขึ้น ประเทศก็มีรายจ่ายจากพลังงานมากที่สุด และคนไทยก็เป็นหนี้ค่าซื้อรถยนต์มากที่สุด

ความจริงประเทศไทยเคยกำหนดยุทธศาสตร์การคมนาคมทางบกที่ถูกต้องมาแล้ว นั่นคือในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงกำหนดยุทธศาสตร์การ คมนาคมทางบกให้ใช้รถไฟเป็นหลัก เพื่อทำให้การคมนาคมทั่วทั้งประเทศเชื่อมโยงถึงกัน และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด อันจะทำให้ค่าขนส่งสินค้าต่าง ๆ ถูกลง และไม่เป็นภาระด้านพลังงานแก่ประเทศในวันหน้า

เพื่อประกันให้ยุทธศาสตร์รถไฟไม่มีวันล้มเหลว จึงทรงพระราชทานที่ดินสองข้างทางรถไฟข้างละ 10-40 เส้น เพื่อเตรียมสำรองสำหรับทำรถไฟรางคู่ในอนาคต และเพื่อกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้สำหรับหาประโยชน์มาบำรุงเลี้ยงรถไฟ เพื่อลูกหลานคนไทยของพระองค์ท่านในกาลข้างหน้า จะไม่ต้องรับภาระสูงขึ้น

แค่เฉพาะที่ดินสามแยกลาดพร้าวเพียงแห่งเดียว หากบริหารจัดการที่ดี เนื้อที่ดินขนาด 40 กว่าไร่ก็จะได้ค่าเช่าในระยะเวลา 30 ปี ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งย่อมพอเพียงต่อการบำรุงเลี้ยงรถไฟ ทำให้คนรถไฟอยู่ดีกินดีมีสุขและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของการรถไฟเพื่อให้ ประชาชนใช้บริการได้ดีขึ้นและถูกลง แม้ถึงขนาดให้ใช้รถไฟฟรีก็ยังได้

สิ้นยุคสมัยของพระองค์ท่าน เส้นทางรถไฟยาวมากกว่าเส้นทางรถยนต์ คงมีแต่ความผิดพลาดประการเดียว ซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลของมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมที่ผลักดันให้ประเทศไทยจำ เป็นต้องเลือกใช้ระบบรางขนาด 1 เมตร หรือที่เรียกว่าระบบรางแบบเมตตะเกต ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกส่วนใหญ่เขาใช้ระบบรางขนาดมาตรฐานที่ใหญ่กว่าหรือที่เรียกว่าระบบ สแตนดาร์ดเกต

สิ้นยุคสมัยของพระองค์ท่าน ความเร็วของรถไฟมีขีดความสามารถที่ระดับ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ครั้นเวลาล่วงเลยมาถึงบัดนี้กิจการของรถไฟเสื่อมทรุด การขยายเส้นทางรถไฟน้อยกว่าน้อยนัก ระดับความเร็วของรถไฟก็ลดลงเหลือเฉลี่ยเพียง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น อันมีเหตุมาแต่ความชำรุดของรางและการรอเวลาสวนทางกัน อันเนื่องมาจากเป็นระบบรางเดี่ยว เพราะไม่เคยคิดพัฒนาเป็นระบบรางคู่เลย

ลองนึกดูเถิด หากประเทศไทยพัฒนายุทธศาสตร์รถไฟตามแนวทางที่พระองค์ท่านทรงวางไว้ถึงบัดนี้ ประเทศไทยก็จะมีรถไฟรางคู่เชื่อมโยงทั่วราชอาณาจักรให้ถึงกันได้อย่างรวด เร็ว ค่าใช้จ่ายพลังงานของประเทศก็จะไม่สูงถึงปานนี้ และประชาชนก็ไม่ต้องไปเที่ยวซื้อหารถมาใช้จนเป็นหนี้เป็นสินกันดังเช่นทุกวันนี้

แม้ถึงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ คนไทยก็ไม่ต้องล้มหายตายจากเพราะอุบัติเหตุที่มีจำนวนการเจ็บตายมากกว่า สงครามที่เกิดขึ้นในโลกเสียอีก

ยุทธศาสตร์รถไฟของพระองค์ท่านชะงักหยุดอยู่กับที่เพราะพวกนักวิชาการขี้ข้า ตะวันตกและเป็นทาสน้ำเงินของทุนต่างชาติผู้ผลิตรถยนต์ได้ทอดทิ้งยุทธศาสตร์ รถไฟของพระองค์ท่าน แล้วตั้งยุทธศาสตร์ใหม่ให้รถยนต์เป็นหลักของการคมนาคมทางบก

จึงเกิดความพินาศฉิบหายวายวอดขึ้นทั่วทั้งประเทศ ทั้งในส่วนของประเทศชาติและประชาชนดังที่เห็น ๆ กันอยู่

หลังสิ้นยุคสมัยของพระองค์ท่านเกือบร้อยปี เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดยเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาประเทศจีนใหม่แล้ว ไม่นานหลังจากเหมาเจ๋อตงประกาศว่า “สาธารณรัฐของประชาชนจีนสถาปนาขึ้นแล้ว ประชาชนจีนลุกยืนขึ้นแล้ว” เขาก็ได้ประกาศยุทธศาสตร์รถไฟของจีนตามมา

เหมาเจ๋อตงประกาศว่า การคมนาคมมีลักษณะชนชั้น เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชาติจีนส่วนใหญ่ ต้องกำหนดให้รถไฟเป็นหลักของการคมนาคมทางบก เพื่อเชื่อมโยงมาตุภูมิทุกแห่งหนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้ประชาชาติจีนทุกหนแห่งไปมาหาสู่ถึงกัน และทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนต่ำที่สุด

นับแต่นั้นมาประเทศจีนก็ได้พัฒนากิจการรถไฟเป็นการใหญ่ มีการจัดตั้งกรมรถไฟถึง 12 กรม ขยายเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงทั่วถึงทั้งประเทศ เป็นหลักให้แก่การขนส่งทางบก ทั้งสินค้า ผลิตผลทางการเกษตร การเดินทางของประชาชนแม้ในกิจการท่องเที่ยว

บัดนี้จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟยาวมากที่สุดในโลก มีขบวนรถไฟมากที่สุดในโลก มีประเภทบริการของรถไฟมากที่สุดในโลก และได้พัฒนารถไฟถึงระยะที่ 7 แล้ว

การพัฒนารถไฟระยะที่ 7 กำหนดให้ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟอยู่ที่ระดับ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ ในขณะที่บางแห่งก็เริ่มนำร่องรถไฟความเร็วสูงที่มีระดับความเร็วถึง 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ตลอดเส้นทางรถไฟมีคลัง สินค้า สถานีขนถ่ายสินค้า ระบบการขนถ่ายเฉพาะของรถไฟ โรงแรม ศูนย์การค้า และการท่องเที่ยว เฉพาะสถานีรถไฟนั้นกำลังถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์การพาณิชย์ขนาดใหญ่ของทุกเมือง เพื่อแสดงสินค้าของเมืองนั้น และเป็นแหล่งส่งออกและค้าขายสินค้าของเมืองนั้น

ยกตัวอย่างการพัฒนาและยุทธศาสตร์รถไฟของจีนมาเป็นอุทาหรณ์ก็เพื่อให้รัฐบาล และประชาชนได้ร่วมกันคิดพิจารณาว่าถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยจะต้องทบทวน ยุทธศาสตร์การคมนาคมทางบกของประเทศ

ถีบส่งยุทธศาสตร์การคมนาคมทางบกของพวกนักวิชาการขี้ข้าของฝรั่งที่ให้ใช้รถ ยนต์เป็นหลักทิ้งไป แล้วฟื้นฟูเชิดชูเอาพระบรมราโชบายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์รถไฟของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 กลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

เพื่อลดรายจ่ายพลังงานของประเทศก่อนที่จะพินาศฉิบหายไปมากกว่านี้ เพื่อลดภาระหนี้สินและความจำเป็นในการมีรถยนต์ของคนไทยก่อนที่จะพินาศฉิบหาย ไปมากกว่านี้ เพื่อหยุดยั้งการใช้รถยนต์ในการเดินทางระหว่างเมืองก่อนที่คนไทยจะล้มตาย มากกว่านี้

เราหวังที่จะเห็นรัฐบาลประกาศสืบสานพระบรมราโชบายว่าด้วยยุทธศาสตร์รถไฟของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเร็ววันนี้ แล้วชะลอหรือยุติการขยายมอเตอร์เวย์หรือถนนเชื่อมเมืองต่าง ๆ เอาไว้ก่อน เพราะถึงจะดึงดันก็ไม่มีเงินไปทำการอยู่ดี

บรรดานักวิชาการผู้รักชาติ ผู้สนใจในกิจการรถไฟของชาติ และบรรดาพนักงานการรถไฟทั้งผอง ควรต้องร่วมกันศึกษาคิดค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์รถไฟให้ปรากฏ เป็นจริง เพราะเมื่อใดที่ยุทธศาสตร์รถไฟชนิดนี้ถูกกำหนดขึ้นแล้วก็จะมีพลังและมีผล อย่างสำคัญต่อการปรับทิศทางพัฒนาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากวังวนวิกฤตได้อย่างแน่นอน.

หลังจากบทความเรื่อง “ยุทธศาสตร์รถไฟ…ปรับยุทธศาสตร์ประเทศ” ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว ได้ก่อให้เกิดความคิดเห็นจำนวนมากในทางสร้างสรรค์ อันจะเป็นประกายความคิดให้แก่การพัฒนากิจการรถไฟของประเทศไทยให้เป็นไป ตามพระราชประสงค์และพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดังนั้นในวันนี้จะขอชูธงชัยแห่งพระบรมราโชบายของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นเพื่อ เป็นแนวคิดในการพัฒนาฟื้นฟูการรถไฟของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองและอำนวย ประโยชน์สุขแก่พี่น้องผองไทยต่อไป

ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่าขณะนี้จีนซึ่งเหมาเจ๋อตงอดีตประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศจีนได้ประกาศยุทธศาสตร์รถไฟหลังรัชสมัยของพระองค์ท่านเกือบร้อยปี ได้พัฒนาการรถไฟไปถึงระยะที่ 7 ที่มีความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีโครงการนำร่องที่เดินรถไฟด้วยความเร็วสูงระดับ 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปหลายสาย ทั้งได้ปรับสองข้างทางรถไฟให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของแต่ละเมืองจนเลื่อง ชื่อลือชาไปทั่วโลกแล้ว

ในขณะที่ ประเทศไทยของเรา กิจการรถไฟยังถอยหลังอย่างไม่หยุดยั้ง จนทำให้ความเร็วมาตรฐานระดับ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในครั้งกระโน้น ต่ำต้อยถอยลงเหลือแค่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสองข้างทางรถไฟก็ชำรุดทรุดโทรม ยกเว้นแต่ที่ดินบางแปลงที่แย่งชิงฉ้อฉลหาประโยชน์ตนกันอึกทึกครึกโครม

จึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล ชาวการรถไฟทั่วทั้งประเทศ ตลอดจนพี่น้องผองไทยจะได้ร่วมใจกันคิดอ่านผลักดันให้มีการฟื้นฟูพัฒนาการ รถไฟครั้งใหญ่ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ประเทศไทยในอนาคตด้วย

วันก่อนได้นำเสนอเบื้องต้นเพื่อให้สืบสานพระบรมราชปณิธานของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ให้รัฐบาลประกาศนโยบายกำหนดให้รถไฟเป็นหลักในการคมนาคมทางบก ให้สร้างรถไฟรางคู่ในระบบสแตนดาร์ตเกทขยายเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปทั่วทุกภาค เพื่อลดรายจ่ายพลังงานที่สูงเป็นลำดับหนึ่งของรายจ่ายของชาติลง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ตลอดจนเชื่อมโยงราชอาณาจักรนี้ให้ไปมาหาสู่ถึงกันได้โดยสะดวกและทั่วถึง

และในยามนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะดำเนินการดังกล่าวโดยจำเริญรอยตามพระบรมรา โชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพยายามไม่ใช้การลงทุนโดยตรงของรัฐ แต่จะใช้วิธีการให้สัมปทานแทน ก็จะก่อให้เกิดการลงทุนและเกิดการจ้างงานอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ อันจะมีผลต่อการรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจของโลกที่มีผลกระทบต่อไทยในครั้ง นี้ด้วย

วันนี้จะกล่าวถึง ยุทธศาสตร์การพัฒนาสองข้างทางรถไฟ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในคลองพระเนตรของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นมาแต่ ครั้งกระโน้นแล้ว และทรงจัดแจงเผื่อการข้างหน้ามาถึงวันนี้ด้วยแล้ว นั่นคือการพระราชทานที่ดินสองข้างทางรถไฟข้างละ 10-40 เส้น เพื่อเตรียมการขยายให้เป็นรางคู่ การจัดตั้งสถานีให้เป็นศูนย์กลางการค้าการพาณิชย์ของแต่ละเมือง การจัดตั้งสถานีขนถ่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทั่วถึงทั้งประเทศ ตลอดจนการพัฒนาที่ดินสองข้างทางรถไฟที่สอดคล้องกับสภาพทำเลและภูมิประเทศ

พระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นได้จัดแจงเตรียมการทั้งปวงไว้พร้อมหมดแล้ว เหลือไว้แต่คนรุ่นหลังจะได้สืบสานพระบรมราชปณิธานให้เป็นจริงและสอดคล้องกับ สภาวะการณ์เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่พสกนิกรซึ่งเป็นลูกหลานของพระองค์ ท่านเท่านั้น

เรามาดูกันว่าใน ปัจจุบันนี้เขาพัฒนาสองข้างทางรถไฟกันอย่างไร ก็ขอยกตัวอย่างจากประเทศจีน ซึ่งมีความเป็นเอกในด้านกิจการรถไฟในโลกมาเป็นตัวอย่าง

เรื่องแรก เป็นเรื่องการปรับสถานีรถไฟให้เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ของแต่ละเมืองที่รถไฟผ่าน

ในอดีตสถานีรถไฟเป็นแค่สถานีขายตั๋วรถไฟ และเป็นสถานีขึ้น-ลงของผู้โดยสาร และอาจมีจุดขนถ่ายสินค้าบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้ผู้คนแบกหาม ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และเสียแรงงาน ตลอดจนทำให้ต้นทุนสูง ทำให้ผู้คนหันไปนิยมใช้รถสิบล้อในการขนส่งแทน ซึ่งเพิ่มภาระและปัญหามหาศาลให้กับชาติบ้านเมือง

ปัจจุบันนี้สถานีรถไฟหมดสภาพที่ว่านั้นไปนานแล้ว ได้กลายเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ขนาดใหญ่ของแต่ละเมือง และประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สมบูรณ์แบบ

ตัวสถานีจะมีอาคารสถานที่เหมือนกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โดยมีรถไฟวิ่งผ่านด้านข้างหรือตรงกลาง มีห้องขายตั๋วโดยสาร มีจุดคนขึ้น-ลงแบบเดียวกับรถไฟใต้ดินในฮ่องกง ผู้โดยสารลงแล้วหากประสงค์จะช้อปปิ้งก็จับจ่ายใช้สอยสินค้าในห้างสรรพสินค้า ภายในสถานีได้ตามใจ หากไม่ประสงค์จะช้อปปิ้งก็เดินลงอีกชั้นหนึ่งไปยังที่จอดรถหรือที่รับส่งผู้ โดยสาร

ภายในศูนย์กลางการพาณิชย์นี้จะ มีมุมแสดงสินค้าที่ผลิตของเมืองนั้น ๆ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ตลอดจนชาวต่างประเทศได้เยี่ยมชมผลผลิตของท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งสะดวกต่อการนำเข้า-ส่งออก หรือการซื้อส่งขายส่ง กลายเป็นศูนย์แสดงสินค้าประจำของแต่ละเมือง เท่ากับเปิดตลาดสินค้าท้องถิ่นออกสู่ทั่วประเทศและทั่วโลก และยังมีศูนย์อาหารขนาดใหญ่ที่เพียงพอรองรับผู้คนทั้งหลาย รวมทั้งมีร้านค้าเต็มไปหมด และยังรวมไปถึงสำนักงานการท่องเที่ยว สาขาธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมาย

ถัดออกไปจากศูนย์กลางการพาณิชย์อันเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟก็จะเป็นสถานีขนถ่าย สินค้า ซึ่งมีทั้งคลังสินค้าประจำท้องถิ่น มีเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัยในการขนถ่าย ไม่ต้องใช้แรงงานคนแบกหามอีกต่อไป อุปกรณ์เครื่องมือในการขนถ่ายก็คล้าย ๆ กับอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าทางเรือ เป็นแต่มีขนาดเล็กกว่า และมีขนาดตู้คอนเทนเนอร์ที่เล็กกว่าแต่จะพอดีกับโบกี้ขนส่งรถไฟ ซึ่งประมาณว่าสองคอนเทนเนอร์รถไฟจะเท่ากับหนึ่งคอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทางเรือ

เรื่องที่สอง เป็นส่วนคลังสินค้า มีทั้งคลังสินค้าผลิตผลทางการเกษตรที่รอการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายไปยัง เมืองอื่น และคลังสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับส่งไปขายต่างเมืองหรือส่งออกอีก ด้วย

เรื่องที่สาม เป็นส่วนของการท่องเที่ยว ซึ่งมีการก่อสร้างโรงแรมชั้นดี บ้างก็ห้าดาว บ้างก็สี่ดาว บางแห่งก็ตั้งอยู่ในศูนย์กลางการพาณิชย์ บางแห่งก็แยกส่วนตั้งต่างหาก

เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องการบริหารจัดการที่ดินสองข้างทางรถไฟ ซึ่งบริหารจัดการโดยสอดคล้องกับสภาพทำเลและภูมิประเทศของที่ดินสองข้างทาง รถไฟนั้นอย่างสอดคล้องกลมกลืนและก่อเกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์

ลักษณะแรก จัดทำเป็นศูนย์อาหารหรือไนท์บาซ่าร์เพื่อให้เกิดการค้าขายในท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่าเปิดถนนคนเดินหรือตลาดประชาชน สำหรับประชาชนใช้จับจ่ายใช้สอยในราคาประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ ราคาแพง มีทั้งสินค้าและอาหาร ตลอดจนผลิตผลท้องถิ่น

ลักษณะที่สอง จัดทำเป็นสวนสนุกหรือสถานที่ออกกำลังกาย หรือสถานที่เลี้ยงเด็ก หรือสถานที่พักผ่อนของคนชรา โดยมีระบบป้องกันแยกส่วนไม่ให้เกิดอันตรายจากการเดินรถไฟ

ลักษณะที่สาม การปลูกพืชผลและพันธุ์ไม้ตามสภาพของท้องที่และสภาพภูมิอากาศ

พื้นที่ใดเป็นเขตท่องเที่ยวหรือเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวก็จะปลูกไม้ดอกที่เต็มไปด้วย สีสันต่างๆ สองข้างทางรถไฟ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปชม มีความสวยสดงดงามราวกับแดนสวรรค์

พื้นที่ ใดปลูกไม้ผลก็ให้ปลูกไม้ผลเป็นรายได้ของชุมชนในท้องถิ่นหรือวิสาหกิจชุมชนใน ท้องถิ่น และปลูกตามสภาพความจริงที่เหมาะสมกับพืชพันธุ์นั้นๆ บางพื้นที่ปลูกแอปเปิ้ล ปลูกลูกพลับ ปลูกส้มและอะไรต่อมิอะไร จนสองข้างทางรถไฟกลายเป็นแหล่งผลิตผลไม้ชั้นยอด ที่เป็นพื้นฐานในการส่งเข้าโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของท้องถิ่นได้ อย่างเพียงพอ

พื้นที่ใดปลูกไม้ทาง เศรษฐกิจก็ปลูกเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มครึ้มไปทั้งสองข้างทางรถไฟโดยให้ชุมชน เป็นผู้ปลูก และแบ่งผลประโยชน์ให้กับการรถไฟ เพราะเมื่อครบกำหนดระยะเวลาก็สามารถขายไม้สำหรับทำกิจการต่าง ๆ ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ กลายเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่มีคุณค่า

ด้วย ลักษณะเหล่านี้ สองข้างทางรถไฟของเขาจึงเป็นเงินเป็นทองเป็นแหล่งผลิตเป็นแหล่งรายได้ของ ประชาชน และก่อให้เกิดความสะดวก ความสวยงาม ไม่รกร้างว่างเปล่าและชำรุดทรุดโทรมเหมือนกับที่เป็นอยู่ในบ้านเรา

มาพิจารณายุทธศาสตร์พัฒนาสองข้างทางรถไฟกันบ้างก็ท่าจะดี!

บทความวันนี้เป็นตอนที่สามในเรื่องเกี่ยวกับยุทธศาสตร์รถไฟต่อจากเรื่อง “ยุทธศาสตร์รถไฟ…ปรับยุทธศาสตร์ประเทศ” และเรื่อง “ยุทธศาสตร์พัฒนาสองข้างทางรถไฟ” โดยมีความมุ่งหมายที่จะเชิดชูธงพระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมุ่งให้รถไฟเป็นหลักของการคมนาคมทางบกของประเทศมาตั้งแต่ร้อยกว่าปีก่อนให้ปรากฏเป็นจริงขึ้น

เพื่อส่งผลต่อการปรับทิศทางพัฒนาประเทศไทย ต่อการลดรายจ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นรายจ่ายลำดับหนึ่งของประเทศลง ต่อการอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย และต่อการยึดโยงราชอาณาจักรนี้ให้ทั่วถึงเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

ทำไมจึงต้องกล่าวว่าเป็นปัญหายุทธศาสตร์เล่า? ก็เพราะว่าการรถไฟไทยมีสินทรัพย์มากกว่า 300,000 ล้านบาท และมีวิสัยที่จะอำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ชาติและประชาชน แต่กลับเป็นภาระของชาติบ้านเมือง เป็นแหล่งก่อหนี้สินมหาศาลให้กับประเทศชาติ และกลายเป็นแหล่งฉ้อราษฎร์บังหลวงขนาดใหญ่ เมื่อเรื่องราวของการรถไฟใหญ่โตครอบคลุมปริมณฑลของปัญหาต่าง ๆ ไว้มากมายเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่มีฐานะหรือนัยยะทางยุทธศาสตร์

ขอเพียงได้เชิดชูฟื้นเอาพระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 มาทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นได้สำเร็จเมื่อใด ประเทศไทยของเราก็จะถึงซึ่งความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองเมื่อนั้น

ปัจจุบันนี้การรถไฟไทยมีเส้นทางเดินรถไปถึงทุกภาคของประเทศ แต่ชำรุดทรุดโทรมและล้าหลังกว่าที่พึงเป็น มีผู้คนจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในการรถไฟ มีที่ดินที่มีคุณค่ามหาศาลตามที่พระราชทานเอาไว้ให้ เพื่อสร้างประโยชน์และรายได้ให้กับการรถไฟ

มีที่ดินเป็นปริมาณถึง 250,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่สามารถจัดประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง และมีราคาสูงลิ่วอยู่ถึง 50,000 ไร่ ที่ถ้าหากบริหารจัดการให้ดีเพียงไม่ถึง 100 ไร่ แค่บางแห่งบางจุด ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับการรถไฟร่วม 50,000 ล้านบาท

แต่ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา การรถไฟไทยซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจได้กลับกลายเป็นแหล่งทำมาหากินของ นักการเมือง ที่ดินที่มีจำนวนมากและมีมูลค่ามหาศาลกลับถูกฉ้อฉลเอาเป็นผลประโยชน์ตัว ในขณะที่การรถไฟได้รับผลตอบแทนเพียงน้อยนิดและยังมีปัญหาพะรุงพะรังตามมา จนต้องแก้ไขไม่มีที่สิ้นสุด

การรถไฟไทยถูกบริหารจัดการโดยคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าคณะกรรมการการรถไฟ และตลอดมาส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วยข้าราชการบำนาญ หรือข้าราชการในราชการ และทาสบริวารนักการเมือง ที่มิได้มุ่งหมายในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับการรถไฟหรือสร้างสรรค์ ประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง หากมุ่งหมายเพียงเพื่อเกาะกินฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากการรถไฟเป็นส่วนใหญ่

เหล่านี้จึงเป็นสาเหตุเภทภัยที่ทำให้การรถไฟไทยต้องชำรุดทรุดโทรมและล้าหลัง กระทั่งเป็นภาระของชาติบ้านเมืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ความจริงได้เผยให้เห็นชัดเจนแล้วว่าการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการที่มี โครงสร้างแบบนี้ และขึ้นต่อนักการเมืองแบบนี้ ได้สร้างชะตากรรมที่เลวร้ายให้กับการรถไฟและชาติบ้านเมืองอย่างไร จึงถึงเวลาต้องปฏิรูปการบริหารจัดการในส่วนของการบริหารให้เป็นแบบมืออาชีพ มีความเป็นอิสระ โปร่งใส และอำนวยประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นปฐม จึงจะเป็นที่ตั้งต้นของการแก้ไขปัญหาทางยุทธศาสตร์ของการรถไฟไทย

และนี่ก็คือภารกิจทางนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะต้องเร่งรีบกำหนดนโยบายเพื่อ แปรสภาพรถไฟจากปัญหาให้เป็นโอกาส ในการกอบกู้ฟื้นฟูชาติบ้านเมืองของเรา

ปัจจุบันนี้การรถไฟไทยมีงานใหญ่ ๆ อยู่ 3 เรื่อง คือ การดูแลรักษาและพัฒนาก่อสร้างราง การเดินรถ และการจัดการทรัพย์สินของรถไฟ เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญใหญ่โตที่เป็นส่วนของยุทธศาสตร์บริหาร จัดการรถไฟทั้งสิ้น

ในเรื่องแรก คือปัญหาการแยกภารกิจหรือแยกองค์กรในการบริหารจัดการ ทำให้การบริหารดูแลรักษาและพัฒนาเส้นทางรถไฟหรือรางรถไฟเป็นองค์กรเฉพาะ ทำนองเดียวกับการท่าอากาศยาน ที่รับผิดชอบดูแลเรื่องสนามบิน แล้วแยกให้การเดินรถเป็นอีกกิจการหนึ่ง ทำนองเดียวกับบริษัทการบินทั้งหลาย

กิจการเกี่ยวกับรางก็มุ่งสร้างขยายพัฒนาดูแลรักษาและเรียกเก็บค่าบริการจาก กิจการเดินรถ ซึ่งต้องทำให้มาก ทำให้ดี ยิ่งมีการเดินรถมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้นเพราะเป็นการเพิ่มรายได้มากขึ้น เท่านั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างก็ไม่สนใจไยดีเพราะไม่ใช่หน้าที่ตัวดังที่เป็นอยู่

เพื่อการนี้อาจให้ดำรงเรื่องรางอยู่กับการรถไฟดังเดิม แล้วตั้งบริษัทลูกขึ้นทำการเดินรถในส่วนที่การรถไฟมีอยู่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ดำเนินงานต่อไปได้

สำหรับการบริหารจัดการเกี่ยวกับรางก็ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาทบทวนปรับ เปลี่ยนระบบรางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระบบมาตรฐานที่มีขนาดกว้างกว่า ทำให้รถไฟวิ่งได้เร็วกว่า และรองรับขบวนรถที่ใหญ่กว่าได้ด้วย

รถไฟทางเดี่ยวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟรางคู่ทั่วทั้ง ประเทศ ซึ่งนอกจากเชื่อมโยงภาคต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงเส้นทางวงแหวนตลอดแนวพรมแดนทั่วประเทศ เพื่อร่นระยะทางและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนอาจต้องมีการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างจังหวัดสำคัญ ๆ ในแต่ละภาค เพื่อประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด

เรื่องที่สอง คือเรื่องการเดินรถ ซึ่งนอกจากการรถไฟจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเดินรถเป็นของตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องเปิดให้เอกชนหรือผู้สนใจอื่น ๆ ก่อตั้งหรือสร้างกิจการเดินรถของตนเองขึ้นให้มากที่สุด

เพราะเมื่อมีการเดินรถมากขึ้นเท่าใด การรถไฟก็จะได้รับผลประโยชน์จากรายได้ค่าใช้รางมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ผู้ลงทุนสร้างกิจการเดินรถไฟก็ต้องรับผิดชอบและคำนึงถึงผลได้เสีย ของตนเองในเชิงธุรกิจ การรถไฟจึงมีแต่ต้องส่งเสริมและแสวงหาให้มีผู้มาลงทุนเดินรถไฟให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มรายได้ของตนให้มากที่สุด

ทำนองเดียวกับการท่าอากาศยานที่ยิ่งมีสายการบินมาใช้บริการมากเท่าใดก็ยิ่ง ได้รับประโยชน์มากเท่านั้น อุปมาฉันใดก็อุปไมยฉันนั้น

นอกจากนั้นจะต้องเพิ่มประเภทบริการในการเดินรถไฟให้หลากหลายยิ่งขึ้น คือนอกจากเป็นรถไฟขนส่งคนโดยสารแล้ว ยังต้องมีรถไฟเพื่อการขนส่งสินค้าภาคเกษตร มีรถไฟขนส่งสินค้าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับสถานีขนถ่ายและคลังสินค้าตามเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ

และยังต้องมีขบวนรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายเกรด หลายชั้น ทำนองเดียวกับการแบ่งชั้นบนเครื่องบิน หรือการแบ่งชั้นของโรงแรม เช่น มีขบวนรถสำหรับการประชุม สำหรับการพักอาศัยในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ไปถึงไหนก็จอดได้ตามใจชอบถึงนั่น และใช้เป็นที่พักได้เช่นเดียวกับโรงแรม ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงกับโรงแรมและสถานีพักตามเส้นทางรถไฟสายต่างๆ

เรื่องที่สาม คือการบริหารจัดการทรัพย์สินรถไฟ ซึ่งมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ประกอบด้วยที่ดิน 250,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นที่จัดหาผลประโยชน์ประมาณ 50,000 ไร่ มีตัวสถานีเก่าและคลังสินค้าหรือสถานีขนถ่ายเก่าอยู่เป็นบางแห่ง อาจคงให้การรถไฟบริหารจัดการต่อไป แต่อาจแยกให้มีคณะกรรมการพิเศษอีกชุดหนึ่งเพื่อบริหารจัดการโดยเฉพาะ

เพราะการบริหารจัดการทรัพย์สินมหาศาลขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเอาใครไปทำก็ ได้ หากต้องใช้ผู้มีปัญญาวิชาคุณที่มีประสบการณ์หรือความชำนาญและเป็นคนมีฝีมือ ดีจริงไปบริหารจัดการโดยเฉพาะ โดยมุ่งเป้าหมายทั้งเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟเพื่อทำให้ต้นทุนของรถไฟต่ำลง และอำนวยประโยชน์ในการขนส่งของประเทศให้เจริญก้าวหน้าควบคู่กันไปด้วย

ที่ดินที่เป็นส่วนจัดหาประโยชน์ถึง 50,000 ไร่นั้นจะต้องพิจารณาทบทวนปรับปรุงให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าและ สามารถสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟไม่น้อยกว่าปีละ 30,000 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย

ที่ดินที่อยู่สองข้างทางรถไฟและไม่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินรถก็พัฒนาให้ เป็นแหล่งสร้างรายได้ สร้างความเจริญ ตามแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาสองข้างทางรถไฟ
บริหารจัดการให้สถานีรถไฟทั่ว ประเทศโดยเฉพาะสถานีใหญ่เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ของพื้นที่นั้น ๆ ที่อำนวยประโยชน์ทั้งแก่การรถไฟ แก่ประชาชนในท้องถิ่น แก่การสร้างความเจริญในท้องที่และในทางเศรษฐกิจ การค้า ที่สำคัญคือเป็นแหล่งแสดงหรือติดต่อค้าขายสินค้าของท้องถิ่นไปยังทั่วประเทศ หรือเพื่อการส่งออกอีกด้วย

การจัดตั้งโรงแรมซึ่งอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการรถไฟไม่ว่าการรถไฟจะลงทุนทำ เอง หรือจะให้สัมปทาน หรือจะให้เช่าที่ดินก็ตาม จะต้องวางโครงการให้รองรับกับเส้นทางรถไฟและประเภทของรถไฟด้วย

การจัดตั้งคลังสินค้าและสถานีขนถ่ายสินค้าของกิจการรถไฟเพื่อทำให้ต้นทุนใน การขนส่งสินค้าภาคเกษตรและอุตสาหกรรมต่ำลง เป็นการขยายระบบลอจิสติคตามเส้นทางรถไฟให้ทันสมัยและพรั่งพร้อม และสอดคล้องรองรับกันด้วยการจัดระบบตู้คอนเทนเนอร์และคลังเก็บสินค้าแต่ละ ประเภทและระบบการขนถ่ายขนส่งบนรางรถไฟ

เหล่านี้คือยุทธศาสตร์ใหญ่ ๆ และประเด็นใหญ่ ๆ ที่เกี่ยวข้องอันรวมกันเข้าเป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการรถไฟไทย ที่ขอให้พี่น้องร่วมชาติและรัฐบาลได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการต่อไป.
http://www.paisalvision.com/paisal/index.php/2009-01-22-08-46-12?showall=1

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คอลัมน์ ดอกไม้หลายสี 1 ปีหมวดตี้..ไฟใต้ยังไม่(19 มิถุนายน 2552 )

ท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองประเทศไทย..หลังการลงมติผ่านการพิจารณา พรบ.งบประมาณ ๕๒ ผ่านไปอย่างดุเดือดเลือดพล่าน.
ทว่า คล้ายไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนักกับภาพที่ปรากฎสำหรับ "นักการเมืองไทย" ในสายตา..ประชาชนคนดูอยู่หน้าจอทีวี..ที่เฝ้ามองดูพฤติกรรมการทำหน้าที่ของเหล่าบรรดา "ผู้แทนราษฎร" ทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล ในสภา
ข่าวโทรทัศน์ ในแต่ละวันยังคงมีการรายงานสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้..ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน..โดยเฉพาะปฏิบัติการ "คาร์บอมบ์" และการยิงถล่มมัสยิดมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บจำนวนมาก และการยิงพระสงฆ์ขณะบิณฑบาตร ของโจรก่อการร้าย..ทีแม้ว่ารัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรีจะให้ "รองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ""พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รมว.กลาโหม และ "พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา" ผบ.ทบ.ลงพื้นที่เพื่อสั่งการเข้มข้นในการจัดการกับปัญหา แต่ก็ยังคงมีเหตุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ได้เกรงกลัวต่อ"อำนาจรัฐ"ฝ่ายทหาร หรือแม้กระทั่งรัฐบาลที่มีฐานที่มั่นทางการเมืองอยู่ในพื้นที่ภาคใต้อย่าง "พรรคประชาธิปัตย์"

(๑๙มิ.ย.)มีรายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากนักข่าวเนชั่นทีวี ที่ไปสัมภาษณ์ "นางพิมพลักษณ์ บุญลือ" มารดาของ "ร.ต.ต.กฤตติกุล บุญลือ" หรือ “หมวดตี้” ผู้กองหนุ่มอนาคตไกล ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การถูกโจรใต้ลอบซุ่มโจมตีชุดลาดตะเวน เมื่อ ๑ ปีก่อน(๒๐มิ.ย.๕๑)อันเป็นวันเกิดครบรอบ ๒๔ ปีของเขา และแถมยังเป็นวันเกิดของคุณแม่ของเขาด้วย .. "คุณแม่พิมพลักษณ์" บอกว่ายังคงคิดถึงและเก็บสมบัติของใช้ลูกชายที่เสียชีวิตไว้ทุกชิ้น พร้อมกับฝากความหวังไปยังฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการคลี่คลายสถานการณ์ไฟใต้ ขณะเดียวกันก็วิงวอนไปยังผู้ก่อการความไม่สงบ ให้หยุดก่อกรรมทำเข็ญต่อชีวิตผู้คน...แม้จะรู้ว่าคำวิงวอนของเธอคงไม่เกิดกับโจรใต้ก็ตาม

"ดอกไม้หลายสี" ทบทวนความทรงจำ..ย้อนหลัง กลับไปในวันดังกล่าว(๒๐มิ.ย.๕๒) และไล่เรียงลำดับเหตุการณ์ ก็พบว่า ชีวิตของชายชาตินักรบนาม"หมวดตี้"ที่ดับสูญไปเมื่อ ๑ ปีก่อน ซึ่งห้วงเวลานั้นเราพูดถึงเขาด้วยความอาลัยและขอบคุณเขาในความกล้าหาญ เสียสละ เพื่อประเทศชาติ ..โดย "ดอกไม้หลายสี" จำได้เวลานั้นว่าได้เขียนถึงเรื่องของ "หมวดตี้" เป็นคนแรกๆในวันเกิดเหตุ..๒๐ มิ.ย.๕๑ ห้วงสายๆเนื่องเพราะไปเห็นคนมาโพสไว้ในเวปบอร์ดของ "พันทิพ" และรู้สึกถึงความพิเศษของ "หมวดตี้" ที่เป็นคนที่มี "คนรู้จักเยอะมาก" โดยเฉพาะวัยรุ่นเยาวชน อันสืบเนื่องจากที่เขาเป็นคนชอบ "เขียน" ไดอารี่ที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต..และเขียนมานานนับปี ถึงการใช้ชีวิตทั้งในสนามรบ และ นับตั้งแต่อยู่ในรั้วโรงเรียนตำรวจ และยิ่งเมื่อ "ดอกไม้หลายสี" เข้าไปอ่านไดอารี่สุดท้ายของเขาที่เขียนไว้ตอนเช้าก่อนออกปฏิบัติงานในพื้นที่และเสียชีวิต..ก็ยิ่งรู้สึกตื้นตันกับ "ความดี" ความกล้าหาญ และเสียสละ ของ นายตำรวจหนุ่มท่านนี้..ประจวบกับยิ่งเห็นถึงความบังเอิญหลายประการที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคนๆหนึ่ง นั่นคือ วันตายตรงกับวันเกิดและวันเกิดตรงกับวันเกิดของแม่..ก็ยิ่งรู้สึกอยากจะเผยแพร่เรื่องนี้ออกไป ซึ่งผลจากการเขียนเรื่องนี้ทำให้มีคนเข้ามาอ่านนับหมื่นคน และจำนวนมากทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ได้เข้าไปไว้อาลัย "หมวดตี้" ในไดอารี่ออนไลน์ของเขาหลายหมื่นคน..ซึ่ง ณ เวลานั้น "ดอกไม้หลายสี" ยังคุยกับหลายๆคนว่าน่าจะมีการนำไดอารี่ของหมวดตี้มาทำหนังสือเพราะน่าสนใจ..(ต่อมาก็มีคนนำมาพิมพ์เป็นหนังสือจริงๆ)

ด้วยความที่สถานการณ์ใต้ยังไม่มีอะไรดีขึ้น..โดยยังคงเกิดความสูญเสียซ้ำแล้วซ้ำเล่า..และเพื่อเป็นการรำลึกถึง "หมวดตี้" อีกครั้งครา "ดอกไม้หลายสี" ขอนำเอาข้อเขียนที่เคยเขียนและนำเสนอไว้ในคอลัมน์นี้(๒๐มิ.ย.๕๑) มานำเสนออีกครั้งด้วยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เราทุกฝ่ายได้ทบทวนบางสิ่งบางอย่าง...
------
"หมวดตี้" ..ผู้กล้า
ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ "ม็อบ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" (พธม.)..บุกทำเนียบ(๒๐มิ.ย.๕๑)เพื่อเหตุผล จำเพาะอันมี "ผลประโยชน์" เรื่อง "อำนาจ" ทางการเมืองเป็นปฐมเหตุนำมาซึ่งการก่อ ร่างสร้างสถานการณ์ไปสู่ "วิธีการไม่ปกติ" ทั้งหลายของบรรดา "แกนนำ" หรือผู้ " อยู่เบื้องหลัง"

กว่านี้......ข่าว เหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจตะเวนชายแดนชุดพลร่มพิเศษ 01 ของฐานปฏิบัติการ ตชด.มว.รพศ.1 บ้านสันติ 1 ว่า ถูกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ลอบซุ่มโจมตี บนถนนสายเขื่อนบางลางฟสันติ 1 หมู่ที่ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา ขณะออกลาดตระเวนเส้นทาง และปะทะกันเป็นเวลากว่า ๑๐ นาที เป็นเหตุใ ห้ "ร.ต.ต.กิตติคุณ บุญลือ" รอง ผบ.ร้อย ตชด.หน่วยเฉพาะกิจ หน่วยรบพิเศษที่ 1 ซึ่งเป็น "หัวหน้าชุด" เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และมีจนท.บาดเจ็บอีก ๔ นาย..
ข่าว นี้จะ..เป็นข่าวที่น่าสนใจกินใจ..และน่าคิด สำหรับใครต่อใคร..ในบ้านเมือง ที่บอกว่าเป็น "ผู้กล้า" (แต่ปาก)บนเวที..ทั้งหลายไม่น้อยหากว่าใครได้ทราบถึง..ปรากฎการณ์ ก่อนหน้าที่ "ร.ต.ต.กิตติคุณ บุญลือ" หรือ "หมวดตี้" นาย ตำรวจหนุ่มอนาคตไกลคนหนึ่ง วัย ๒๔ ปี จะถูกคนร้ายลอบซุ่มโจมตีจนเสียชีวิต..ที่จากช่วงสายจรดค่ำคืนศพของเขายังไม่ สามารถนำออกมาได้จากที่เกิดเหตุการปะทะ..
ที่ ว่าน่าสนใจ..กินใจ..ที่ทำให้ต้องมาเขียนถึง "หมวดตี้" ท่านนี้..ไม่แต่เฉพาะความที่เขาเป็น "วีรชน-ผู้กล้า-เสียสละ" เพื่อ "ชาติ-แผ่นดิน" ของจริง..หาใช่ "ผู้กล้า" ที่มักอวดอ้าง "วีรกรรม" อันมีเบื้องหลัง...ทั้งหลายที่กำลังทำการ "แสดง" ให้เราเห็นกันอยู่ในเวลานี้..ที่ว่า "กินใจ" เพราะ..ก่อนเสียชีวิตของ "หมวดตี้" ท่านนี้..มีอะไรหลายอย่างที่เขาบันทึกไว้ก่อนหน้า ไม่ถึงชั่วโมงใน "ไดอารี่ออนไลน์" ที่ทำให้หลายคนต้อง "น้ำตาซึม" ..เมื่อได้อ่านมันทั้งในขณะที่ยังไม่ทราบ และทราบ ภายหลังว่า เขาได้เสียชีวิตลงไปแล้ว....

ใน ห้องกระทู้ราชดำเนิน(๒๐มิ.ย.๕๑)ที่เต็มไปด้วยกระทู้ความเห็น ทางการเมืองอันเชี่ยวกรากไปด้วยเสียงก่นด่า..ชื่มชม และตอบโต้ระหว่างกัน อันเกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์วันเผด็จศึกของ "พันธมิตร" ที่ ตีฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจนถึงริมรั้วทำเนียบรัฐบาลจนสำเร็จ..มี กระทู้ชิ้นหนึ่งที่ไม่สะดุดความสนใจพราะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง.... ที่ตั้งหัวกระทู้ว่า "ขอไว้อาลัยให้กับการจากไปด้วยหน้าที่ของตำรวจไทยคนนึง " ..โดยบอกเล่าถึงเหตุการณ์ข้างต้น..และระบุตอนท้ายว่า ผู้หมวดหนุ่ม ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้คือ.. " ร.ต.ต.กิตติคุณ บุญลือ " เจ้าของไดอารี่ออนไลน์ฉบับหนึ่งhttp://polize.diaryis.com" ที่ จากไปในวันเกิดของเค้าและยังเป็นวันเกิดของคุณแม่เค้าด้วย จากการกระทำของพวกโจรใต้..ขอไว้อาลัยแต่ตำรวจที่มีความมุ่งมั่นคนนึงที่จะปก ป้องประเทศของเราไม่มีคำพูดใดๆดีกว่าคำว่า "น้องทำดีที่สุดแล้วนะ" ......(ขออภัย หากตั้งกระทู้ผิดห้อง เพียงแต่เห็นว่า นี่ก็เป็นผลจากสาเหตุทางการณ์เมืองเช่นกันค่ะ) จากคุณ : Extremely Chocolate

เมื่อลองคลิ๊กเข้าไปใน ไดอารี่ฉบับนี้..อดไม่ได้ที่จะรู้สึก..อึ้ง..และ "กินใจ" ..โดยเฉพาะเมื่ออ่านไดอารี่ฉบับสุดท้ายจากจำนวนบันทึก 431 วัน(จากธันวาคม๔๘-มิ.ย.๕๑)ที่เขียนไว้ในวันสุดท้ายของชีวิตของ "ผู้หมวด" ... ซึ่งเจ้าตัวไม่มีโอกาสรู้เลยว่าอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าหลังการบันทึก ไดอารี่..เขาจะต้องทอดกายลงบนกับผืนแผ่นดินที่กำลังลุกเป็นไฟ..ใน๓จังหวัด ชายแดนภาคใต้..ในขณะที่ผู้คนชั้นนำ..ที่กรุงเทพฯยังคงแก่งแย่งช่วงชิง " อำนาจ" กันอย่างเมามันส์...โดยเอาประชาชนมาเป็น "ตัวประกัน" ...

บท บันทึกสุดท้ายของ "หมวดตี้" ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า "ครั้งแรก" ซึ่งขึ้นต้นว่า " ก็ มั น ไ ม่ เ ค ย นิ " ..และ "วันนี้อยู่ดูโลกให้โสภิณ พรุ่งนี้ชีวินสิ้น ไม่รู้...วันตาย..." ...ราวกับจะเป็นลางบอกลา..เพื่อนๆมิตรรักแฟนเพลง..ในวันครบรอบอายุ ๒๔ ปี ของเขา ที่ได้มอบบทเพลง "อิ่มอุ่น" ให้กับ "แม่" ของ เขาที่อยู่ห่างไกลจากเขานับพันกิโล ณ จ.ลพบุรี..พร้อมๆกับคำขอบคุณแม่(ซึ่งเกิดในวันเดียวกันกับเขา)..ที่ทำให้เขา เกิดขึ้นมาลืมตาดูโลกในวันนี้(๒๐มิ.ย.)..ด้วยข้อความสื่อสารถึงแม่ที่ว่า

" แม่จ๋า... วันเกิดลูกไม่ได้ไปฉลองที่ไหนจริง ๆ นะแม่แถวนี้ไม่มีที่ให้ฉลองอะ แค่ลูกรอดกลับมาได้ก็พอใจแระ ...เดี๋ยวรอกลับไปฉลองกับเด็จแม่ที่บ้านเรา เนอะ ๆ...ไม่ได้กลับไปหาเด็จแม่นานแล้วด้วย คิดถึ้งงง คิดถึงว่าจะไปหาเด็จแม่.... ไปขอตังค์ 55+"

" วันเกิดเด็จแม่ เด็จลูกก็ขอให้เด็จแม่แข็งแรงเน้อ...อยู่กะลูกไปนาน ๆ ให้ถึงวันลูกติดนายพลเลยนะแม่นะ...และก็..ขอให้เด็จแม่มีลูกสะใภ้คนโตสวย ๆน่ารัก ๆ นิสัยดี ๆ...(อันนี้ออกแนวหวังผลกะตัวเอง 55+)"

พร้อม กันนั้น "หมวดตี้" ยังแจกเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ใครต่อใครส่งSMSไปอวยพรวันเกิด..แม้ในขณะที่บันทึกเขาจะบอกว่า "งานเข้าแต่เช้า" ...เพราะมีเหตุต้องคุมชุดลาดตระเวนดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่..

ที่สำคัญ และอดรู้สึกตื้นตัน..คือในประโยคสุดท้ายของบทบันทึกสุดท้ายของเขา..ที่ว่า "ขอให้โลกสงบสุข..."

ที่ ว่าตื้นตันเพราะจากที่เข้าไปอ่านย้อนหลังไดอารี่ของเขา..จะพบว่าเป็นนาย ตำรวจหนุ่มที่มีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าในการเป็น "ตชด." ที่ลมหายใจเข้าออกมีแต่คำว่าประเทศชาติประชาชน..จริงๆ...(จนน่าที่จะให้ บรรดาผู้ที่ปากอ้างว่า "รักชาติ" ทั้งหลายได้เข้าไปอ่าน..จริงๆเพราะหมวดตี้แกก็เคยพูดถึงคนพวกนี้เช่นกัน...)

แต่ ที่ว่ารู้สึก..อึ้ง และขนลุก ก็คือ ในขณะที่หลายคนปฏิบัติภารกิจตอนเช้าจรดสาย..และในขณะที่เพื่อนๆของ "หมวดตี้" หลาย คนส่งSMS และ โพสลงในไดอารี่ของเขา อวยพรวันเกิดให้เขาปลอดภัย..เป็นเวลาเดียวกับที่เขากำลังประทับปืนยิงต่อสู้ กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอย่างดุเดือดกระทั่งถูกยิงเสียชีวิต..โดยผู้สื่อ ข่าวINN จ.ยะลา รายงานข่าวนี้เข้ามาเมื่อเวลา ๐๙.๒๑ น.ว่าได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างชุดลาดตระเวนของ "หมวดตี้" กับคนร้าย..และรายงานต่อมาเมื่อเวลา๑๑.๒๓น.ว่า "หมวดตี้" ถูกยิงเสียชีวิตจากการปะทะครั้งนี้ที่มีผู้บาดเจ็บ ๔ นาย

ใน ขณะที่เมื่อลองเข้าไปดูการโพสของเพื่อนๆของเขาในช่วงเวลา ใกล้ๆกัน..จะพบว่าเพื่อนเริ่มรู้สึกผิดปกติ..และรับรู้ด้วยลางสังหรณ์...... กระทั่งรับรู้ว่าเพื่อนของพวกเขาได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ..ที่ทำให้จากคำ อวยพรวันเกิดกลายเป็น..คำอาลัยรัก..จากเพื่อน..
.....
พิม เค้าจะร้องไห้อะ

ไม่ว่าตอนนี้ตี้จะอยู่ที่ไหนขอให้ตี้มีความ
สุขตลอดไปเช่นกันนะ

คิดถึงแกเสมอและตลอดไปเหมือนกัน
p a t t y
20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:39 น.
.....
ตี้ แกอยู่ไหน
อย่าเล่นอย่างงี้
มาตอบชั้นเร็ว ๆๆๆๆ
JoJo
20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:40 น.
......
พี่ๆครายได้ข่าวพี่ตี้บ้าง
[ นู๋แตง ] 20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:44 น.
......
ตอนนี้ตี้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้วค่ะ
p a t t y
20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:53 น.
.......
ไม่จิงใช่ไหม พี่ยังรออยู่นะตี้
Fly By
20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:56 น.
........
เป็นไงบ้างหนอ

มีนมาเฟีย
20 มิ.ย. 2551 เวลา 10:58 น.
.............
คิดถึงแกว่ะ
ต่อไปใครจะมาอัพไดให้อ่านวะ
ภูมิใจที่มีแกเป็นเพื่อนตลอดมานะ
ขอโทษที่ชอบบ่น ชอบด่าแกนะ
ต่อไปชั้นจะบ่นให้ใครฟังวะ
แล้วที่นัดกันจะไปเกาหลีอ่ะ ช้านอุตส่าห์เก็บเงินนะแก
อย่ามาเบี้ยวกันแบบนี้นะ ทำไมเป็นแบบนี้วะแก ทำไม ทำไม

Sasipim 20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:01 น.
............
ไม่คิดเลยว่าวันที่เราจะได้เจอกัน
จะเป็นวันที่ฉันไปรับแกกลับหัวหิน
และแล้ววันนี้แกก็เป็นเหมือนพี่แคน
แล้วนะ ถึงแม้มันจะเร็วไปก็ตาม แก
ก็คงภูมิใจ
แก .. กลับมาเหอะ ขอร้องหร่ะ

p a t t y
20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:03 น.
...........
ขอแสดงความเสียใจอย่างมาก หมวดตี้ ถูกซุ่มโจมตี หมวดเสียชีวิต
[ กระจ้อน ] 20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:04 น.
.............
ตี้.......ชั้นยังรับไม่ได้หว่ะ
ชั้นเพิ่งจะเข้ามาอวยพรวันเกิดแก
เพิ่งคุยกันว่ารอบนี้แกไป 15 วันแล้วกลับ แกบอกรอบนี้แกได้กลับเร็ว
ชั้นเองยังเสียใจที่รอบนี้ไม่ได้เจอแกเลย
แล้วก็ไม่นึกว่า รอบที่แกจะกลับมานี้ แกจะต้องเป็นแบบนี้
JoJo
20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:06 น.
..............
Happy birthday ตี้เพื่อนรักๆๆๆๆ......
ครั้งสุดท้ายถึงเพื่อนจะไม่รู้อีกแล้วว่าเพื่อนคนนี้รักแกมากนะ
***ถึงเพื่อน พี่ น้อง ที่รู้จักตี้
***(ข่าววงใน)เมื่อเช้าประมาณ9 โมงกว่าๆ ตี้จากทุกคนไปแล้วววววว
Mylovestory
20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:06 น.
.............
เหตุเกิดที่ หลังเขื่อนบางลาง เมื่อเวลาประมาณ 08.45 น.
[ กระจ้อน ] 20 มิ.ย. 2551 เวลา 11:06 น.
..............

นี่ เป็นเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ ของ "ผู้หมวดหนุ่ม ตชด." ตัวเล็กๆคนหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ..ที่มีความรักหวงแหนในผืนแผ่นดิน ชาติมาตุภูมิ รักประชาชน..รักใน "แม่" ....ที่อยากหยิบนำมาบันทึกเพราะเกรงว่าจะเป็นเพียงแค่ลมที่พัดผ่านไป..เพราะ ถูกข่าวร้อน ปฏิบัติการไล่รัฐบาลของ "พันธมิตร" กลบ..ทั้งที่..เนื้อหาสาระ...หากเอาเข้าจริง..ข่าวของ "ผู้หมวดตี้" ผู้กล้า..คนนี้..อาจจะมี "สาระ" กว่า..เรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้น ณ ใจกลางกรุงเทพฯ ในวันเดียวกัน(๒๐มิ.ย.)ก็ได้...!!!

ขอบมอบดอกไม้..คารวะต่อดวงวิญญาน.. "หมวดตี้" ..ผู้กล้า..ผู้มีจิตวิญญานในความเป็น ตชด.ผู้มีความ "รักชาติ" อย่างแท้จริง..!!

ที่มา : คอลัมน์ ดอกไม้หลายสี http://www.innnews.co.th : 20 มิ.ย. 2552
--------
หมายเหตุ : สำหรับวันครบรอบ ๑ ปี ของการเสียชีวิตของ "หมวดตี้""คุณแม่พิมพลักษณ์ บุญลือ" จะจัดงานทำบุญขึ้นในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ นี้ ณ บ้านของคุณแม่ ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
----------



http://www.innnews.co.th/rose.php?nid=176933

ว่าด้วยโพลกับการขออภัยโทษให้ทักษิณ

ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์

ขอเรียกร้องให้สำนักโพลต่าง ๆ กำหนดคำถามต่อสังคมในทางสร้างสรรค์ไม่ใช่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางสังคมมากขึ้นไปอีก ในประการสำคัญอันเป็นหลักสากลอยู่แล้ว โพล (poll) คือ การสำรวจความคิดเห็นของผู้คนบางกลุ่มจำนวนหนึ่งที่อาจไม่ใช่คนส่วนใหญ่ และโดยเจตนารมณ์ (intention) ของโพลที่เกิดขึ้น คือ การมุ่งสร้างสรรค์ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเรื่องหนึ่ง ๆ แก่องค์กรและสังคม

การสำรวจความคิดเห็นในรูปแบบของโพลจะไม่โยงใยไปถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใด อันจะสร้างความแตกแยกแก่สังคม เช่น กรณีการเมืองการปกครอง ความขัดแย้งในเรื่องตัวบทกฎหมาย หรืออย่างกรณีที่เป็นประเด็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ เรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ

เรื่องเช่นนี้ อาศัยความรอบรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวางในการมีส่วนร่วมในการสำรวจความคิดเห็นในรูปแบบของโพล อาจต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์ แม้แต่หลักจริยธรรมทางการเมืองการปกครองแก่บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแสดงข้อคิดเห็น หาใช่เป็นการสำรวจตรวจสอบทัศนคติในเรื่องซึ่งมีความละเอียดอ่อนและมีผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมจากบุคคลใด ๆ ก็ได้ตามอำเภอใจ

กรณีการขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักการเมือง มิใช่เป็นเรื่องของราชประชาสมาสัย เพราะตามคำนิยามมีความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนทั้งมวลกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในเรื่องหนึ่ง ๆ ซึ่งในกรณีนี้แม้แต่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในทางตรงข้าม กลับกลายเป็นความแตกแยกมากมายยิ่งขึ้น

ทุกภาคส่วนจึงต้องมีความระมัดระวัง และไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็นอันเป็นการขัดแย้งต่อหลักจารีตประเพณีและกระบวนวิธีทางกฎหมายที่บัญญัติไว้ ได้แก่ การพิจารณาตามมาตรา 259 – 261 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2548

และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวถึงสถาบันฯ ในกรอบของแนวทางการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เพราะทั้งหลายทั้งปวง ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรือนจำ / ทัณฑสถาน กระทรวงยุติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศสำหรับกรณีผู้ต้องโทษชาวต่างชาติ ย่อมมีส่วนรับผิดชอบในการพิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามครรลองครองธรรมของกระบวนวิธีทางกฎหมาย

ในทางจารีตประเพณีของชาติไทย บุคคลจะไม่กล่าวพาดพิงถึงพระราชอำนาจในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ต้องโทษในทุก ๆ กรณี


http://www.innnews.co.th/ideacorner.php?nid=178837

เงินเฟ้อติดลบต่ำสุดรอบ10ปีพลิ้วยังไม่'ฝืด'

"พาณิชย์" เปิดตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ยังติดลบ 4% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ต่ำสุดรอบ 10 ปีตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง ท่องคาถาไม่เข้าขั้น "เงินฝืด" หอการค้าฯ แนะจับตา เผยส่งผลกำลังซื้อมีปัญหาในช่วงน้ำมันโลกขาขึ้น กมธ.แขวนงบธงฟ้า เหตุไร้แผนไม่มีความชัดเจน
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมิถุนายน 2552 ว่าเท่ากับ 104.7 โดยเมื่อเทียบเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาสูงขึ้น 0.4% และเทียบเดือน มิ.ย.ปีก่อน ลดลง 4.0% ทำให้เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ลดลง 1.6%
โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนที่ติดลบ 4.0% เป็นอัตราลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงถึง 9.4% อาทิ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลง 17.5% หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนาลดลง 10% หมวดเคหสถานลดลง 5% หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลง 3.8% ในขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนสาเหตุที่ดัชนีเฉลี่ยเทียบกับช่วงระยะ 6 เดือน ที่ลดลง 1.6% มาจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 7.6% เช่นกัน
"เงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ยังติดลบสูงถึง 4.0% ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และแม้จะติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 แต่ในทางเทคนิคยังไม่เป็นเงินฝืด เพราะทางทฤษฎีนอกจากเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 6 เดือนแล้ว ราคาสินค้าทุกชนิดต้องติดลบทั้งหมดด้วย แต่ขณะนี้สินค้าหลายรายการยังเป็นบวก จึงเรียกว่า Disinflation ไม่ใช่ Deflation อย่างไรก็ตาม หากเป็นเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน จึงจะน่าเป็นห่วง" นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีเฉลี่ย 0-0.5% แม้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนติดลบ 1.6% แต่ปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนที่คาดว่าจะเฉลี่ยที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ และราคาน้ำมันที่มีทิศทางปรับตัวขึ้น ทำให้แนวโน้มราคาสินค้าจะไม่ลดต่ำลงมาก โดยเงินเฟ้อตั้งแต่ ส.ค.จะค่อยๆ ปรับตัวเป็นบวก
ผศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังเห็นทิศทางเงินเฟ้อลดลง สะท้อนถึงการลดลงของความต้องการซื้อในเดือนที่ผ่านมาที่ยังติดลบ ทั้งการบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐและเอกชนที่ยังไม่มีในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการลงทุนต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้นจากความไม่เชื่อมั่น ประกอบกับปัญหาการส่งออกทำให้กำลังซื้อต่อเนื่องหดตัวตาม รวมทั้งปัจจัยราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงทำให้แรงงานในภาคเกษตรที่มีสัดส่วนมากถึง 40% กำลังซื้อลดลงตาม
"เดิมคิดว่าราคาน้ำมันแพงขึ้นจะทำให้ต้นทุนผลิตสูงขึ้น แต่เมื่อผลเงินเฟ้อออกมาเช่นนี้ ราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ยิ่งทำให้กำลังซื้อประชาชนลดลง" ผศ.ดร.เสาวณีย์กล่าว และว่า ต้องจับตาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจากนี้ ว่าจะติดลบต่อเนื่องเกิน 6 เดือนหรือไม่ เพราะหลักการเกิดเงินฝืดต้องเงินเฟ้อพื้นฐานติดลบมากกว่า 6 เดือน
เธอระบุว่า สัญญาณเดือนหน้าแม้ยังไม่มีความชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยที่เป็นบวกทั้งความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ดีขึ้นจากการเผยแพร่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และแผนการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่จะช่วยเรื่องการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหากทั้งสองส่วนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาสินค้าไม่ลดลงไปมากกว่านี้ ความเชื่อมั่นการใช้จ่ายจะดีขึ้น การติดลบของเงินเฟ้ออาจคลี่คลายลงได้
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นประธานที่ประชุม โดยได้พิจารณางบของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง กมธ.ส่วนใหญ่ตั้งข้อซักถามถึงงบที่ตั้งไว้สำหรับดูแลราคาสินค้า โดยเฉพาะโครงการธงฟ้า ว่าลงในจังหวัดใดบ้างอย่างไร ใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณา รวมถึงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรต่างๆ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่ฟันธงว่าระหว่างประกันราคากับการค้ำประกันอะไรจะดีกว่ากัน เหมือนกับภริยากับน้องภริยาใครจะดีกว่า เพราะแรกๆ ภริยาก็ดีกว่า แต่ตอนหลังน้องภริยาคงดีกว่าแน่
การชี้แจงของนายยรรยง ทำให้นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วน กมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตำหนิทันทีว่า ไม่ชอบเลยที่เอาเพศแม่มาเทียบเล่น ทั้งที่สังคมกำลังมีปัญหานี้อยู่ จึงไม่ทราบว่าผู้พูดอยู่ในฐานะอะไรไม่ทราบที่มาเปรียบเปรยภริยาและน้องภริยาว่าเป็นคนคนเดียวกัน
ในขณะที่นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา กมธ.จากพรรคเพื่อไทย ได้ขอแขวนงบธงฟ้า 85 ล้านบาทก่อน โดยให้เหตุผลว่าไม่มีการเสนอแผนงานว่าจะจัดในที่ใด และอย่างไรบ้าง
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี กมธ.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ซักถามถึงตัวเลขการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีตัวเลขเกินจริงจนทำให้มีการลักลอบนำข้าวโพดจากต่างประเทศเข้ามาแฝงเพื่อสวมสิทธิ์
นายยรรยงชี้แจงว่า กรมการค้าภายในได้จำกัดการขนย้ายข้าวโพดในปริมาณที่เกิน 1 พันกิโลกรัมจะเข้า-ออกประเทศต้องได้รับการอนุญาตก่อนเท่านั้น ซึ่งก็ได้ผลในการสกัดกั้นพอสมควร แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมามีการนำข้าวโพดจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์จริง ซึ่งรัฐกำลังพยายามสกัดกั้นอยู่
ในที่สุดที่ประชุมมีมติให้แขวนงบโครงการธงฟ้าไปก่อน เพื่อให้คณะอนุ กมธ.ไปพิจารณารายละเอียดเพื่อให้กรมการค้าภายในนำเสนอแผนงานที่ชัดเจนก่อน
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาต่อในส่วนของงบประมาณกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักถามว่าในแต่ละปีต้องเสียค่าทรัพย์สินทางปัญญาให้กับต่างชาติเป็นเงินจำนวนเท่าใด

นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงว่า ในปี 2550 มีรายรับจากสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา 1,800 ล้านบาท แต่จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ออกไป 79,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลอยู่ 70,000 ล้านบาท.


http://www.thaipost.net/news/020709/7142

ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ (ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ chodechai@fpo.go.th)

สัญญาณชี้วัดเศรษฐกิจโลกเริ่มเห็นชัดว่าจุดเลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว ดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แสดงว่าแนวโน้มกำลังดีขึ้น
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหดตัวร้อยละ 6.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วและหดตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสแรกของปีนี้ สัญญาณเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทำให้คาดว่า เศรษฐกิจน่าจะหดตัวเหลือเพียงร้อยละ 1 – 3 ในไตรมาสนี้ ซึ่งจากการสำรวจของธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาพบว่า หลายภาคในสหรัฐอเมริกาสถานการณ์เริ่มดีขึ้นตามลำดับ จึงคาดการไม่ถูกว่าในการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางของสหรัฐ (Federal Reserve) จะตัดสินใจทิศทางดอกเบี้ยอย่างไร
ในสหรัฐอเมริกามีการพูดถึงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจแปลกๆ เช่น กางเกงในชาย ความสั้นของกระโปรง ลิปสติก และยาแก้ปวดแอสไพริน เป็นต้น
ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย กางเกงในจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนหยุดซื้อเพราะว่า เป็นสิ่งที่ถึงใส่แล้วก็ไม่มีใครอื่นเห็น(ยกเว้นคนใกล้ชิดบางคนเท่านั้น) การหยุดซื้อของประชาชนทำให้เกิดความต้องการในกางเกงในที่จะทะลักเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น(Pent-up Demand) ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ยอดขายกางเกงในชายเพิ่มสูงขึ้น ก้อน่าจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น
Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาเคยอ้างถึงตัวชี้วัดกางเกงในชายนี้ว่า ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-3 ต่อปี จะชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยทางธุรกิจแห่งหนึ่งในอเมริกาทำนายว่ายอดขายกางเกงในปีนี้จะลดลงร้อยละ 2.3 ต่อปี และยอดขายอาจไม่ฟื้นจนกระทั่งปี 2556 ส่วนยอดขายในปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมกราคมปีนี้พบว่า ยอดขายตกร้อยละ 12 ต่อปีแต่มีสัญญาณดีขึ้น ยอดขายเริ่มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดที่ 2 ได้มาจากทฤษฎีที่ว่า ทิศทางของเศรษฐกิจสามารถทำนายได้โดยอิงกับแฟชั่นความยาวของกระโปรงในปีนั้นๆ ถ้ากระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้น ในทางตรงข้าม หากคนนิยมใส่กระโปรงยาวแสดงว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลง เหตุผลของทฤษฎีนี้ก็คือ คนมักใส่กระโปรงยาวเมื่อระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกลัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและคนขาดกำลังซื้อ ในขณะที่เมื่อกระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาวะตลาดหุ้นในช่วงขาขึ้น ทฤษฎีนี้อยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม และภาวะเศรษฐกิจที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ออกแบบและผู้บริโภค
ตัวชี้วัดที่ 3 อ้างอิงกับแนวคิดที่ว่า เมื่อคนรู้สึกไม่มั่นใจกับอนาคต เค้าจะเปลี่ยนไปซื้อของฟุ่มเฟือยที่มีราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิปสติก ความเชื่อนี้บ่งบอกว่ายอดขายลิปสติกจะเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงเ หตุผลหนึ่งของการใช้ลิปสติกก็เพื่อช่วยปรับความรู้สึกให้ดีขึ้น (Mood enhancer) ซึ่งสามารถยกระดับความรู้สึกให้ดีขึ้นในช่วงที่รู้สึกหดหู่ มีเหตุการณ์จริงที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือ ในช่วงต้นปลายปีที่แล้วที่เศรษฐกิจแย่มาก ยอดขายของลิปสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ต่อปี และในช่วงเศรษฐกิจขาลงภายหลังเหตุการณ์หายนะตึกถล่ม 11 กันยายน ยอดขายลิปสติกก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ตัวชี้วัดสุดท้ายคือ ยาแก้ปวดหัว (Aspirin) เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนก็มักปวดหัวง่าย ทำให้ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดยาแก้ปวดหัวจึงมีความผกผันกับทิศทางของตลาดหุ้นกล่าวคือ ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง ในสหรัฐยอดขายของยาแก้ปวดหัวยี่ห้อ (Advil) ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ต่อปี ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐปั่นป่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด
อนึ่ง ผมขอแนะนำหนังสือใหม่ชื่อ “การวางแผนการเงินอย่าง 40 คนดัง” ซึ่งจัดทำโดยธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนที่ต้องการศึกษาประสบการณ์ส่วนตัวและเรียนรู้แนวคิด และวิธีบริหารเงินจากบุคคลสาขาอาชีพต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ อาทิเช่น นายกรัฐมนตรีของเรานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอีก 39 คนดังของประเทศ โดยรายได้จากการจำหน่ายจะเข้าการกุศลด้วย

รายงานประสบการณ์ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ(โดยฝ่ายเศรษฐกิจ สอท. เบอร์ลิน)

1. บทนำ
สหพันธ์ฯ เป็นประเทศหนึ่งที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมานาน ประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยการขายวิสาหกิจจำนวนมากในเยอรมันตะวันออกภายหลังการรวมประเทศ หรือที่เรียกว่า mass privatization และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญในสาขาต่างๆ เช่น การรถไฟ และโทรคมนาคม เป็นต้น ประสบการณ์จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหพันธ์ฯ มีทั้งประสบการณ์ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้จากผลสำเร็จ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนและแนวทางในการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และจากปัญหาที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งยังคงมีผลต่อเศรษฐกิจของสหพันธ์ฯ จนถึงปัจจุบัน เช่น ปัญหาการว่างงาน และปัญหาสังคม ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชนโดยเฉพาะเยอรมนีตะวันออก เกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ความรู้สึกสูญเสียความเป็นเจ้าของ และความไม่เท่าเทียมในเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการซื้อรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนความรู้สึกหวาดระแวงของประชาชนต่อรัฐบาล เป็นต้น
รายงานฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก จะได้สรุปประสบการณ์ที่สำคัญของสหพันธ์ ในการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหพันธ์ฯ ซึ่งได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออก ในช่วงปี 2533 หรือที่เรียกว่า Treuhand Mass Privatization การแปรรูป Deutsche Telekom ในธุรกิจโทรคมนาคม การแปรรูปการรถไฟของสหพันธ์ฯ โดยการรวม German Federal Raiway of West และ German Reichsbahn of East Germany และการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ Hartz Commission เพื่อดูแลรับผิดชอบด้านการจ้างงานใหม่ และในช่วงที่สอง จะได้นำเสนอบทเรียนเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่หลายฝ่ายสามารถมาปรับใช้
2. ประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
2.1 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออก (Treuhand Mass Privatization)
ภายหลังการรวมประเทศของสหพันธ์ฯ ในปี 2533 รัฐบาลสหพันธ์ฯ เห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออก ซึ่งมีผลประกอบการไม่เป็นที่น่าพอใจและขาดประสิทธิภาพ แนวทางในการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาล คือ การปฏิรูปโครงสร้างของ Treuhandanstalt หรือเรียกสั้นๆ ว่า Treuhand ซึ่งเป็นองค์กรเดิมของรัฐบาลเยอรมันตะวันออก ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยรัฐบาลสหพันธ์ฯ ได้กำหนดให้ Treuhand ซื้อกิจการวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมในเยอรมันตะวันออกกว่า 13000 แห่ง และจำหน่ายวิสาหกิจดังกล่าวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขั้นตอนในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหพันธ์ฯ โดยการดำเนินการของ Treuhand ก็เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือ การเตรียมการและแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและผลที่จะได้รับ การดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย โดยเฉพาะในรูปของพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยต่ำ และการจัดจำหน่ายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เช่นในเรื่องการประชาสัมพันธ์ รัฐบาลได้สร้างภาพให้ประชาชนเข้าใจว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ในทันที ทำให้ประชาชนตั้งความหวังไว้มาก แต่ในความเป็นจริง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของเยอรมันตะวันออกมิใช่กระบวนการที่ง่ายและเห็นผลได้ในทันที ในส่วนของการดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย ก็ได้รับการวิจารณ์ว่า กระบวนการชดเชยไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ และไม่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน อีกทั้งการจัดจำหน่ายรัฐวิสาหกิจ Treuhand ก็ให้ความสำคัญการจำหน่ายให้แก่ชาวเยอรมันตะวันตกและนักลงทุนต่างชาติมากกว่าชาวเยอรมันตะวันออก เป็นต้น จากรายงานของ Stack (2004)1 ระบุว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ Treuhand ครั้งนี้ ได้ส่งผลในหลายด้าน เช่น ความรู้สึกของชาวเยอรมันตะวันออกที่ไม่มั่นใจต่อรัฐบาลประชาธิปไตย ความรู้สึกไม่มั่นคงในสิทธิการเป็นเจ้าของ และความรู้สึกว่าเยอรมันตะวันออกกำลังจะกลายเป็นอาณานิคม (colonization) หรือถูกยึดครอง (occupation) เป็นต้น
นอกจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้มีรายงานการศึกษาถึงการดำเนินงานของ Treuhand เช่นรายงานของ Nienhaus (2002)2 ได้ระบุถึงความล้มเหลวของการดำเนินงานของ Treuhand ในส่วนของเรื่องการจัดการบริหารการเงิน และการจัดการเรื่องจ้างงานแก่ผู้ตกงานซึ่งเป็นผลจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องการบริหารการเงินนั้น Nienhaus (2002) อธิบายว่า รายได้จากการขายรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออกคาดว่าจะมีสูงถึง 100 พันล้านมาร์ก (บางรายงานระบุว่า 170 พันล้านมาร์ก) แต่จนถึงเมื่อปลายปี 2537 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจ Treuhand มีรายได้จากการขายรัฐวิสาหกิจเพียง 76 พันล้านมาร์ก และยังมีรายจ่ายในการดำเนินงานแปรรูปถึง 332 พันล้านมาร์ก ซึ่งทำให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้ ขาดทุนรวม 256 พันล้านมาร์ก
สาเหตุที่ทำให้ Treuhand ขาดทุนขนานใหญ่นี้ เนื่องมาจาก รูปแบบการขายรัฐวิสาหกิจที่ Treuhand ดำเนินการนี้ มิได้เป็นในรูปแบบของการประมูลให้ได้ราคาสูงสุด แต่เป็นลักษณะของการเจรจากับนักลงทุนที่ Treuhand เชื่อว่ามีศักยภาพ นอกเหนือจากที่นักลงทุนจะต้องเสนอแผน
1 Stack, H. (2004)The “Colonization” of East Germany?: A comparative Analysis of German Privatization, URL://www.law.duke.edu/journals/dlj/articles/dlj46p1211.htm
2. Nienhaus, V. (2002) Privatization in Germany – Experience and Inspirations, URL:134.147.147.22/ MatLi/20021023/Privatization%20Germany%2020021101.pdf
ซื้อกิจการแล้ว ยังจะต้องเสนอแผนงานธุรกิจในเรื่องการปรับโครงสร้างของวิสาหกิจ
แผนการลงทุน และการจัดการเรื่องแรงงานด้วย นอกจากนี้ ในการพิจารณาขายรัฐวิสาหกิจ Treuhand ยังได้กำหนดเงื่อนไขว่า หากนักลงทุนที่ต้องการซื้อกิจการ กำหนดว่าจะเพิ่มตำแหน่งงาน 1 ตำแหน่ง จะได้รับการลดราคาของกิจการที่จะซื้อประมาณ 50000 มาร์ก หรือหากมีแผนจะลงทุนเพิ่ม 1 มาร์ก จะได้รับส่วนลดราคาสินทรัพย์ 0.50 มาร์ก ด้วย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเปรียบเสมือนการซื้อแผนธุรกิจของบริษัทมากกว่าการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจ จากการดำเนินการดังกล่าว ยังทำให้ Treuhand มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการตรวจสอบการดำเนินงานตามสัญญาของผู้ซื้อรัฐวิสาหกิจว่าดำเนินการตามข้อตกลงหรือไม่ ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีรวมกว่า 39000 สัญญา
ในส่วนของการเลิกจ้างงาน มีรายงานว่า ภายหลังการรวมประเทศและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดย Treuhand เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานในระบบของเยอรมันตะวันออกได้ลดจำนวนลง โดยก่อนการรวมประเทศ เยอรมันตะวันออกมีการจ้างงาน 9.7 ล้านคน และในปี 2537 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเสร็จสิ้น จำนวนการจ้างงานลดลงเหลือเพียง 6.2 ล้านคน โดยมีอัตราว่างงานเท่ากับร้อยละ 13 สาเหตุของการว่างงานที่มีอัตราที่สูงนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรการในการสร้างงานแก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ทั้งนี้ ปัญหาด้านแรงงานบางส่วนมีสาเหตุจาก (1) การไม่มีรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น ทำให้ขาดอุปสงค์แรงงาน (2) แม้ว่าแรงงานจากเยอรมันตะวันออกจะสามารถเคลื่อนย้ายไปเยอรมันตะวันตกได้ แต่อุปทานแรงงานทางเยอรมันตะวันตกยังคงสูงกว่าอุปสงค์ (3) รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่เน้นการใช้ทุน และความรู้เฉพาะทาง ซึ่งแรงงานเยอรมันตะวันออกขาดคุณสมบัติ (4) มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรมขาดประสิทธิภาพในการกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ รายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออก ในรูปของกำไร ได้ถูกส่งผ่านไปยังกลุ่มนักลงทุน ซึ่งเน้นการบริหารบริษัทและการผลิตโดยใช้ทุนเป็นหลัก มิได้เน้นในเรื่องการพัฒนามูลค่าเพิ่ม เช่น การพัฒนาแรงงานและทุนไปพร้อมกัน ทำให้แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากใช้ทุนในการดำเนินกิจการซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยี แต่มิได้เพิ่มการจ้างงาน
Treuhand ได้ยุติการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเยอรมันตะวันออก เมื่อปี 2537 ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหพันธ์ฯ โดยมีการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจให้แก่ภาคเอกชนรวม 6500 แห่ง จำหน่ายให้แก่ชุมชน 300 แห่ง ต้องแปรรูปใหม่อีก 1600 แห่ง และปิดกิจการรวม 3700 แห่ง สิ่งที่หลายฝ่ายได้เรียนรู้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ Treuhand อาจสรุปได้ว่า (1) การว่างงานซึ่งเป็นผลจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนานใหญ่เป็นปัญหาและภัยเรื้อรังต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ และ (2) มาตรการเสริมและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาวิสาหกิจและแรงงานต่างๆ ที่ได้ดำเนินงานตามที่มักนิยมกระทำกันตามสูตรที่เคยทำมา (convention) ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
2.2 การแปรรูปธุรกิจโทรคมนาคม
ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มิได้ส่งผลกระทบให้เกิดการว่างงานดังเช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่นของสหพันธ์ฯ การดำเนินการแปรรูปธุรกิจโทรคมนาคมนี้ สหพันธ์ฯ ใช้ระยะเวลาพอสมควร เริ่มแรก ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะปฏิรูปวิสาหกิจโทรคมนาคมของสหพันธ์ฯ ซึ่งมีการผูกขาดการให้บริการมาเป็นเวลานาน ขั้นตอนแรกของการดำเนินการปฎิรูป คือ การเปลี่ยนรูปแบบรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม ให้มีการดำเนินงานและบริหารแบบเอกชนในรูปของบริษัท ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้ง Deutsche Telekom AG (DT) ขึ้น โดยในช่วงแรกรัฐบาลถือหุ้นของ DT ทั้งหมด จากนั้นจึงได้เริ่มกระบวนการแปรรูป โดยจัดให้มีการจำหน่ายหุ้นของ DT แกประชาชน ใน 3 ช่วง คือในปี 2539 ปี 2543 และ ปี 2544 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลมีสัดส่วนการถือหุ้นของ DT ร้อยละ 47 ต่อมาในปี 2541 รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการเปิดเสรีในธุรกิจโทรคมนาคมให้มากขึ้น ทำให้ DT ไม่สามารถดำเนินธุรกิจโดยผูกขาดการให้บริการระบบโทรศัพท์ได้ต่อไป และจำเป็นจะต้องให้ license แก่ผู้ประกอบการใหม่ในการให้บริการระบบอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์มือถือ
ในส่วนการให้บริการระบบโทรศัพท์บ้าน (Fixed line) นั้น นอกเหนือจากที่ DT จะต้องให้ license แก่ผู้ประกอบการอื่นแล้ว ตามกฎหมายด้านโทรคมนาคมและไปรษณีย์ใหม่ของสหพันธ์ฯ กำหนดให้ DT จะต้องให้ผู้ประกอบการอื่นสามารถใช้เครือข่าย (network infrastructure) ของ DT ได้โดยคิดอัตราค่าใช้จ่ายที่เท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการใหม่ส่วนใหญ่ของสหพันธ์ฯ เช่าเครือข่ายและอุปกรณ์จาก DT โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการสร้างและบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมเอง ทั้งนี้ จะมีหน่วยงานที่เรียกว่า Regulation Authority คอยกำกับดูแลในเรื่องการกำหนดราคาการคิดค่าบริการของผู้ประกอบการต่างๆ
จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้อัตราค่าโทรศัพท์ของสหพันธ์ฯ ถูกลงอย่างมาก โดยผู้ประกอบการอื่นๆ ได้มีการตัดราคาค่าบริการลง ซึ่งส่งผลให้ตลาดโทรศัพท์บ้านมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวดังกล่าว ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมของสหพันธ์ฯ ขยายตัว และไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราว่างงานของภาคธุรกิจนี้
2.3 การแปรรูปการรถไฟของสหพันธ์ฯ
การแปรรูประบบการรถไฟของสหพันธ์ฯ เป็นการดำเนินการควบรวมกิจการ (merger) ระหว่าง German Federal Railway ของเยอรมันตะวันตก และ German Reichsbahn ของเยอรมันตะวันออก ซึ่งทั้งสองรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ขาดทุนอย่างมาก และ German Reichsbahn ยังมีเทคโนโลยีที่ล้าหลัง แนวนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งสองอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่สหภาพยุโรปมีแนวคิดที่จะปรับปรุงระบบการเดินรถไฟให้เป็นระบบเดียวกันเพื่อการเชื่อมโยงการขนส่งในยุโรป
ขั้นตอนในการดำเนินการแปรรูป German Federal Railway และ German Reichsbahn ที่สำคัญ คือ ขั้นตอนแรก การออกกฎหมายเปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของทั้งสองบริษัทจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเอกชน และทำการควบรวมกิจการของรัฐวิสาหกิจทั้งสอง ในปี 2537 โดยรัฐบาลถือหุ้นทั้งหมด ขั้นตอนที่สอง การปรับโครงสร้างภายใน ซึ่งได้ดำเนินการสองช่วง ในปี 2537 และ 2542 ซึ่งการปรับโครงสร้างภายในนี้ แยกเป็น (1) การปรับโครงสร้างในด้านการบริหาร (public domain) โดยการจัดตั้งกองทุนรถไฟ (Federal Railway Fund – Bundeseisenbahnvermoegen – BEV) ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล กองทุนดังกล่าวจะบริหารหนี้เก่าของ German Federal Railway และ German Reichsbahn และดูแลเรื่องการจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจทั้งสอง และองค์การรถไฟ (Federal Railway Authority – Eisenbahnbundesamt – EBA) โดยมีหน้าที่ในการจัดการการบริหารการเดินรถไฟของการรถไฟเยอรมัน (German Railway – Deutsche Bahn AG) รวมถึงการให้ licenses และการคิดอัตราค่าเช่าทางรถไฟ และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการขนส่ง (2) การปรับโครงสร้างด้านธุรกิจ ได้มีการจัดตั้ง German Railway (Deutsche Bahn AG – DB) ขึ้น และในปี 2542 DB ได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงาน โดยจัดตั้งบริษัทดำเนินงานในด้านต่างๆ รวม 5 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีบริษัทลูกของตน ได้แก่ DB Journey&Tourism (DB Reise & Touristik AG) ซึ่งดำเนินงานด้านการขนส่งผู้โดยสารระยะทางไกล DB Regional (DB Regio AG) ดำเนินงานด้านการขนส่งผู้โดยสารภายในพื้นที่ต่างๆ DB Cargo (DB Cargo AG) ดำเนินงานด้านการขนส่งสินค้า DB Station & Service (DB Station and Service AG) ดำเนินงานด้านการบริหารสถานีรถไฟ และ DB Network (DB Netz AG) ดำเนินงานการจัดการด้านเครือข่ายเส้นทางรถไฟ ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะนำบริษัททั้งห้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2548
ปัญหาที่สำคัญของ German Railways นอกเหนือจากการแข่งขันที่สูงกับการคู่แข่ง คือ การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศและทางถนนแล้ว ยังมีปัญหาต่อเนื่องที่สำคัญ คือ ปัญหาระบบการจ้างงาน ซึ่งเป็นระบบที่กำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนตายตัวมากกว่าที่จะปรับฐานเงินเดือนตามความสามารถและการทำงานของพนักงาน และปัญหาภาระจากระบบการเกษียณอายุ ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากระบบการจ้างงานต่างๆ อยู่ภายใต้กองทุนรถไฟ ซึ่งเป็นการบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล มีการให้เงินเดือนพนักงานตามรูปแบบของพนักงานของรัฐ อย่างไรก็ดี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบของบริษัท DB ทั้งห้า พนักงานของ DB สามารถที่จะเลือกได้ว่า จะอยู่ภายใต้ระบบการให้เงินเดือนแบบเดิมคือ อยู่ภายใต้กลไกของกองทุนรถไฟ และได้รับประกันการจ้างงานตลอดชีพ หรือจะเลือกอยู่ในระบบการให้เงินเดือนแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งมีพนักงานส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่ภายใต้ระบบการให้เงินเดือนแบบเดิม อย่างไรก็ดี หากมีการเกษียณอายุของพนักงาน DB ก็จะไม่รับพนักงานเพิ่มในส่วนนี้ แต่พนักงานใหม่จะเข้าระบบการให้เงินเดือนแบบใหม่ ซึ่งทำให้สามารถเลือกรับพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นได้
ประเด็นที่น่าศึกษาจากการแปรรูปการรถไฟของสหพันธ์ฯ นี้ มีอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ (1) เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้กฎหมายมหาชน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือกระทบต่อสถานะของพนักงาน และ (2) ระบบการจัดการเกี่ยวกับพนักงานที่เหมาะสมและสอกคล้องกับความเป็นจริง ทำให้พนักงานที่ได้รับผลกระทบมีทางเลือก และสามารถลดต้นทุนการบริหารได้
2.4 การบริการการจ้างงาน
ในปี 2545 สหพันธ์ฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการลดอัตราว่างงานและปฎิรูปโครงสร้างสำนักงานแรงงาน (The Commission for the Reduction of Unemployment and the Restructuring of the Federal Labor Office หรือ Hartz Commission) คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ดำเนินงานในด้านการปรับโครงสร้างซึ่งมีนัยยะของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้แก่ การยกเลิกการผูกขาดการบริหารงานด้านแรงงานของภาครัฐ โดยการเปิดโอกาสให้บริษัทจัดหางานของภาคเอกชนได้มีส่วนมากขึ้นในระบบบริหารแรงงานและอนุญาตให้ผู้ตกงานสามารถจ่ายเงินค่าบริการแก่บริษัทจัดหางานของเอกชนได้ รวมถึงสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงานแรงงานและบริษัทจัดหางานของเอกชนด้วย
ประเด็นปัญหาสำคัญซึ่งเป็นที่ถกเถียงในสหพันธ์ฯ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการของ Hartz Commission คือ การจัดตั้ง Personnel Service Agencies (PSAs) ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานแรงงานในเมืองต่างๆ กว่า 180 แห่งทั่วประเทศ และกำหนดให้ PSAs จ้างงานจากแรงงานที่ไม่มีงานทำ ทำให้เกิดการวิจารณ์ว่ารูปแบบการจ้างงานของ PSAs เปรียบเหมือนการให้เงินเดือนอีกรูปแบบหนึ่งแก่ผู้ว่างงาน
3. บทเรียนจากประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ
Nienhaus (2002) ได้ระบุในรายงานถึงบทเรียนที่ได้จากประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่า ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะลดจำนวนพนักงานลงโดยไม่กระทบต่อการว่างงาน และการพัฒนาแรงงานให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อบริษัท มีข้อพิจารณาดังนี้
-ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจมีพนักงานจำนวนมาก และเป็นภาระต่อรัฐวิสาหกิจนั้น มีข้อพิจารณา
ก่อนการปลดพนักงาน คือ
(1) หากรัฐวิสาหกิจนั้น ขาดทุนซึ่งหากวิเคราะห์ดูแล้ว ว่าเป็นผลมาจากที่ไม่สามารถบริหารจัดการด้านการผลิตและราคาให้อยู่ในภาวะคุ้มทุนได้ โดยสาเหตุของการขาดทุนมิได้เกิดจากการมีพนักงานมาก แต่เกิดจากนโยบายการผลิตซึ่งมาจากนโยบายการเมือง และการควบคุมราคาจากหน่วยงานภาครัฐ การให้พนักงานออกจากงาน ก็จะเป็นภาระแก่รัฐวิสาหกิจนั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นเพิ่มต้นทุนในการจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานที่ถูกให้ออก
(2) หากรัฐวิสาหกิจนั้น มีกำไร ซึ่งเกิดจากการผลิตและการกำหนดราคาที่ผูกขาด (monopoly) แล้ว การให้พนักงานออกจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นในการต้องหางานใหม่และจ่ายค่าชดเชนให้กับพนักงานด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า การได้กำไรจากการกำหนดราคาที่ผูกขาดนั้น ผู้บริโภคเป็นผู้แบกภาระดังกล่าว มิใช่รัฐวิสาหกิจนั้น
-หากจำเป็นจะต้องให้พนักงานออกจากรัฐวิสาหกิจจริงๆ รัฐวิสาหกิจนั้น จำเป็นจะต้องให้
การช่วยเหลือแก่พนักงานเหล่านั้น และจากประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กล่าวมาข้างต้น ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า มาตรการในเรื่องการหางานและการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมต่างๆ มิได้ช่วยให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฐวิสาหกิจจำเป็นจะต้องพิจารณาแนวทางใหม่ในการช่วยเหลือพนักงาน หนึ่งในทางเลือกดังกล่าว คือ รัฐบาลอาจใช้วิธีให้เช่า (lease out) พนักงานแก่นักลงทุนที่จะตั้งกิจการใหม่ โดยคิดอัตราค่าจ้างพนักงานจากบริษัทเอกชนต่ำกว่าราคาตลาด (ขณะที่รัฐยังจ่ายเงินเดือนเท่าเดิมแก่พนักงาน) ถึงแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะคล้ากับการอุดหนุนเงินเดือนพนักงาน ซึ่งไม่ถูกหลักกลไตลาด แต่เมื่อคำนึงถึงผลเสียจากการว่างงาน ซึ่งจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจแล้ว น่าจะเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจต้องกำหนดมาตรการควบคุมอื่นๆ เช่น การกำหนดระยะเวลาในการให้เงินอุดหนุน การกำหนดประเภทของนักลงทุน (อาจเป็นเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ) การกำหนดประเภทการลงทุน (การลงทุนเพื่อการส่งออก) สถานที่การลงทุน (อาจเป็นเฉพาะจุดนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนการลงทุน) มูลค่าเงินลงทุน และการค้ำประกันจากนักลงทุน เป็นต้น
4. บทสรุป
ประสบการณ์ของสหพันธ์ฯ ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจครั้งใหญ่ เช่น การแปรรูปโดย Treuhand และการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เช่น โทรคมนาคม การรถไฟ ของสหพันธ์ฯ เป็นประสบการณ์ที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยสามารถเรียนรู้ในเรื่องการจัดการที่ประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว เช่น การแปรรูปการรถไฟของสหพันธ์ฯ ประสบความสำเร็จในการจัดการระบบการจ้างงานพนักงาน ซึ่งทำให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไม่กระทบต่อพนักงานและรูปแบบการบริหารสมัยใหม่ การแปรรูป Deutsche Telekom ทำให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจ มีการขยายตลาดมากขึ้น อัตราค่าโทรศัพท์ลดลง เป็นต้น ขณะที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ Treuhand ในเยอรมันตะวันออก ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาว่างงานซึ่งกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของเยอรมันในเวลาต่อมา อีกทั้งยังได้แสดงให้เห็นว่า แนวทางการจัดการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มิใช่สูตรสำเร็จที่จะสามารถใช้แนวทางและมาตรการแบบเดิมที่นิยมทำต่อกันมาได้ในทุกกรณี ในตอนท้ายของรายงานนี้ ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาสำคัญของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดย Nienhaus (2002) ให้ข้อสรุปว่า มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาใช้มาตรการรองรับปัญหาแรงงานในมุมมองใหม่ แทนแนวทางเดิมแม้จะเป็นการขัดต่อหลักการการแข่งขันตามกลไกตลาดก็ตาม ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่า รายละเอียดขั้นตอนในการแปรรูปของแต่ละรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทยน่าจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
พฤษภาคม 2547


http://www.thaiembassy.de/economic/privat_rep.htm