วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ( Action Learning)

วิธี การในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และมีวิธีการรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่เสมอทั้งนี้ก็เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ เกิดขึ้นกับบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร โด รูปแบบของการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถสร้างให้ผู้เรียนรู้เกิด กระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลวิธีการหนึ่งคือการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้จากการปฏิบัติ(Action Learning)
การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อถาวรอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดย การเรียนรู้นั้นมีหลายประเภท ซึ่งการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคน และองค์กรอย่างมากคือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ(Action Learning) ซึ่ง เป็นการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มย่อยทีมีการนำปัญหาที่กลุ่มสนใจและมีผลกระทบ ต่อทั้งกลุ่มและองค์กรมาเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาและการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา และนำไปลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจริง โดยลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) มีดังนี้

1. เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทำงาน คือ การเรียนรู้ที่มีการนำปัญหาในการทำงานมาเป็นโจทย์ในการเรียนรู้อีกทั้งต้อง มีการคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียน รู้เองและองค์กรด้วย
2. เป็นการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น คือ การเรียนที่ต้องมีการประชุมระดมสมองเพื่อหาวิธีการที่ดีและเหมาะสมในการ ดำเนินการเนื่องจากเป็นการเรียนรู้ในลักษณะทีมงานย่อยที่มีสมาชิกจำนวนหนึ่ง ที่ต้องมีการทำงานร่วมกัน
3. เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้ร่วมงานวิจารณ์และแนะนำ คือ การเรียนรู้ที่ต้องมีการเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นเมื่อมีการดำเนินการปฏิบัติ และอาจมีการปรับปรุงการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จของดำเนินการ

กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ(Action Learning Process)

1. มีประเด็น หรือปัญหาจริง เพราะรูปแบบการเรียนรู้จะวางบนพื้นฐานประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อบุคคล ต่อกลุ่ม หรือต่อ องค์กร ปัญหานั้นจะต้องมีประเด็นที่ต้องการการแก้ไขปรับปรุงเร่งด่วน และเป็นโอกาสที่กลุ่มจะได้เรียนรู้ร่วมกัน และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น
2. มีกลุ่มเรียนรู้ กลุ่มนี้ควรมีสมาชิกประมาณ 4-8 คน ที่มีความแตกต่างทางความรู้และประสบการณ์บ้าง เพื่อทำให้มีแนวคิดที่หลากหลาย กลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ศึกษาประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด
3. มีกระบวนการที่กระตุ้นให้เกิดการศึกษาปัญหาอย่างลึกซึ้ง กระบวนการ Action learning จะเน้นการศึกษาและการใคร่ครวญที่ลึกซึ้งกว่าการถามตอบทั่วไป โดย เน้นการถามคำถามที่ถูกต้องมากกว่าการแสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนแง่มุมที่ไม่เคยทราบ ไม่เคยคิดมาก่อนมากกว่าจะเน้นการแสวงหาคำตอบที่รู้อยู่เดิมแล้ว คำถามจะเป็นเครื่องมือในการนำไปสู่การพูดคุยกัน การกระตุ้นการคิดและแสวงหาทางเลือกที่เป็นนวัตกรรมและเป็นระบบ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ต่อเมื่อ ผู้มีส่วนร่วมได้เข้าใจในประเด็นปัญหา ได้แสวงหาทางเลือกที่หลากหลาย ได้ไตรตองอย่างรอบคอบ แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
4. จะต้องมีความจำเป็นที่ต้องมีการ ปฏิบัติการ กลุ่ม จะต้องมีความสามารถและมีความรู้ที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย การศึกษาทางเลือก และการปฏิบัติการ การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อกลุ่มได้ใคร่ครวญไตร่ตรองประสบการณ์ที่เกิดขึ้น
5. จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ Action learning ไม่ ได้เน้นการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระดับบุคล กลุ่มและองค์กร ยิ่งกลุ่มได้พัฒนาความรู้ความสามารถมากขึ้นเพียงใด คุณภาพของการปฏิบัติการเพื่อปัญหาจะเพิ่มขึ้นตามตัว
6. มีโค้ชแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยทำการแก้ปัญหาและการเรียนรู้โดยจะกระตุ้นให้ตั้งประเด็น และเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น


การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) กับการประยุกต์ใช้

มาร์ควาร์ท ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) โดยต้องมีการสร้างพลวัตการเรียนรู้ (Learning dynamics) ให้เกิดขึ้นซึ่งต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม บุคลากรมีความกระตือรือร้น สนใจ ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ บุคลากรมีการคิดอย่างเป็นระบบ บุคลากรมีแบบแผนทางความคิด ไม่ยึดติดกับความเชื่อ ทัศนคติเดิม มองโลกอนาคต บุคลากรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีการสนทนาที่เป็นเปิดเผย มีรูปแบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ เช่น เรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ และที่สำคัญต้องมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Action learning) อีกด้วย
ภาคราชการไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของข้าราชการรองรับราชการยุคใหม่ ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยอาศัยการเรียนรู้จาการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง (Action Learning) ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ความรู้สึกผูกพันต่อภารกิจ และการทำงานร่วมกันเป็นทีม อีกทั้งในโครงการการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) ได้ใช้วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติการ (Action Learning) มาใช้เพื่อสร้างให้มีกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาระบบราชการ และสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการ เข้าใจบทบาทของตนเอง และสามารถพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ (innovation) ให้แก่องค์กร และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ.ทั้งของทั้งตนเอง และทีมงาน

ในภาคธุรกิจตัวอย่างเช่นบริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นองค์การภาคเอกชนชั้นนำที่ประยุกต์แนวคิดของการเรียนรู้จากการปฏิบัติไปใช้การพัฒนาคน ทีม และองค์การ ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า The Motorola GOLD Press ด้วยเป้าหมายเพื่อการสร้าง ชิง และรักษา ความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม จุดเริ่มต้นของการนำ Action Learning มาใช้เพื่อการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ของบริษัท ที่จะนำพาบริษัทฝ่าคลื่นของการแข่งขันอยู่รอดและรุ่งเรื่องธุรกิจยุคศตวรรษที่ 21 ให้ได้ บริษัทจึงจัดให้มีหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำในหน่วยงานขึ้นเรียกว่า The Global Organization Leadership Program (GOLD) เป็นหลักสูตรระยะเวลา 21 วัน แบ่งเป็น 3 ช่วง ในระยะเวลา 3 เดือนขึ้น

แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ(Action Learning) สามารถ นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผลอย่างมาก เพราะเหตุว่ามิได้มีการเรียนรู้เฉพาะในส่วนแนวคิด ทฤษฎี เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการนำประเด็นปัญหา หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาเข้าสู่กระบวนการขบคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหานั้นด้วย ซึ่งประโยชน์ที่ได้โดยตรงคือผู้เรียนก็จะมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง มากกว่าในตำรา หรือจากผู้สอนเพียงด้านเดียว แต่ยังได้มีการสัมผัสใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ เรียกว่า Learning by doing คือการเรียนรู้ที่มีการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น

http://learners.in.th/blog/aumnad2009/234337


รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

โดยทั่วไปมี 2 แบบคือแบบเป็นทางการกับไม่เป็นทางการ ซึ่งวิธีแบบทางการนั้นจะให้ผลค่อนข้างน้อย องค์การจึงต้องมีมาตรการหรือแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บุคลกรที่มีความรู้ความสามารถ ให้อยู่กับองค์การให้นานที่สุด ซึ่งตามแนวคิดของ Peter Druker ที่กล่าวว่า มีเพียง 20% ของคนในองค์การเท่านั้น ที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ ลักษณะที่สำคัญของคนเหล่านั้นคือ มีความรับผิดชอบสูง สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีผลงานและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Knowlege Worker) ดังนั้นวิธีการรักษาให้เขาอยู่กับองค์การจึงหมายถึงการอยู่รอดขององค์การด้วยเช่นกัน วิธีการดูแลรักษาคนเหล่านี้ให้อยู่กับองค์การทำได้โดย

1.ระยะแรก (ช่วง 0- 6 เดือน)
ต้องปฐมนิเทศให้รู้จักองค์การ
สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ
อย่าเพิ่งคาดคั้นเอาผลงาน
คัดสรรพี่เลี้ยงที่ดีคอยดูแลเขา
หัวหน้าหรือพี่เลี้ยงต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
มอบหมายงานให้ตรงกับสมรรถนะ ไม่ยากหรือง่ายเกินไป

2.ระยะที่สอง (ช่วง6 ด.- 1ปี) ต้อง
ให้ทดสอบและทดลองสิ่งใหม่ๆ
มอบอำนาจ
ดึงเข้ามาร่วมคิด
เสริมแรงทางบวก

3.ระยะที่สาม (ปีที่1-2) เป็นช่วงแสดงฝีมือจึงต้องส่งเสริมให้
คิดนอกกรอบ
คิดค้นนวตกรรมใหม่ๆ

4.ระยะที่สี่ (เกิน 2 ปี) เริ่มเมื่อยล้าเบื่อหน่าย ต้องสร้างขวัญกำลังใจโดยการ
มีการเปลี่ยนหน้าที่การงานบ้างตามเหมาะสม
ส่งไปเรียนรู้สิ่งใหม่
ส่งไปดูงาน


การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning -AL)

การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning -AL) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการทำ OD (การพัฒนาองค์การ)วิธีการนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ การกระทำกับการเรียนรู้ ต้องเกิดควบคู่กันไป” เป็นการเรียนรู้ที่จากการปฏิบัติที่อาศัยประสบการณ์ ความรู้ มุมมองที่กลุ่มหรือบุคคลมี จากการซักถาม แลกเปลี่ยนความเห็น นำไปสู่ทางออกใหม่ๆที่แตกต่าง นำความรู้มาคิดใคร่ครวญแล้วแลกเปลี่ยนถ่ายทอดแก่กัน สร้างประโยชน์ให้กับตน ทีม และองค์การ การเรียนรู้นี้เกิดจากความสมัครใจขับเคลื่อนโดยผู้เรียนและกลุ่ม โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1.ปัญหา ต้องเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ คุ้มค่ากับเวลา เงิน ทรัพยากรที่ลงทุน

“Action Learning สร้างขึ้นจากปัญหา (โครงการ ความท้าทาย ประเด็นปัญหา หรือ งาน) ทางแก้ ซึ่งเป็นความสำคัญอย่างสูงต่อเอกัตบุคคล ทีม และหรือองค์การ ปัญหาควรเด่นชัด อยู่ในความรับผิดชอบของทีม และให้โอกาสแห่งการเรียนรู้ การเลือกปัญหาเป็นหลักเบื้องต้นของ Action Learning เนื่องจากเราเรียนรู้เมื่อแบกรับการกระทำบางอย่าง ซึ่งสามารถสะท้อนความคิดในการกระทำนั้นๆ ปัญหาให้กลุ่มได้เน้นบางอย่างที่เป็นจริงและสำคัญ นั่นก็คือตรงประเด็นและมีความหมายต่อกลุ่ม ปัญหาสร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ สร้าง “ตะขอ” ให้เกี่ยวความรู้ขึ้นมา”

2.กลุ่ม พนักงาน 4-8 คน ที่มาจากคนละส่วนงาน/ หน่วยงานภายในองค์การ ซึ่งควรมีทักษะฝีมือที่เสริมกัน เป็นผู้รู้ ผู้สนใจ มีอำนาจเกี่ยวข้อง ในประเด็นปัญหาที่กลุ่มสนใจเป็นหลัก

“หลัก ของ Action Learning คือ กลุ่มการเรียนรู้ กลุ่มประกอบด้วยคนสี่ถึงแปดคนที่มาร่วมกันสำรวจปัญหา ขององค์การทีมไม่อาจหาทางแก้ได้ง่ายนัก ในทางอุดมคติ การประกอบกันเข้าของกลุ่มหลากหลายมากแต่ขอให้มีทางให้เกิดมุมมองแตกต่างและ ได้รับจุดมองใหม่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของ Action Learning กลุ่มอาจประกอบด้วยคนที่มาจากต่างองค์การหรืออาชีพ เช่น ผู้ส่งมอบหรือลูกค้าของบริษัทก็ได้”

3.กระบวนการซักถามและสะท้อนมุมมอง ต้องคิดก่อนทำ ทำแล้วใคร่ครวญ วิเคราะห์หาความเป็นเหตุเป็นผล แนวทางแก้ไข

“กระบวนการตั้งคำถามและการไตร่ตรอง(สะท้อนความคิดและการฟัง) Reflective questioning and Listening) โดยการเน้นที่คำถามที่ถูกต้องมากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง Action Learning เน้นสิ่งที่คนไม่รู้ เท่ากับสิ่งที่ตนรู้ กระบวนการ Action Learning แก้ปัญหาด้วยการถามคำถามเป็นสิ่งแรก เพื่อให้เห็นลักษณะอย่างชัดเจนของปัญหา แล้วจึงสะท้อนความคิดหรือคิดไตร่ตรองแล้วระบุทางแก้ที่เป็นไปได้ก่อนที่จะลงมือกระทำการ”

4.แนวทางแก้ไข นำเอาคำแนะนำที่ได้รับไปปฏิบัติ ซึ่งแนวทางนั้นต้อง ถูกต้อง ประหยัด คุ้มค่า ดีกว่า เร็วกว่า

“พัฒนายุทธศาสตร์ของทางแก้สู่การกระทำ(Developingstrategiesandtakingaction)
สำหรับ ผู้ทุ่มเทให้กับ Action Learning การเรียนรู้ที่แท้จริงจะไม่เกิดเลยหากไม่ได้กระทำการ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าความคิดหรือแผนการจะทรงประสิทธิผลจนกระทั่วลงมือ ดำเนินการ ดังนั้น สมาชิกกลุ่ม Action Learning ต้องมีอำนาจในการลงมือกระทำการ หรือมั่นใจว่าข้อเสนอแนะของตนจะได้รับการดำเนินการ ฝ่าฟันกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญใดใดในสภาพแวดล้อม หรือฝ่าฟันกับการขาดสารสนเทศที่สำคัญของกลุ่ม การกระทำจะเพิ่มพูนการเรียนรู้เนื่องจากให้พื้นฐาน”

5.การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ คิดใคร่ครวญ ในการปฏิบัติต้องทำอย่างต่อเนื่อง จริงจัง ในทุกโอกาสที่เป็นไปได้

“ใน Action Learning การเรียนรู้สำคัญเท่าการปฏิบัติวางตำแหน่งใน Action Learning ในการเน้นที่การบรรลุผลงานเสมอกับการเรียนรู้ การพัฒนาเอกัตบุคคลเสมอการพัฒนาองค์การ Action Learning จะให้ทั้งการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ ให้การพัฒนาตนเองเท่ากับการพัฒนาองค์การ”

6.ผู้เอื้อประโยชน์หรือผู้อำนวยการกลุ่ม ทำหน้าที่เป็น Learning Coach คอยกระตุ้น วางแผน ควบคุม จัดการกับการแลกเปลี่ยนความคิด ผลักดันการปฏิบัติ แก้ไขความขัดแย้ง หาข้อสรุปของกลุ่ม

“การ อำนวยความสะดวกมีความสำคัญในการช่วยสมาชิกกลุ่มเดินขบวนการของตนช้าลง จะได้มีเวลาเพียงพอในการสะท้อนความคิดสิ่งที่กำลังเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวก (บางทีอาจเรียกว่าที่ปรึกษาเซท หรือ ผู้สอนงาน) หรืออาจเป็นสมาชิกกลุ่มทำงาน (มีความคุ้นเคยกับปัญหาที่อภิปรายกัน) หากเป็นผู้มาจากภายนอก (ไม่จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาของปัญหาที่เกิดขึ้นหรือบริบทขององค์การ แต่มีทักษะการอำนวยความสะดวกสำหรับ Action Learning)”
(ปรับปรุงจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=402835 )


-ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของ AL
1.ต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
2.ความสามารถในการคิดใคร่ครวญ
3.การมีทีมงานที่ดี
4.วัฒนธรรมองค์การที่เกื้อกูล
5.ผู้บริหารองค์การที่แสดงได้หลายบทบาท (ครู,ผู้นำทางอุดมการณ์)

-ประโยชน์ของ AL
1.พนักงานสามารถเรียนรู้และจัดการกับสถานการณ์ในการทำงานจริงได้
2.ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและการสื่อสารในทีม
3.เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถ่ายโอนทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
4.สร้างประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5.เอื้อต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง
6.เป็นเครื่องมือพัฒนาบุคคล ทีมงาน


-ข้อควรระวังในการทำ AL
1.วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบไทย(รอรับ-ชอบฟังแล้ววิจารณ์/ทำอะไรสั่งมาอย่าให้คิด)
2.นำเวลาการทำAL ไปพูดเรื่องอื่น
3.มุ่งผลงานมากไปไม่สนใจกระบวนการเรียนรู้
4.อ้างภาระมากเลิก AL กลางคัน

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก A-2009 H1N1

27 เม.ย. ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศต่างพากันรายงานว่าที่กรุงเม็กซิโก ซิตี เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ได้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ คือ ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 หรือที่เรียกว่าไข้หวัดหมู (Swine Flu) กำลัง ระบาดหนัก จนทำให้ขณะนี้มีต้องสงสัยติดเชื้อกว่า 2,500 ราย และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 168 ราย อีกทั้งเชื้อไข้หวัดดังกล่าวได้แพร่ระบาดไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างสหรัฐ อเมริกา และต่อมาพบผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อดังกล่าวในทวีปยุโรป รวมถึงในภูมิภาคเอเชียด้วย
ล่าสุดองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้องค์การอนามัยยังประกาศให้เรียกชื่อโรคนี้อย่างเป็นทางการว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดA H1N1 แทนการเรียกว่า ไข้หวัดหมู
เช่นเดียวกับที่ก่อนหน้านี้สหรัฐ เรียกไข้หวัดสายพันธุ์ดังกล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 เพื่อแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากหมู

รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก

ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้ มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย
โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ Antigenetic Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา

หมูไม่เกี่ยว

น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใหม่นี้ว่า แม้จะมีเชื้อตั้งต้นมาจากหมู แต่ระยะแพร่ระบาดคือ ติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ “ไข้หวัดนก” ที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-7 ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก

อาการ

ผู้ ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน ทั้งนี้อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะแสดงอาการไม่รุนแรง
ใน กรณีที่ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า
ส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดต่อ

การแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน คือ
1. แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน โดยที่เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัสร่างกาย เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา

การป้องกัน

1.ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันเวลาจาม
2.หมั่นล้างมือ
3.หากมีอาการ ไข้อย่างรุนแรง และไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด
4. หลีกเลี่ยงชุมชนแอดอัด และงดเดินทางไปในประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ


การรักษา

ในเอกสารเรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดชนิดนี้ ที่กงสุลใหญ่ ในนครลอสแองเจลิสของสหรัฐ แสดงข้อมูลที่ระบุว่า สามารถใช้ยาชนิดเดียวกับยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไปในการรักษาไข้หวัดชนิดเอ H1N1 ได้ คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือ ทามิฟลู (Tamiflu) และยา zanamivir ซึ่งเป็นยาชนิดพ่น แต่ทั้งนี้ยาดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้

ทั้งนี้มีรายงานระบุว่าในสหรัฐอเมริกา ผลการตรวจเชื้อไวรัสชนิดนี้พบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

อย่างไรก็ตาม WHO ออกมายอมรับว่า ยาทามิฟลูที่มีอยู่ในขณะนี้อาจไม่เพียงพอต่อการับมือกับการแพร่ระบาดที่อาจเพิ่มมากขึ้น

มาตรการรับมือ(ทั่วโลก)

ในกรุงเม็กซิโก ซิติ ประเทศเม็กซิโก ขณะ นี้รัฐบาลได้ประกาศให้ธุรกิจร้านค้าและบริการที่ไม่มีส่วนสำคัญและจำเป็นต่อ ระบบเศรษฐกิจและความปลอดภัยของสาธารณชนปิดดำเนินการชั่วคราวระหว่างวันที่ 1-5 พ.ค. เพื่อหวังหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม
ส่วนกระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโกได้มีการแจกจ่ายยาต้านไวรัสหลายล้านชุดไปตามโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว

ด้านสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เรียกร้องสภาคองเกรสให้จัดสรรงบประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์โดยเร่งด่วน เพื่อใช้ในปฏิบัติการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009
ขณะที่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างทวีปอเมริกา (ไอดีบี) ประกาศว่าจะอนุมัติเงินกู้ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (105,000 ล้านบาท) ให้กับเม็กซิโกเพื่อต่อสู้กับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 และวิกฤติเศรษฐกิจโลก

ส่วนกลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ ประกาศมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนี้ เช่น กระทรวงสาธารณสุขบราซิล ได้เพิ่มจุดตรวจเพื่อเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อเป็น 36 จุด จาก 20 จุด ขณะที่ตามสนามบินและท่าเรือมีการตรวจตราผู้โดยสารจากเม็กซิโก สหรัฐ และแคนาดา เป็นพิเศษ

ขณะที่รัฐบาลอียิปต์ แถลงว่า จะเริ่มฆ่าหมูทุกตัวในประเทศ ประมาณ 400,000 ตัว โดยให้เหตุผลว่าฟาร์มหมูในอียิปต์ไม่ถูกสุขอนามัย ซึ่งการประกาศดังกล่าว ทำให้องค์กรการอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ออกมาระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะโรคนี้ไม่ใช่ไข้หวัดหมู

สำหรับในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลประเทศต่างๆ ประกาศเตือนภัยระดับสูง โดยเฉพาะมาตรการตรวจคุมเข้มในภายในสนามบิน โดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ
ส่วนมาตรการการรักษาเบื้องต้นในหลายประเทศ มีการใช้มีการใช้ยาต้านไวรัส ทามิฟลู แก่ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ และปวดเมื่อยร่างกาย

สถานการณ์แพร่ระบาด

องค์การอนามัยโลก ได้เพิ่มระดับเตือนภัยการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นระดับ 5 ซึ่งเป็นขั้นที่ตรวจพบว่ามีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หรือการติดเชื้อข้ามประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยการเพิ่มระดับเตือนภัยในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากมีผู้เสียชีวิตที่รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นนอกประเทศเม็กซิโก

ส่วนในหลายประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ นิวซีแลนด์มีจำนวน 13 คน แคนาดา 19 คน อังกฤษ 5 คน สเปน 10 คน เยอรมนี 3 คน อิสราเอลและคอสตาริกาประเทศละ 2 คน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และเปรู ประเทศละ 1 คน สหรัฐฯ อย่างน้อย 91 คนไม่นับรวมผู้เสียชีวิต 1 คน ขณะที่เม็กซิโกซึ่งเป็นต้นตอการแพร่ระบาด พบผู้เสียชีวิตแล้ว 168 คน ไม่ยืนยันอีก 8 คน

สถานการณ์ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย
ซึ่ง วันที่1 พ.ค. 52 นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าที่ประชุมศูนย์บัญชาการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไข สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้สรุปใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009H1N1 และมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อให้ง่ายแก่การสื่อสารและสร้างความเข้าใจแก่สาธารณะ
นอกจากนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน +3 ในวันที่ 7-8 พ. ค.นี้ โดยมีหลักใหญ่เรื่องการหารือเกี่ยวกับกรอบแนวนโยบายในการควบคุมป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้ ทั้งนี้ปัจจุบันคาดว่าอาเซียนมีการสำรองยายาโอเซลทามิเวียร์ไว้ ที่ประเทศสิงคโปร์ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเม็ด
ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ในส่วนของไทยมีสต๊อกอยู่ประมาณ 5 ล้านเม็ด ขณะนี้กำลังให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านเม็ด เพื่อให้ได้ประมาณ 10 % ของประชากร
ส่วนนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสวุรรณภูมิ กล่าวถึงมาตราการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่เชื้อสายเม็กซิโก ว่า ท่าอากาศยานจะดูแลเรื่องการติดตั้งเครื่องเทอรโมสแกนเนอร์ สำหรับเที่ยวบินจากประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้น ประเทศไทยเองไม่มีเที่ยวบินตรงจากประเทศเม็กซิโก ดังนั้นมาตราการเฝ้าระวังของเราจะเน้นไปยังสายการบินที่บินมาจากเมืองต่างๆ ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดดังกล่าว แต่ก็มีการการคาดว่า อีกประมาณ 12 สัปดาห์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์นี้อาจมาถึงประเทศไทย ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นเพียงการคาดการณ์ไว้เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน เท่านั้น
ขณะ ที่ในวันที่ 1 พ.ค. เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แจกหน้ากากอนามัยให้กับผู้ขับแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก และผู้โดยสาร เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว

การประกันสังคมในประเทศไทย

ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน

ทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531
จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา

ประเทศ ไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

ประเภทของการประกันสังคม
ระบบประกันสังคมที่นานาประเทศถือเป็นหลักปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน จะมีประเภทของการประกันรวม 8 ประเภท คือ
การประกันการเจ็บป่วย
การประกันการคลอดบุตร
การประกันอุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน
การประกันทุพพลภาพ
การประกันชราภาพ
การประกันการสงเคราะห์ครอบครัว
การประกันการเสียชีวิต
การประกันการว่างงาน


หลักการ
การประกันสังคมที่ประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีหลักการที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริหารทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่ง ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว
การประกันสังคมที่ประเทศต่างๆใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีหลักการที่ไม่แตก ต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริหารทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่ง ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว
โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีรายได้ในสังคม ด้วยการออกเงินสมทบเข้ากองทุนเรียกว่ากองทุนประกันสังคมโดยมีนายจ้างลูกจ้าง และในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย

กองทุนนี้จะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดความเดือนร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น
การประกันสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน โดยมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน
โดยมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองความเป็นอยู่ของประชาชน ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต แม้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องขาดแคลนรายได้ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (1989) ได้กำหนดหลักการของการประกันสังคม ของการประกันสังคม ไว้ดังนี้
การประกันสังคมจะมีการบริหารทางการเงินโดยวิธีการจัดเก็บเงินสมทบ ซึ่งโดยปกติมักมาจาก การสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้รัฐจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบหรือเงินอุดหนุนอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ก็ได้
การเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันสังคมนั้นจะเป็นลักษณะของการบังคับซึ่งมีข้อยกเว้นน้อยมาก
เงินสมทบที่จ่ายมานั้นจะจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษ ซึ่งต้องนำไปจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด และนำไปใช้ในการบริหาร
ส่วนเกินของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนขึ้นอยู่กับการได้จ่ายเงิน สมทบ ที่เป็นไปตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบความจำเป็น หรือการตรวจสอบรายได้แต่อย่างใด
อัตราเงินสมทบและอัตราประโยชน์ทดแทนจะมีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ประกันตน
การประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน
โดยทั่วไปจะมาจากการสนับสนุนทางการเงินจากนายจ้างแต่เพียงผู้เดียว โดยอาจมีรัฐช่วยจ่ายเงินอุดหนุน
การประกันสังคมเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลของประเทศต่างๆในโลกส่วนใหญ่นำ ระบบประกันสังคมไปใช้ ในการให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนของตนตั้งแต่เกิดจนตาย

หลักประกันประกันสังคมมีคุณลักษณะ ดังนี้
เป็น ระบบของการเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกันระหว่างมวลสมาชิก ซึ่งโดยทั่วไปรัฐบาลของทุกประเทศจะให้ความสำคัญแก่บุคคลที่ทำงานมีรายได้และ อยู่ในระบบแรงงานก่อนและจะขยายความคุ้มครองไปสู่ผู้ทำงานที่มีรายได้นอกระบบ การจ้างงานปกติ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าแรงงานนอกระบบ
เงินสมทบที่เก็บไปนั้นจะสะสมเป็นกองทุนซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์เฉพาะกับบุคคลที่ส่งเงินสมทบ ซึ่งประเทศไทยเรียกว่า ผู้ประกันตนเท่านั้น
การ เก็บเงินสมทบ ซึ่งถือว่าเป็นภาษีพิเศษ ซึ่งจะเก็บจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ความสำเร็จประการหนึ่งของการประกันสังคม ก็คือเป้าหมายหลักที่จะทำให้การประกันสังคมสามารถครอบคลุมทุกตัวบุคคลของ ประชาชนในชาติ (Universal Coverage) ได้ในอนาคต
อนุสัญญาที่ 102 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ กำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของการประกันสังคมไว้ 9 ประการ คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์ครอบครัว กรณีชราภาพ กรณีว่างงาน การดูแลผู้ที่ขาดการอุปการะ และกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน
สำหรับประเทศไทยได้จัดการดำเนินการระบบประกันสังคมเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน


http://www.sso.go.th/headline/list/240


ข้อเสนอเพื่อสร้างหลักประกันสำหรับแรงงานนอกระบบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
โดย : ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ(25/04/2009 01:53 PM)
23 เมษายน 2552
เรื่อง ข้อเสนอเพื่อสร้างหลักประกันสำหรับแรงงานนอกระบบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

กราบเรียน พณฯนายกรัฐมนตรี

เครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ ประกอบด้วยกลุ่ม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกษตรกรพันธสัญญาและแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร พนักงานในสถานบริการ กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้าง กลุ่มแรงงานคุ้ยขยะและซาเล้ง หาบเร่แผงลอย และกลุ่มขับรถแท็กซี่ ซึ่งทำงานเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวในลักษณะแตกต่างกันโดยไม่มีนายจ้างหรือ มีนายจ้าง ก็ถูกยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายประกันสังคมของรัฐบาล ทำให้ขาดหลักประกันรายได้ทั้งขณะทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานเข้าสู่วัยชรา แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายการขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แต่ยังไม่มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของ แรงงานนอกระบบโดยรวม นอกจากนี้แรงงานนอกระบบไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมาตรการการแก้ไขปัญหาวิกฤต เศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาณสมทบให้แก่แรงงาน ที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมซึ่งไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทั้งที่เสริม สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและสอดคล้องกับมาตรา 44 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ เครือข่ายแรงงานนอกระบบมีข้อเสนอต่อนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐบาลดังนี้
เร่งพัฒนามาตรา ๔๐ และพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องแห่งพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ตามมติของคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรา ๔๐ฯ ด่วนที่สุดพร้อมกับเร่งผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาเห็นชอบ ในการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไขนี้ ที่มีสาระในมาตรา ๔๐ ว่า
"...ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน..."
ให้มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ดังนี้ คือ การจ่ายสมทบปีละ 3,360 บาทต่อปีหรือ 280 บาทต่อเดือน โดยได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองเพิ่มเป็น 5 ประการ คือ
1) กรณีเจ็บป่วย
- ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เนื่องจากการเจ็บป่วย (เฉพาะผู้ป่วยใน) ครั้งละ 1,000 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- บริการทางการแพทย์ บริการคลอดบุตรและทันตกรรมยังคงใช้สิทธิโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเหมือนเดิม
2) กรณีทุพพลภาพ - ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท เป็น เวลา 15 ปี โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 เดือน (3 ปี)
3) กรณีคลอดบุตร - ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์การคลอดบุตร 3,000 บาท คนละ 1 ครั้ง โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน
4) กรณีเสียชีวิต - ทายาทผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพเหมาจ่ายเป็นเงิน 30,000 บาท โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5) กรณีชราภาพ - กองทุนประกันสังคมจะกันวงเงินปีละ 1,855 บาท (จากเงินสมทบปีละ 3,360 บาท) เก็บสะสมไว้เป็นเงินออมเพื่อผู้ประกันตนจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เมื่อมีอายุครบ 55 ปี (หมาย เหตุ สิทธิประโยชน์ที่กำหนดตามมาตรา 40 (ใหม่) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการปรับปรุงกฎหมายของคณะกรรมการประกันสังคมและสำนักงานประกัน สังคม)
เสนอให้รัฐบาลประเดิมจ่ายเงินจำนวน 2,000 บาท สำหรับปีแรกและร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแรงงานนอกระบบตามอัตรา กำหนดที่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายในปีต่อ ๆ ไปเพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรมเช่นเดียวกับที่แรงงานในระบบที่รัฐบาล ร่วมจ่ายเงินสมทบและมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยเหลือค่าครอง ชีพแก่แรงงานในระบบ
หากรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะร่วมกันสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 24 ล้านคนอย่างจริงจังต่อเนื่อง เครือข่ายแรงงานนอกระบบขอเรียกร้องให้ รัฐบาลโปรดดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง


( นายสมคิด ด้วงเงิน )
ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ
เลขที่ 1071 หมู่บ้านรามอินทรานิเวศน์ ซอยรามอินทรา 67 ถนนรามอินทรา
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์/โทรสาร 02-9458485

ประวัติวันแรงงาน

ในต่างประเทศมี วันแรงงานมาช้านานแล้ว หลายประเทศกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม หรือ "May Day" เป็นวันแรงงาน แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ถือวันอื่นเป็นวันแรงงาน แต่โบราณในยุโรปถือว่า วันเมย์เดย์ เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใหม่ในทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงในพิธีการนำเอาต้นไม้มาตกแต่งประดับให้สวยงาม และสมมติคนหรือตุ๊กตาให้เป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรขึ้น เพื่อทำการบวงสรวงบนบานขอให้ปลูกพืชได้ผลดี ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทางภาคเหนือของยุโรปมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ประเพณีนี้ยังสืบทอดปฏิบัติต่อมาในชนบทของเกาะอังกฤษจนกระทั่งทุกวันนี้
จาก การที่มีวันเมย์เดย์เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดงานของคนทำงาน วันหยุดตามประเพณีของแรงงานทั่วไป วันฉลองและวันรื่นเริงของผู้ใช้แรงงาน ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ครั้น ปี ค.ศ.1890 (พ.ศ. 2433 )จึงมีการเรียกร้องในหลายประเทศในทางตะวันตก ให้ถือวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ซึ่งประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานกันในวันที่ 1 พฤษภาคม และดำเนินสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยในประเทศอังกฤษ มีการฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1892 (พ.ศ.2435) โดยถือเอาวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันแรงงาน และมักจะมีการชุมนุมกันที่ไฮด์ปาร์ค ในกรุงลอนดอน
วัตถุประสงค์ของวันแรงงานที่นานาประเทศกำหนดขึ้น ก็เพื่อเป็นวันเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่ เศรษฐกิจของประเทศ ความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกวันนี้ ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสร้างขึ้นทั้งสิ้น จึงได้ควรมีการระลึกถึงและตระหนักในความสำคัญของแรงงานพอสมควร วันแรงงานถือเป็นเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะ การฉลองวันแรงงานทั่วๆ ไปจะไม่นิยมแสดงออกทางการเมือง

สำหรับ ในประเทศไทย เมื่อระหว่าง พ.ศ.2496-2499 (ค.ศ.1953 - 1956) มีการตื่นตัวในเรื่องการก่อตั้งองค์การลูกจ้าง ขณะนั้นกฏหมายแรงงานยังไม่มี จึงตั้งขึ้นในนามของสมาคมกรรมกรไทยและสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย กรรมการและผู้แทนของสมาคมเหล่านี้ มีโอกาสประชุมกิจกรรมด้านแรงงานในต่างประเทศ และได้ความรู้ว่าหลายประเทศถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมเป็น "วันแรงงาน" ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกวันแรงงานได้จัดให้มีการประชุมขึ้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกแรงงานในประเทศไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการรับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกของแรงงาน ดังนั้น ในวันที่ 30 เมษายน 2499 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ.2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานประจำปีในวันกรรมกรแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม

พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีอายุได้ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป จึงมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เข้ามาแทนที่ โดยให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดเรื่องการคุ้มครอง แรงงาน และกำหนดวันกรรมกรเป็นวันหยุดตามประเพณีเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นผันแปรเป็นช่วงๆ ไป จึงมีคำชี้แจงจากกระทรวงออกมาแต่ละปีเตือนให้นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวัน ที่ 1 พฤษภาคม แต่ขอร้องมิให้มีการเฉลิมฉลอง ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จนกระทั่ง พ.ศ.2517 ทางการเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เริ่มจัดการฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ซึ่งมีการทำบุญตักบาตรตามประเพณีไทย มีนิทรรศการแสดงความรู้และกิจกรรมของแรงงาน มีการอภิปราย มีการละเล่นต่างๆ และนายกรัฐมนตรีกล่าวคำปราศรัยแก่พี่น้องชาวแรงงานทั่วราชอาณาจักร

การ บริหารแรงงานแต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมารัฐบาล เล็งเห็นว่า ควรจะได้มีการยกระดับหน่วยงานบริหารด้านแรงงานให้มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ อย่างเพียงพอ เพื่อการคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำและด้อยโอกาสในสังคม ดังนั้นในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงได้มีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารแรงงานได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ และปรับโครงสร้างมาเป็น "กระทรวงแรงงาน" ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2545


http://www.hrmthai.com/modules.php?name=News&file=print&sid=33