วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแล้วถึง 2 ล็อตใหญ่

ได้แก่ มาตรการในการกระตุ้นการบริโภค และมาตรการด้านภาษี วงเงินรวมกว่า 155,000 ล้านบาท
โดยในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2552 รัฐบาลได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 มาตรการ ด้วยงบประมาณกลางปี 115,000 ล้านบาท ภายใต้ 4 แผนงานคือ แผนงานฟื้นฟูและสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ แผนงานส่งเสริมสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงด้านสังคม แผนงานรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และรายจ่ายชดเชยเงินคงคลัง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2552 คณะมนตรียังมีมติ 7 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้เกือบ 40,000 ล้านบาท รวมเป็น 25 มาตรการ ประกอบด้วย


1. โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,999 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียวเมื่องบประมาณผ่านสภา เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 8 ล้านคน และข้าราชการ 1.45 ล้านคน

2. โครงการช่วยเหลือคนตกงาน โดยการจัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เป็นเวลา 6 เดือน ขณะ อบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณ 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี 2553 ให้ครบ 500,000 คน

3. โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปีตั้งแต่อนุบาล-ม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา ใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียน

4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท

5. ต่ออายุโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ ที่จะต่ออายุออกไปอีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ. เมตร และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย ใช้งบ 11,409.2 ล้านบาท

6. โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา โดยช่วยเหลือคนชราอายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน ใช้งบ ประมาณ 9,000 ล้านบาท

7. ช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท

8. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท

9. โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กม. 1,500 ล้านบาท

10. โครงการจำหน่วยสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนไม่ เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งโครงการธงฟ้าลดค่าครอง ชีพวงเงิน 1,000 ล้านบาท

11. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท วงเงิน 1,095.8 ล้านบาท

12. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับช้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท เป็นเงิน 1,808.8 ล้านบาท

13. โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท

14. โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท

15. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท

16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท

17. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท สุดท้าย

18. เป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อง่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน ซึ่งกรณีนี้เป็นรายการแถมที่ไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

19.มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในปี 2552 นำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยเงินกู้หักลดหย่อนอีก 100,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท และต่ออายุค่าธรรมเนียมการโอนธุรกิจเฉพาะและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถึงเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากต้องการให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านในปี 2552 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบมากขึ้น และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการซื้อขายบ้านใหม่ 100,000 หน่วย โดยรัฐสูญรายได้จากมาตรการนี้ ค่าธรรมเนียมการโอน ธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 30,000 ล้านบาท และภาษีอากรรายได้บุคคลธรรมดา 6,500 ล้านบาท

20.ภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีร้อยละ0.5 จากเดิม 60,000 บาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนและเอสเอ็มอี เท่ากับเป็นการยกเว้นภาษีจาก 300 บาท/ปี เป็นกว่า 5,000 บาท/ปี ครอบคลุมเอสเอ็มอี 97,000 ราย โดยคาดรัฐสูญเสียรายได้ 1,400 ล้านบาท

21.การช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มวงเงินรายได้ยกเว้นภาษีจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท/ปี ให้เฉพาะปีภาษี 52-53 เท่านั้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 58,000 แห่ง คาดว่ารัฐสูญรายได้ 200 ล้านบาท

22.มาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยว โดยให้บริษัทห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ สามารถนำรายได้จากการสัมมนาค่าฝึกอบรมไปคำนวณหักภาษี 2 เท่าของที่จ่ายจริง ใช้สำหรับรอบบัญชีปี 52 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับโรงแรมร้านค้า บริษัททัวร์ โดยคาดว่าภาครัฐสูญรายได้ 1,800 ล้านบาท

23.มาตรการเงินร่วมลงทุน เพื่อเป็นการช่วยเหลือกองทุนร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล ฟันด์) สำหรับนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ด้านภาษี จากกำหนดเวลาได้ประโยชน์ในสิ้นปี 51 ขยายเป็นสิ้นปี 54 โดยยกเลิกเงื่อนไขที่บริษัทร่วมลงทุนต้องลงทุนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนในปีแรก และยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผลประโยชน์ของการโอนหุ้นของเอสเอ็มอี เพื่อให้เป็นแหล่งทุนระยะยาวของเอสเอ็มอี และสนับสนุนให้กระจายหุ้นในตลาดหลัดทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

24.มาตรการทางภาษีสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้า หนี้อื่น โดยเจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ดังกล่าวมาลดหย่อน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์การขายสินค้า และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้ไปชำระแก่เจ้าหนี้ จากการโอนสินทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนอง เป็นหลักประกันการกู้ให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้รองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

25. มาตรการเกี่ยวกับการโอนกิจการบางส่วนด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์ และนิติกรรม กรมที่ดินที่เกิดจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท มหาชนหรือบริษัทจำกัด โดยต้องโอนให้เสร็จภายในสิ้นปี 52 ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย

งบประมาณกลางปี 52

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท โดยมีโครงการสำคัญ ดังนี้

1.โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาฟรี 15 ปี วงเงิน 19,000 ล้านบาท
2.โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ วงเงิน 18,970.324 ล้านบาท
3.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ไม่รวมกับงบเอสเอ็มแอลเดิมกว่า 5 หมื่นล้านบาท ที่จะออกเร็วๆนี้ และงบที่เหลืออีก 6 พันล้านบาท)วงเงิน 15,200 ล้านบาท
4.โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน วงเงิน 11,409.13 ล้านบาท โดยรายละเอียดทั้งหมดจะสรุป 20 ม.ค.นี้ เบื้องต้น ค่าน้ำจะช่วยเหลือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 30 ลบ.เมตรต่อเดือน ค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน รถเมล์ รถไฟยังเหมือนเดิม
5.โครงการหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ วงเงินไม่เกิน 9,000 ล้านบาท
6.โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสังคมในชุมชน วงเงิน 6,900 ล้านบาท ได้อนุมัติงบกลางปีฉุกเฉิน 120 ล้านบาท เพื่อเริ่มนำร่องในระยะแรก
7.โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลข อสม.ขณะนี้มีประมาณ 8 แสนคน
8.โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร วงเงิน 2,000 ล้านบาท
9.โครงการก่อสร้างภายในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน (โครงการถนนไร้ฝุ่น) วงเงิน 1,500 ล้านบาท
10.โครงการด้านพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน วงเงิน 1,000 ล้านบาท
11.โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยว วงเงิน 1,000 ล้านบาท
12.โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการจัดการน้ำ วงเงิน 760 ล้านบาท
13.โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและเอสเอ็มอี วงเงิน 500 ล้านบาท
14.โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ วงเงิน 325 ล้านบาท
15.โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน วงเงิน 1,808 ล้านบาท
16.โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย วงเงิน 1,095 ล้านบาท
17.เงินสำรองจ่ายฉุกเฉิน วงเงิน 4,091.49 ล้านบาท
18.การตั้งงบรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง วงเงิน 19,139.48 ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นานาทัศนะ กับ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ วิกฤติการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจจะมีผลกระทบต่อ "วิกฤติสังคม"

ในปี พ.ศ. 2552 นั้น วิกฤติการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจจะมีผลกระทบต่อ "วิกฤติสังคม" เกิดขึ้น ถ้าประชาชนประสบวิกฤติเศรษฐกิจมากอาจเกิดปัญหาสังคมตามมา ปัญหาปากท้องอาจเกิดการปล้นจี้อาชญากรรมได้

รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหา

1. ต้องสร้างการเมืองให้มีเสถียรภาพ ต้องไม่เป็นตัวขยายความขัดแย้งทางสังคม ไม่ขยายความขัดแย้งทางการเมือง หรือแบ่งฝ่ายอย่าขยายผล

2. มีการดำเนินการตามหลักนิติธรรม ให้เกิดความเชื่อถือโปร่งใส ด้านกฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบกฎหมายของ ประเทศ

3.รัฐบาลต้องเร่งรัดการแก้ไข "ปัญหาเรื่องปากท้อง" ที่เกิดจากผลกระทบของวิกฤติโลกโดยเฉพาะเรื่องการว่างงาน ต้องใช้เงินในงบประมาณและนอกงบประมาณมากระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับการสร้างงาน ให้ได้ ต้องดูแลปัญหาเกษตรกรอย่างใกล้ชิด คาดว่าปี 2552 ราคาพืชผลทางการเกษตรจะตกต่ำ เกษตรกรจะรับความเดือดร้อนมาก รัฐบาลจะต้องทำงานหนักให้คนจนเมืองและชนบทมีความหวัง

ต้องดูแลทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องขจัดปัญหาเร่งด่วนให้รักษาขีดความสามารถการแข่งขัน ถ้าปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้รัฐบาลก็จะผ่านไปได้ ถ้าผ่านไม่ได้ รัฐบาลคงต้องเลือกยุบสภา

ปัญหาด้านการเมืองอาจมีการก่อกวนจากกลุ่มต่อต้าน "คนเสื้อแดง" ที่ออกมาประกาศว่าจะชุมนุมจนกว่าจะมีการยุบสภา รัฐบาลจะต้องไม่ตกหลุมพราง โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีต้องไม่จมปลักอยู่กับปัญหานี้ ควรมอบหมายหน้าที่ให้กับรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งดูแลทางการเมืองโดยตรงและให้ นายกรัฐมนตรีมีเวลาคิดแก้ไขปัญหาทางด้านอื่นๆ

กรณีที่พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดงตั้งป้อมต่อต้านนี้ อาจมีความเป็นไปได้ที่อดีตนายกฯทักษิณต้องการให้เกิดการยุบสภาให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะกลับมาสนับสนุนให้กลุ่มเหล่านี้กลับเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลใหม่

ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นโอกาสของ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่ ว่างเว้นการเป็นรัฐบาลมาถึง 8 ปี ต้องใช้ประโยชน์จากการเป็นรัฐบาลและแก้ไขปัญหาให้ได้ มิฉะนั้นจะเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพรรค โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ที่เป็นนายกรัฐมนตรีคนรุ่นใหม่ถ้าต้องล้มเหลวกับการ เป็นนายกฯคงลำบาก จึงต้องพยายามเพิ่มศักยภาพและเพิ่มความหวังให้ประชาชน

ส่วนตัวแปรทางการเมืองที่จะทำให้พลิกผันนั้นอยู่ที่ "พรรคร่วมรัฐบาล" ที่ อาจจะมีปัญหาในการปฏิบัติงานอาจจะปฏิบัติอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และในฐานะนายกฯนายอภิสิทธิ์มีประวัติของความซื่อสัตย์สุจริตเป็นนักการเมือง ที่สะอาด จะเกิดความสงสัยว่าจะสามารถดูแลให้คนอื่นทำงานด้วยความสุจริตได้มากน้อย เพียงใด

http://www.innnews.co.th/sombat.php?nid=150889

ครม.ไฟเขียวคลังกู้ 2.7 แสนล้าน กรณ์ หวังอุ้ม รสก. สบน.ชี้สิ้นปีหนี้สาธารณะทะลุ3.9ล้านล้าน

ครม.มีมติอนุมัติคลังกู้2.7แสนล้าน ให้รสก.-สถาบันการเงินรัฐกู้ในประเทศระยะสั้นป้องกันความเสี่ยงจากตลาดเงิน "กรณ์"รับกู้ตปท.เหตุกลัววิกฤตลาม สบน.ชี้สิ้นปีหนี้สาธารณะทะลุ3.9ล้านล้าน แต่ถ้าศก.ไม่โตอาจพุ่งสูงกว่านั้น ที่ปรึกษารองนายกฯเผยสมทบ หัวละ 5พันบาท สกัดเลิกจ้างยังไม่ได้ข้อสรุป
"กรณ์"อ้างผลดีครม.อนุมัติกู้2แสนล้าน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงการคลัง ในการจัดตั้งเงินกู้ Short term facility วงเงินไม่เกิน 2 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐวิสาหกิจ(รสก.) และสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ รองรับการหมุนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่แล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นหนี้ใหม่ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินแบบเต็มจำนวนหรือแบบบางส่วนเพื่อลดสัดส่วนการค้ำประกันและทำให้อยู่ในกรอบเพดานแต่ละปี

“ตลาดเงินขณะนี้ค่อนข้างจะผันผวนจนอาจกระทบต่อสถานะการเงินและต้นทุนทางการเงินของรัฐวิสาหกิจได้ การมีวงเงินกู้นี้ไว้จะทำให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงของสภาวะตลาดเงินที่เกิดขึ้น โดยเมื่อมีความต้องการใช้ก็สามารถเดินเข้ามาขอเงินกู้ผ่านกระทรวงการคลังซึ่งจะพิจารณาให้ได้ทันที โดยจะอยู่ในรูป Bridge Finance ที่จะเป็นเงินกู้ที่ให้ในระยะสั้นระหว่างการรอเงินกู้ระยะยาวที่จำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการขอเงินกู้ ซึ่งอาจจะไม่ทันกับความต้องการของรัฐวิสาหกิจ” นายกรณ์ กล่าว

รับกู้ตปท.เหตุกลัววิกฤตศก.ลาม

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบกรอบเงินกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน 70,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะขอกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารโลก 500 ล้านเหรียญ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) 1,000 ล้านเหรียญ ทั้งนี้ วงเงินจำนวนดังกล่าวจะเป็นวงเงินที่นำไปใช้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงินรัฐ ด้วยการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้สามารถมีเม็ดเงินเพียงพอที่จะปล่อยกู้ หรือค้ำประกัน ให้กับผู้ประกอบการที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

“เม็ดเงินส่วนนี้ยังเป็นเพียงการอนุมัติในกรอบ เพราะต้องรอให้เรื่องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน และระหว่างนี้กระทรวงการคลังได้เตรียมกรอบการใช้เม็ดเงินดังกล่าว โดยจะตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ มีนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน” นายกรณ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุที่รัฐบาลต้องกู้เงินต่างประเทศอีก 70,000 ล้านบาท เนื่องจากกังวลว่าปัญหาเศรษฐกิจจะลุกลามใช่หรือไม่ นายกรณ์กล่าวว่า ยอมรับว่ามีความกลัว โดยเงินดังกล่าวจะสำรองไว้ใช้ในช่วงรอยต่อของการใช้งบกลางปีแสนล้านบาทและงบประมาณปี 2553

เผยทำให้ภาระหนี้ของปท.เพิ่มขึ้น

ส่วนกรณีที่มีนักวิชาการออกมาระบุว่าการที่รัฐบาลอนุมัติวงเงินกู้ 270,000 ล้านบาท จะทำให้ภาระหนี้ของประเทศเพิ่มขึ้น และไม่มีประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจ นายกรณ์ กล่าวยอมรับว่า การกู้เงินครั้งนี้ทำให้ภาระหนี้ของประเทศเพิ่มขึ้น แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เนื่องจากการก่อหนี้สาธารณะตามกรอบงบประมาณประจำปี 2552 สามารถทำได้ถึง 440,000 ล้านบาท ขณะนี้รัฐบาลใช้ไป 350,000 ล้านบาท แสดงว่าหนี้สาธารณะยังไม่เต็มเพดาน คือเหลืออีก 90,000 ล้านบาท ส่วนการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐบาลตามกรอบงบประมาณประจำปี 2552 สามารถทำได้ถึง 20% ของวงเงินรายจ่ายงบประมาณประจำปี โดยขณะนี้ใช้ไปแล้วประมาณ 16-17% รัฐบาลยังสามารถค้ำประกันได้อีก 4% คิดเป็น 15,000 ล้านบาท ขณะที่การกู้เงินจากต่างประเทศ กรอบงบประมาณประจำปี 2552 กำหนดไว้ว่าสามารถทำได้ 10% ของงบรายจ่ายประจำปี คิดเป็น 180,000 ล้านบาท ปัจจุบันใช้ไปแล้ว 30,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับเม็ดเงินกู้ต่างประเทศที่ ครม.อนุมัติในครั้งนี้จำนวน 70,000 ล้านบาท เท่ากับว่ารัฐใช้ไปแล้ว 1 แสนล้านบาท จึงมีเม็ดเงินเหลือที่จะดำเนินการได้อีกประมาณ 80,000 ล้านบาท

“ปี 2553 มีแนวโน้มเป็นงบประมาณขาดดุล ซึ่งหนี้สาธารณะจะปรับเพิ่มเป็น 41-42% ต่อจีดีพี และหลังปี 2553 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก แต่ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะหากเศรษฐกิจดีขึ้น รายได้ประชาชนมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็จะทำให้รัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากขึ้นด้วย” นายกรณ์ กล่าว

ปัดมีปัญหาความมั่นคงทางการเงิน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าต้องแยกเป็นสองส่วน ส่วนแรก 70,000 ล้านบาท เป็นการเตรียมแหล่งเงินทุนไว้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งต้องมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย ไม่ได้แปลว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางการเงิน เพราะทุนสำรองของประเทศอยู่ในระดับที่สูงมาก แต่รัฐบาลไม่ประมาท เพราะอนาคตจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้อาจหามาไม่ทัน เพราะต้องมีการเสนอเข้าสู่สภาถึง 2 รอบ รอบแรกคือให้อนุมัติกรอบ รอบสองคือต้องให้อนุมติก่อนลงนามในสัญญาการกู้เงิน ขณะที่ก้อนที่สอง 200,000 ล้านบาท เป็นเรื่องทางเทคนิค เพื่อช่วยเหลือรัฐวิสาหกิจที่หนี้เก่ากำลังจะหมด และต้องไปกู้เงินต่อ แต่เงื่อนไขที่จะไปกู้ต่อเป็นเงื่อนไขที่ไม่ดี เนื่องจากตลาดเงินและตลาดทุนมีความผันผวนมาก อยากจะรอตลาด ก็จำเป็นต้องมีเงินอีกจำนวนหนึ่งเพื่อส่งต่อไป การเปิดเงินตรงนี้เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้ของรัฐวิสาหกิจมีต้นทุนและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมายเพื่อให้สามารถกู้เงินได้

ส่วนมาตรการประชานิยมของรัฐบาลที่กำลังถูกวิจารณ์นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการระยะสั้น ที่จำเป็นใช้ในการรักษากำลังซื้อ ซึ่งจากที่ไปประชุมมาก็พบว่าทุกประเทศก็พยายามรักษากำลังซื้อให้มากที่สุด แต่มาตรการที่จะตามออกมาเป็นชุดที่สองและสาม จะต้องเข้าสู่แนวทางอื่น

ปฎิเสธใช้ทุนสำรอง-โบ้ยคลัง-ธปท.คิด

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่เงินเฟ้อเดินล่าสุดติดลบจะเป็นปัญหาต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลก็ต้องดูไม่ให้เกิดปัญหาเงินฝืด แต่ส่วนตัวเห็นว่าตัวเลขที่เห็นว่าเงินเฟ้อลดลงอาจเพราะนำไปเปรียบเทียบกับช่วงที่ราคาน้ำมันขึ้นสูงมาก

สำหรับเรื่องที่ รัฐบาลถูกโจมตีไม่ส่งเสริมการออม นายกฯกล่าวว่า ระยะแรกต้องรักษาระดับการใช้จ่ายก่อน ไม่เช่นนั้นรายได้ทุกคนจะลดลง ส่วนการออมเป็นระยะต่อไป เมื่อถามว่าที่ผ่านมารัฐบาล ไม่เคยบริหารงานมากขนาดนี้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมาก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวพร้อมหัวเราะว่า “คงไม่มีใครเคยมีประสบการณ์บริหารเงินมากขนาดนี้เพราะจำนวนเงินจะมากขึ้นเรื่อยๆ”

นายกฯกล่าวกรณี ภาคธุรกิจเอกชนเสนอให้นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจว่า ขณะนี้กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำอย่างนั้น และเรื่องนี้อาจทำให้เกิดความสับสนและขัดแย้งตามมา แต่สิ่งหนึ่งที่เคยพูดไปคือหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพํมนาระบบสถาบันการเงิน ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะมีวิธีการบริหารที่เป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ แทนที่จะใช้เงิน 7-8 หมื่นล้านบาทต่อปีในการชำระคืนดอกเบี้ย แต่เข้าใจว่า เรื่องนี้ธปท.และกระทรวงการคลังคงคิดกันมาหลายรอบ

นายอภิสิทธิ์ ยังยอมรับว่ามาตรการ 99 วันที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยประกาศไว้มีบางส่วนทำไม่ได้ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาภาคใต้ แต่ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีขึ้นมาก่อน และให้เวลาทบทวนการประกาศใช้กฎอัยการศึกและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว แต่ส่วนใหญ่ได้ทำไปแล้ว เช่น เรียนฟรี เบี้ยยังชีพ และเงินอสม.

สบน.ชี้สิ้นปีหนี้สาธารณะทะลุ3.9ล้านล้าน

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน.ประเมินไว้เบื้องต้นคาดว่าปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3% และ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 หนี้สาธารณะจะเพิ่มจาก 3.4 ล้านล้านบาท เป็น 3.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41-42% ของจีดีพี แต่ในกรณีที่เศรษฐกิจไม่โต และอัตราเงินเฟ้อติดลบ จะทำให้หนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 43-44% ต่อจีดีพี ทั้งนี้ สบน. กำลังรอการตัดสินใจของนายกรณ์ที่จะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายหนี้ ว่าจะต้องปรับเพิ่มแผนการก่อหนี้ที่ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 1.2 ล้านล้านบาทหรือไม่

นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ส่วนวงเงินกู้ 200,000 ล้านบาท สบน.จะคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 0-0.5% ของวงเงินกู้ เพื่อทำให้รัฐวิสาหกิจมีวินัยในการดำเนินการทางการเงินให้มากขึ้น และกำหนดระยะเวลาคืนเงินกู้ 18 เดือน เพื่อให้เวลารัฐวิสาหกิจสามารถหาเม็ดเงินมาคืนได้ทัน เบื้องต้นคาดว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาขอใช้วงเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าวน่าจะเป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนดอกเบี้ยในโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร 1.1 แสนล้านบาท ถึง 4.95% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก

ประเมินรายได้ปี53Ž1.521ล้านล้าน

นายบัณฑูร สุภัควนิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ที่ประชุมครม.ไม่มีการหารือหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินคงคลังที่เหลืออยู่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ส่วนกรณีการตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลนำเงิน 2,000 บาทแจกประชาชนจะขัดรัฐธรรมนูญว่า ยืนยันว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการตั้งงบประมาณส่วนนี้เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งมีการระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ชัดเจน และที่สำคัญเป็นการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ สำหรับประมาณการรายได้ของรัฐบาลปี 2553 สำนักงบประมาณได้ประมาณที่ 1.521 ล้านล้านบาท หลังจากรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ถือเป็นตัวเลขที่เป็นทางการ ต้องผ่านการพิจารณาร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง คือ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และสำนักงบประมาณ

ยังต้องถกต่อเรื่องสมทบสกัดเลิกจ้าง

นายกนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องการฝึกอบรมแรงงาน ของคณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่รัฐบาลจะขยายกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปยังกลุ่มแรงงานในภาคธุรกิจเอกชน โดยภาครัฐจะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าแรงงานให้ผู้ประกอบการ เพื่อแลกกับการไม่ปลดคนงานออกว่า มาจากข้อเสนอของผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งหลังจากนี้จะมีการลงนามแต่งตั้งให้ตนเป็นคณะอนุกรรมการเพื่อดูแลเรื่องการฝึกอบรม และหลังจากนั้นภายใน 1-2 วันจะเรียกประชุมโดยจะเชิญตัวแทนภาคเอกชน เช่น หอการค้าไทย ร่วมด้วย

นายกนก กล่าวว่า โครงการนี้ได้กำหนดเกณฑ์เบื้องต้นคือผู้เข้ารับการอบรมจะได้ค่าเบี้ยเลี้ยงอัตราเฉลี่ยรายละ 4,800 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของอาชีพ หากเป็นอาชีพยากจะได้สูงกว่า แต่หากเป็นอาชีพที่ง่ายจะได้น้อยกว่า 4,800 บาท กำหนดจ่ายให้ในช่วงเวลาระหว่างฝึกอบรม 1 เดือน และอีก 3 เดือนในช่วงระหว่างรองาน นอกจากนี้ รัฐบาลจะจ่ายเงินให้หน่วยงานที่เข้ามาช่วยฝึกอบรมในอัตราหัวละประมาณ 5,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายและค่าวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม

“โครงการนี้ได้ข้อยุติว่าจะนำไปใช้ในส่วนของการฝึกอบรมกลุ่มผู้ว่างงานที่แสดงความจำนงจะกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนา กับกลุ่มนักศึกษาที่จบใหม่ ส่วนของการฝึกอบรมแรงงานภาคธุรกิจ คณะอนุฯจะต้องหารือกันก่อน" นายกนกระบุ

ของบเพิ่มรองรับขยายเป้าหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกอร์ปศักดิ์ระบุว่าจะให้สถานประกอบการเดิมทำหน้าที่ฝึกอบรม หากยึดตามเกณฑ์จ่ายเงินดังกล่าว เท่ากับรัฐบาลจ่ายสองต่อให้ผู้ประกอบการ ทั้งค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าฝึกอบรม นายกนก กล่าวว่า คงต้องหารือกันก่อน เบื้องต้นหากจะมีการฝึกอบรมในสถานประกอบการเดิม รัฐบาลอาจขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการขอไม่จ่ายเงินในส่วนค่าใช้จ่าย

นายกนก กล่าวถึงงบประมาณจำนวน 6.9 พันล้านบาท ที่ได้รับมาจากงบเพิ่มเติมกลางปี 2552 เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมนี้ว่า คาดว่าจะไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน เพราะสามารถรองรับการฝึกอบรมผู้ว่างงานได้เพียง 240,000 คน จากที่ตั้งเป้าหมาย 500,000 คน ดังนั้น คงจะต้องเสนอของบประมาณประจำปี 2553 มาใช้สำหรับการฝึกอบรมแรงงานที่เหลือให้ครบเป้าหมายต่อไป

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวถึงแนวคิดการจ่ายเงินสมทบเงินเดือนของลูกจ้างให้ผู้ประกอบการรายละ 5,000 บาทว่า อาจจะเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มสินค้าอิเลคทรอนิกส์ประสบปัญหาของล้นสต็อกเพราะคนอเมริกันไม่มีกำลังซื้อ และอาจต้องปลดพนักงาน หากรัฐบาลสามารถแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการในช่วง 3-4 เดือนนี้เพื่อรอให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นและหวังว่าธุรกิจจะเดินหน้าต่อได้ ก็ไม่จำเป็นปลดพนักงาน วิธีการนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างเขื่อน ชะลอแรงงานตกงาน

แรงงานตั้งเป้าฝึกอบรมอุ้ม3กลุ่ม

นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ใช้งบประมาณ 6.9 พันล้านบาท ฝึกอบรมให้กับผู้ว่างงาน ว่า ขณะนี้การอนุมัติโครงการและงบประมาณให้กับหน่วยงานใดยังไม่ชัด เพียงแต่รัฐบาลได้อนุมัติในหลักการและจำนวนเงิน และอยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดโครงการของคณะกรรมการฯ แต่สิ่งที่กระทรวงเสนอคือ ขออนุมัติงบประมาณ 3.4 พันล้านบาท ดำเนินโครงการฝึกอบรมอาชีพซึ่งจะต้องทำเร่งด่วนให้กับ 3 กลุ่มประกอบด้วย 1.กลุ่มที่ออกจากงานและผู้ที่ไม่เคยทำงานแต่จะเข้าสู่ตำแหน่งงานใหม่ 2.กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ กลุ่มที่เปลี่ยนงาน และ 3.กลุ่มชะลอการเลิกจ้างซึ่งสถานประกอบการใช้สิทธิตามกฎหมายแรงงาน (มาตรา 75 ) ซึ่งมีตัวเลขรวมประมาณ 400,000 คน จึงตั้งเป้าฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 400,000 คน ระยะเวลาที่ฝึกอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ ( กทม.วันละ 209 บาท) เฉลี่ยเดือนละประมาณ 5,000 บาท

นายไพฑูรย์ กล่าวว่า หลักสูตรที่ฝึกอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น 7-10 วัน เชื่อมั่นว่าหากฝึกเสร็จแล้ว ทุกคนได้มีงานทำแน่นอน เนื่องจากกระทรวงแรงงานมีข้อมูลความต้องการของนายจ้าง ตัวเลขคนตกงาน ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมหลักสูตรฝึกอบรม เช่น ช่างฟิต ช่างซ่อม ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่อง การบริการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังมีศูนย์ฝึกอบรมฝีมืออาชีพทั่วประเทศ

ชี้เรื่องสมทบ5พันเพื่อสกัดเลิกจ้างยาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นโครงการเดียวกับที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี จะนำเงิน 6.9 พันล้านบาท มาฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้สนใจจำนวน 500,000 คน โดยจะให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และกลุ่มเครือข่ายประชาสังคม เป็นสถานที่ฝึกอบรมหรือไม่ นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานเสนอไปแค่ 3.4 พันล้านบาท อาจจะมีการตัดหรือเพิ่มจำนวนเงินก็ได้
อย่างไรก็ตามหากจะมีการแยกส่วนก็ไม่แปลก เพราะการแก้ไขปัญหาคนว่างงานต้องเป็นวาระแห่งชาติ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วย แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะมีการฝึกอมรมซ้ำคนกัน เนื่องจากทุกหน่วยมีการลงทะเบียนผู้ฝึกงาน สามารถตรวจสอบได้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่า ในส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างสมทบให้กับนายจ้างที่เข้าร่วมโครงการ คนละ 5,000 บาท นั้น กระทรวงแรงงานไม่มีแนวทางที่จะทำเรื่องดังกล่าว และคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่จะช่วยเหลือให้กับผู้ที่ถูกเลิกจ้างและผู้ที่กำลังจะถูกเลิกจ้าง โดยการฝึกทักษะอาชีพพร้อมกับให้เบี้ยเลี้ยงในการฝึกอาชีพเท่านั้น ในส่วนของสถานประกอบการให้ธนาคารเอสเอ็มอี (SME) นำเงิน 6,000 ล้านบาท ไปปล่อยกู้แล้ว

สภาองค์กรฯไม่เห็นด้วยสมทบ5พัน

นายแล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การฝึกอบรมกับผู้ที่ว่างงานเป็นสิ่งที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องเป็นสาขาที่สามารถสร้างรายได้และให้ความรู้ให้กับประชาชนได้จริง ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ให้ตกเป็นประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากจะมีการวัดประสิทธิภาพที่ออกมาจากการอบรมนั้นคงจะเป็นเรื่องยาก เพราะมีระยะเวลาในการฝึกอบรมสั้น สำหรับเกณฑ์ในการเลือกสถานประกอบการที่จะเข้ารับการฝึกอบรมควรจะเป็นสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการเลิกจ้าง เพราะจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับ 2 ฝ่าย คือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแรงงาน พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการให้กับสถานประกอบการอีกด้วย

นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิต ประธานสภาองค์กรแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน ต้องอธิบายรายละเอียดของโครงการให้ชัดเจนและสรุปได้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ไม่มีอะไรรับประกันว่าผู้ว่างงานจะมีงานทำถาวร หรือสถานประกอบการจะไม่เลิกจ้างอีก ส่วนการที่รัฐบาลจะจ่ายเงินเดือนสมทบ 5,000 บาทนั้น เห็นว่าไม่สมควร ถือว่าเป็นการเยียวยาได้เพียงชั่วครู่

ที่มา: มติชน 2009-02-04

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชี้ทางลูกค้ารายย่อยรับมือ “เครดิต บูโร-สินเชื่อบ้าน

“วิโรจน์ นวลแข” อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร (บล.ภัทร) วิเคราะห์บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิต บูโร) พร้อมให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบทบาทในการดูแลลูกหนี้ การขึ้นบัญชีดำลูกหนี้รายย่อยที่ผ่านมา ต่อด้วยมุมมองคนไทยกับการมีที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งการกู้ได้ไม่เต็มวงเงิน แถมดอกเบี้ยคงที่แค่ 3-5 ปี

“เครดิต บูโร” กับมุมมองลูกหนี้รายย่อย
เรามีความเข้าใจเรื่องบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิต บูโร ไม่เหมือนกัน หลายคนได้รับคำตอบจากธนาคารว่า ไม่ปล่อยกู้ให้ เพราะเป็นแบล็กลิสต์ ผมว่ามันไม่ใช่ ต้องเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลของ เครดิต บูโร ซึ่งก็มาจากการรวบรวมข้อมูลการกู้เงินของลูกค้าทั้งพอร์ตของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะถูกส่งมาที่เครดิต บูโร โดยไม่มีคอมเมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะไปกระทบกระเทือนถึงกรรมการแล้วก็ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ตอนนี้กฎหมายได้ตัดส่วนนี้ออกไปแล้ว ก็จะเป็นเฉพาะข้อมูลของผู้กู้ ทีนี้พอเข้าไปในระบบแล้ว ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้หยิบข้อมูลมาใช้ ในระบบที่ดีผู้ใช้บริการจะต้องได้รับข้อมูลที่แปลงแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่แปลงแล้ว คือ ข้อมูลที่เอามาคำนวณแล้วเป็นพอยต์ (แต้ม) อย่างในสหรัฐฯเมื่อคำนวณพอยต์เต็ม 1,000 มีพอยต์มากกว่า 750 ถึงจะเรียกว่าผู้มีเครดิต ถ้าคนไหนไม่มีเครดิตก็ยากที่จะสร้างเครดิตได้ ก็ต้องเอาบัตรเครดิตจากปั๊ม ห้าง แล้วเริ่มสร้างจากตรงนั้น

แต่ในไทยเราจะใช้ข้อมูลพวกนี้ไปทางลบมากกว่าบวก ก็คือ พอผู้รับได้ข้อมูล ธนาคารก็จะสกอร์การ์ดว่าจะให้หรือไม่ให้ ผู้รับข้อมูลจากเครดิต บูโรไปใส่สกอร์การ์ดของเค้า แต่เมื่อมีประวัติการชำระเงินไม่ดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร ไม่ปรากฏ ผู้รับต้องไปแปรผลเอง อย่างเกิดขึ้น เพราะสูญเสียเศรษฐกิจไม่ดี อันนี้ข้อมูลเครดิต บูโรส่งไปไม่มีข้อมูลตรงนี้ ไม่จ่ายก็คือไม่จ่าย อันนี้สำหรับพวกบุคคลที่เจอ

ตรง กันข้าม พวกค้าขายได้รับการเยียวยาหรือปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินอยู่แล้วใน ระดับหนึ่ง คือ หากมีโครงการใหม่ในอนาคต เปลี่ยนสินค้าที่ขาย วิธีการขาย สร้างโรงงานใหม่ สร้างบริการขึ้นมาใหม่ เครดิตก็จะมีการคำนวณฐานะทางการเงินในอนาคตเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็เกือบจากไม่ต้องคำนึงถึงข้อมูลของเครดิต บูโร แต่บุคคลอย่างรายย่อยหรือรายกลางไม่ได้รับการพิจารณาตรงนี้เลย มันติดแล้วติดเลย

ที นี้กฎหมายใหม่ที่จะออกมาก็พยายามจะทำให้บุคคลได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น คือ ทำสกอร์การ์ด แล้วให้ผู้ใช้ข้อมูลก็หยิบสกอร์การ์ด ไปใช้แทนที่จะเป็นข้อมูลดิบไป ก็อยู่ในกระบวนการที่เครดิตบูโรต้องทำ แล้วยิ่งทำเสร็จเร็วเท่าไหร่ ข้อมูลก็จะมีประโยชน์ใช้งานดีขึ้น

ปัญหาก็คือ สิทธิของผู้บริโภคต่อเรื่องนี้ ไม่ค่อยได้มีการศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เรามีกฎหมายเยอะในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ไม่ค่อยถูกนำมาเผยแพร่ เพื่อประชาชนรู้ว่าจะดูแลผลประโยชน์ของเขาได้อย่างไร เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามเผยให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย

ข้อมูลเรื่องเครดิต บูโร ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจ แล้วทุกคนหวั่นไหวกับมัน แล้วบางคนก็นำไปใช้เกินกว่าเหตุ ในเครดิต บูโรนั้น หากคุณผิดนัดชำระหนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ชื่อจะต้องถูกบันทึกไว้ 3 ปี ถ้าเกิน 3 ปีก็จะถอดทิ้ง คือข้อมูลคุณไม่ปรากฏ แต่ที่สำคัญคือข้อมูลนั้นยังอยู่ในฐานข้อมูลของแบงก์อยู่ดี เขาไม่ได้ถอดไปด้วย ตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล มันก็เหมือนกับการล้มละลาย ก็จะมีการบันทึกไว้ 3 ปี หลังจากนั้น ผู้ล้มละลายก็มีสิทธิ์ที่จะเริ่มต้นใหม่ เริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งกฎหมายของเครดิตบูโรก็คงใช้แบบอย่างอันนี้ ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้ ถ้าไม่มีการกู้ยืมหรือทำธุรกรรม ประวัติควรจะต้องลบหมด

“จริงๆ แล้วคำว่าแบล็กลิสต์เนี่ย มันไม่มีนะ มีแต่พอใจที่จะให้กู้หรือไม่ให้กู้แค่นั้นเอง ดังนั้น เมื่อมีตัวสกอร์การ์ดที่เครดิต บูโรจะต้องทำเนี่ย ต้องแสดงให้เห็นว่าคนไหนมีสกอร์เท่าไหร่ สกอร์ดีก็น่าจะเป็นกูด เครดิต ไปที่ไหนก็กู้ง่ายได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ปัจจุบันเรากับใช้ข้อมูลตรงนี้ไปเชิงลบ คนที่ไม่อยู่ในรายชื่อก็คือแค่ผ่านไม่ใช่เครดิตดีที่ควรได้อัตราดอกเบี้ยที่ ต่ำกว่าปกติหรือพิเศษ แต่คนที่มีรายชื่อก็ไม่ปล่อยกู้ ตรงนี้จึงต้องมีสกอร์การ์ด ไม่ใช่การแปลความเอาเอง โดยขึ้นอยู่กับผู้จัดการสาขาแบงก์หรืออะไร”

สินเชื่อบ้านอุปสรรคชีวิตคนไทย
ผมขอยกตัวอย่างสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเงินกู้ที่รายย่อยพอจะมี สิทธิ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่บ้านเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เช่น เราต้องการซื้อบ้านสักหลังหนึ่งราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเราก็อยากซื้อ ก็จะขาดเงินอยู่ 9 แสนบาท เพราะมีดาวน์อยู่แสนหนึ่ง แต่ธนาคารก็ไม่ให้ 9 แสนบาทเต็ม จะให้ประมาณ 7 แสนบาท ก็ต้องหา 2 แสนบาท ก็อาจจะต้องไปกู้ยืมนอกระบบที่ไหนก็ว่ากันไป แต่ 2 แสนนี่เป็นหนี้ที่ต้องชำระก่อน เพราะระยะเวลาสั้นกว่า คราวนี้ก็จะถูกบีบคั้น กลายเป็นว่าต้องชำระถึง 2 ก้อน พอหนี้ 2 แสนจบ ก็ผ่อนตัวหนี้ 7 แสนก็ผ่อนไม่ไหว ชีวิตก็ล้มเหลว ที่เป็นแบบนี้เพราะคุณไม่สนใจเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงของลูกหนี้ ส่วนรายกลางก็เหมือนกับรายย่อย แต่รายใหญ่ นั่งเจรจากันได้ เอาอย่างโน้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ อันนี้สภาพที่เป็นอยู่

ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้ ก็คือ ยิ่งพอเกิดสถานการณ์แบบนี้ เศรษฐกิจถดถอย ต้องมีคนตกงาน รายได้ลด ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะมีการค้างชำระหนี้อยู่ โดยเฉพาะพวกรายย่อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาเมินเฉยกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆ ที่ภาวะแบบนี้มันต้องมีการดูแล การเยียวยา ไม่มากก็น้อยกับผู้กู้รายย่อย ต้องให้โอกาสเขาบ้าง เพราะผู้กู้รายใหญ่ได้รับการเยียวยามาโดยตลอดอยู่แล้ว

หนุนพัฒนาบริษัทค้ำประกันเงินกู้
เรามาขยายความเรื่องการปัญหาเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวอย่างเดิมบ้านราคา 1 ล้านบาท มีเงินดาวน์ 1 แสนบาท ธนาคารปล่อยกู้ให้ 7 แสนบาท ที่เหลืออีก 2 แสนบาท ไปกู้นอกระบบ อาจจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน แต่ก้อนนี้มักจะเป็นระยะสั้นกว่าก็ต้องคืนก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือคุณรับภาระไม่ไหว ทางที่จะแก้ไขก็คือมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เข้ามาดูแล จึงควรมีการสร้างบริษัทค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ระบบการทำงานก็คือเราจ่ายค่าฟี (ธรรมเนียม) เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะเป็นการประกันว่า 2 แสนที่ขาดอยู่นี่ได้แน่ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดจากธนาคาร แล้วก็ไปทำจำนองอันดับที่ 2

แนว ทางในการบริหารของสถาบันนี้ก็ค่อนข้างระมัดระวังอยู่พอสมควร โดยส่วนแรกจะเป็นรายได้ที่มาจากค่าฟีของผู้กู้หลายรายนั้น น่าจะครอบคลุมส่วนของลูกหนี้ที่มีปัญหาซึ่งอาจจะแค่ 5-10% เท่านั้นเอง ส่วนที่ 2 ก็คือหลักประกันจากการจำนองอันดับ 2 นั้น ตัวทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก็คือบ้านหรือที่ดินนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ หรือไม่หยุดชะงักแล้วก็ขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอย่างนี้ตราบที่ราคาทรัพย์สินบ้านเรายังไล่ราคาทรัพย์สินใน เมืองใหญ่ของตลาดโลกไม่ทัน ทีนี้พอถึงเวลาอันควร เขาก็จะได้ส่วนแบ่งจะการยึดหรือขายทรัพย์มา

การเคหะฯต้องเป็นนโยบายระดับชาติ
นโยบาย ด้านการเคหะฯ จำเป็นต้องผลักดันให้เป็น National Housing Policy ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมี เป็นตัวที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ผังเมืองจนไปถึงระบบการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งควรจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ทั้งอายุการกู้ และที่สำคัญการมี National Housing Policy จะทำให้มีข้อมูลของทรัพย์ มีตลาดกลางของทรัพย์ จากปัจจุบันที่ลูกค้าต้องวิ่งดูเอง ไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางที่จะบอกว่าที่ไหนมีทรัพย์ซื้อ หรือขาย หนังสือพิมพ์ก็ได้แต่โฆษณา จึงควรต้องมีศูนย์ข้อมูลตรงนี้โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสอง

การมีแหล่งข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้ประชาชนมีปัจจัยที่สำคัญในการดำเนิน ชีวิตอย่างหนึ่งคือบ้านอย่างเหมาะสม อย่างชีวิตเราตอนที่ยังไม่โต ไม่มีครอบครัวก็เช่าบ้านที่มีห้องเดียวได้เพราะอยู่คนเดียว พอแต่งงานก็ยังอยู่ได้ แต่พอมีลูก 1 คน ก็ต้องขายที่พักที่มีห้องเดียว แล้วไปบ้านซื้อที่มี 2 ห้อง พอมีลูก 2 คน ก็ต้องเป็นบ้านที่มี 3 ห้องแล้ว แต่พอลูก 2 คนโตเข้ามหาวิทยาลัยหรือแต่งงานมีครอบครัวไป ก็ต้องกลับมาหาบ้านหลังเดียวอีกแล้ว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องแบกบ้าน 3 ห้องนอนไว้ ทำให้ต้องใช้แหล่งข้อมูลเรื่องตลาดบ้านมือสองมากขึ้น

National Housing Policy ยังมีความสำคัญในการที่วางแผนการพัฒนาประเทศว่าจะพัฒนากันอย่างไร มีเอ็นจิเนียริ่งอย่างไร แบบบ้านนี้น่าจะช่วยประหยัดพลังงานและเรื่องเงินผ่อนระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ฟิกซ์) ตลอดอายุ รัฐจะเข้ามาดูแลอย่างไร เพราะเรื่องดอกเบี้ยฟิกซ์นี่ธนาคารไม่กล้าทำอยู่แล้ว แต่เรื่องที่อยู่อาศัยนี่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาชน ต้องได้รับดูแล หากไม่มีการฟิกซ์ดอกเบี้ย เขาก็จะคำนวณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ได้ เดี๋ยวไปๆ มาๆ ที่จ่ายไปเป็นดอกเบี้ย 200 บาทเงินต้นแค่ 100 บาทก็แย่

การฟิกซ์ดอกเบี้ยแค่ 3 ปี 5 ปี ไม่ดี ต้องฟิกซ์ตลอดระยะเวลาการกู้ ภาครัฐต้องเข้ามา การทำ National Housing Policy ก็มีความเกี่ยวพันกับหลายกระทรวงหลายหน่วยงาน เพราะต้องดูแลคนหลายล้านคนที่ตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย ต้องเอาเรื่องนี้มาทำเป็นนโยบายอย่างจริงจัง ก็เคยมีคนผลักดันเรื่องนี้ แต่ไปไม่ได้ไกล เป็นนโยบายระยะยาวที่ต้องทำเพราะถือเป็นคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ

ปัจจุบัน การหาที่อยู่อาศัยของคนไทยยังไม่ค่อยเหมาะสม คืออยู่ที่ไหนแล้วก็อยู่เลย ไปทำงานที่ไหนไกลแสนไกล แต่ก็ไม่เปลี่ยนที่อยู่ เพราะอะไร เพราะคิดว่ามันยุ่งยาก ที่ยุ่งยากก็เพราะมันไม่มีตลาด ไม่มีข้อมูลตรงนี้ จริงๆ แล้วอาจจะมีคนอยากขายที่พักอาศัยตรงที่เราต้องการเยอะแยะ แล้วก็มีคนอยากจะซื้อตรงที่เราอยากขายอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีข้อมูลส่วนกลางตรงนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่รัฐบาลสนับสนุน


http://www.manager.co.th/business/viewnews.aspx?NewsID=9520000011893

มารู้จักเงินคงคลัง

มีคนหลายคนยังมีความสงสัยว่าเงินคงคลังคืออะไร บางคนก็สับสนระหว่างเงินคงคลังกับทุนสำรองระหว่างประเทศ แม้แต่นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาหลายๆ ท่านก็ยังสับสน
เงินคงคลัง ก็คือเงินรายรับของรัฐบาลกลางที่เหลือจากรายจ่ายระหว่างประเทศ ซึ่งต่างกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
กฎหมายบัญญัติไว้ว่า เงินรายได้ของแผ่นดินนั้น ต้องฝากไว้ในบัญชีของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินสดอยู่ที่คลังจังหวัดมีจำนวนไม่มากนัก
เงินคงคลังที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น กฎหมายกำหนดไว้ไม่ให้จ่ายดอกเบี้ย แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำเอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้
ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะว่าในระหว่างปี เงินคงคลังอาจจะมีขึ้นมีลง เพราะภาษีนั้นมีเข้าเป็นฤดู บางเดือนมีภาษีเข้ามามาก บางเดือนมีภาษีเข้ามาน้อย ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลตามงบประมาณนั้น มักจะมีภาระต้องจ่ายค่อนข้างสม่ำเสมอ
เมื่อสิ้นปีงบประมาณคือ 30 กันยายนของทุกปี รายได้ของรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษีอากร และรายได้อื่นๆ เช่น ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม หรือส่วนแบ่งจากกำไรของรัฐวิสาหกิจ ส่วนที่เหลือก็จะอยู่ในบัญชีเงินคงคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในแง่เศรษฐศาสตร์ เงินเช่นว่านั้นก็หมดสภาพเงินอีกต่อไป เพราะได้หายไปจากการหมุนเวียนในระบบการเงินแล้ว ด้วยหลักเช่นว่านี้ กฎหมายจึงบังคับไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายดอกเบี้ยให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อจะได้ไม่เป็นเงินอีกต่อไป
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีหลักตามกฎหมายงบประมาณแผ่นดิน และมีหลักทางการคลังว่า รัฐบาลพึงเก็บภาษีอากรเพียงเท่าที่มีความจำเป็นสำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลเท่านั้น เมื่อภาษีที่เก็บเกินมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาล ส่วนที่เกินนั้นจึงไม่ใช่ของรัฐบาลอีกต่อไป และก็ไม่ใช่เงินด้วย เพราะหายไปจากการหมุนเวียนในตลาดแล้ว รัฐบาลจะเอาไปฝากเพื่อแสวงหาดอกผลมาเป็นรายได้ของรัฐบาลไม่ได้
รัฐบาลจึงตั้งงบประมาณเกินดุลไม่ได้ ได้แต่ตั้งงบประมาณขาดดุล หรืออย่างมากก็งบประมาณสมดุล ส่วนเมื่อบริหารประเทศไปแล้วเศรษฐกิจดีเกินคาด รายได้มากกว่างบประมาณการใช้ หรือรัฐบาลใช้จ่ายไม่หมดตามงบประมาณที่ตั้งไว้ มีเงินเหลือก็กลายเป็นเงินคงคลังไป อยู่ในบัญชีเงินคงคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
พระราชบัญญัติเงินคงคลังบัญญัติไว้ว่า รัฐบาลจะใช้เงินคงคลังได้เพียง 5 ประการเท่านั้น คือ 1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2. ใช้ชำระหนี้ต่างประเทศ 3. ซื้อสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 4. ไถ่ถอนพันธบัตรของรัฐบาลก่อนกำหนด 5. กรณีต้องปฏิบัติตามกฎหมายแต่ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้เท่านั้น จะไปทำอย่างอื่นไม่ได้
ปกติแล้วการชดเชยการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินนั้น รัฐบาลมีช่องทางที่จะชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ 4 วิธี ซึ่งมีผลต่อปริมาณเงินในระบบต่างกัน คือ 1. ออกพันธบัตรขายกับประชาชน หรือยืมจากประชาชน หรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน อย่างนี้ไม่กระทบต่อปริมาณเงินในระบบ เพราะรัฐบาลดูดเงินจากระบบมาเท่าไหร่ ก็จ่ายไปเท่านั้น 2. กู้จากสถาบันการเงิน อย่างนี้มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นบ้างแต่ไม่เต็มที่ เพราะเมื่อสถาบันการเงินจ่ายเงินซื้อพันธบัตรไปให้รัฐบาล สมมุติว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารไม่จำเป็นต้องลดสินเชื่อถึง 10,000 ล้านบาท อาจจะลดไปเพียง 7,000 ล้านบาท เงินในระบบจึงยังเพิ่มอยู่อีก 3,000 ล้านบาท 3. รัฐบาลอาจจะชดเชยการขาดดุลโดยขายพันธบัตรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และในอนาคตต้องตั้งงบประมาณซื้อพันธบัตรคืนเมื่อครบกำหนด แต่เงินที่กู้จากธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น จะมาเพิ่มปริมาณเงินในระบบทั้งหมด เพราะเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยหลักวิชาไม่ใช่เงิน แต่เมื่อจ่ายออกมาก็เป็นเงินในระบบ บางทีก็พูดแบบภาษาชาวบ้านว่าเป็นการพิมพ์ธนบัตร 4. ใช้จากเงินคงคลัง ในกรณีนี้ปริมาณเงินในระบบจะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินคงคลังที่รัฐบาลเบิกเอามาใช้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ แต่ต่างจากกรณีที่กู้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรงที่ว่ารัฐบาลไม่มีความผูกพันต้องตั้งเงินชดใช้คืนในภายหลัง
สำหรับในต่างจังหวัดเนื่องจากการใช้จ่ายมีการใช้เช็คน้อยกว่ากรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเป็นเงินสด ทุกวันตอนที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดต่างๆ ปิดบัญชี ส่วนใหญ่จะมีเงินสดเหลือ ธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนั้นก็จะนำส่งที่คลังจังหวัด หรือสาขาของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ ถ้ามี แล้วแจ้งมาที่สำนักงานใหญ่ของตนที่กรุงเทพฯ คลังจังหวัดก็แจ้งมาที่กรมบัญชีกลาง สาขาของธนาคารแห่งประเทศไทยก็แจ้งมาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ วันรุ่งขึ้นสำนักงานใหญ่ของธนาคารเหล่านั้นก็มาเบิกเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตัดบัญชีจากบัญชีของกรมบัญชีกลางที่มีอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย เงินที่อยู่ที่คลังจังหวัดและสาขาของธนาคารแห่งประเทศไทยก็อยู่ที่นั่นเลย แล้วกลับมาใช้หมุนเวียนอีกเป็นระบบที่ไม่ต้องขนธนบัตรกลับมาที่กรุงเทพฯ แล้วก็ส่งธนบัตรกลับไปใหม่
มีอยู่สมัยหนึ่งตอนที่ป๋าท่านเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อสำนักงานใหญ่ของธนาคารต่างๆ มาเบิกเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยไปแล้ว เงินในบัญชีเงินคงคลังของกรมบัญชีกลางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีไม่พอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดบัญชี ยอดเงินคงคลังเลยกลายเป็นตัวแดง เคยมียอดสูงสุด ที่ติดลบกว่า 3 หมื่นล้านบาทถือว่าเป็นจำนวนมาก ไอเอ็มเอฟเรียกการชดเชยการขาดดุลงบประมาณแบบนี้ว่า เป็นการชดเชยงบประมาณทางประตูหลัง หรือ back door financing
กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้ทำอย่างนั้น แต่ในทางปฏิบัติไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะรายได้จากการจัดเก็บภาษีไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ในงบประมาณรายรับ สถานการณ์กลับกันกับตอนเศรษฐกิจขาขึ้น ที่รายได้จากการจัดเก็บมักสูงกว่าการประมาณการไว้ในงบประมาณรายรับ
ในการบริหารประเทศนั้น ฝ่ายบริหารทำได้ทุกอย่าง ถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดห้ามไว้ แต่ในทางการเงินนั้น ฝ่ายบริหารจะสั่งจ่ายเงินอะไรไม่ได้ ถ้ากฎหมายไม่ได้อนุญาตไว้ หลักกฎหมายกลับกัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย
หลักการเรื่องเงินคงคลังนั้น ไม่เหมือนกับเงินสดคงเหลือของบริษัทห้างร้านหรือของรัฐวิสาหกิจ เพราะเงินคงคลังหรือเงินสดเหลือจ่ายของรัฐบาลนั้น เป็นรายได้จากภาษีอากรของรัฐบาลส่วนที่เกินจากการจับจ่ายใช้สอยของรัฐบาลตามงบประมาณแผ่นดิน ประการหลังอีกประการหนึ่งเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณเงินในระบบ เพราะอาจจะมีจำนวนมาก มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
หลายคนเข้าใจว่าเหมือนกับเงินสดเหลือจ่ายของบริษัทห้างร้านหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เมื่อเหลือนำไปฝากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสิน หรือธนาคารของรัฐบาลอื่นๆ เพื่อจะได้ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่น เพราะเป็นเงินของรัฐบาล
กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น กฎหมายบังคับให้ฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีฐานะอีกฐานะหนึ่งคือเป็นนายธนาคารของรัฐบาล คือ นอกจากจะออกธนบัตรแทนรัฐบาลแล้ว ยังทำหน้าที่รับจ่ายเงินจากงบประมาณแผ่นดินให้รัฐบาลด้วย
บทบาทหรือหน้าที่เงินคงคลังอีกอย่างหนึ่งทางเศรษฐกิจที่คนไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญก็คือ ทำหน้าที่เป็นตัวรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า "economic automatic stabilizer" ในยามที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง รายได้ของรัฐบาลเกินรายจ่าย หรือรัฐบาลมีงบประมาณเกินดุล เงินคงคลังในบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะสูงขึ้นเท่ากับเงินไหลกลับไปที่ธนาคารกลาง ปริมาณเงินในระบบก็จะน้อยลง เมื่อปริมาณเงินในระบบลดลง เศรษฐกิจก็จะไม่ขยายตัวเร็วเกินไป
ยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ของรัฐบาลต่ำลง แต่รายจ่ายของรัฐบาลมีความจำเป็นต้องคงเดิมหรือสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะใช้เงินคงคลังชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เงินก็จะไหลออกจากธนาคารกลาง ปริมาณเงินในระบบก็จะมากขึ้น เท่ากับเป็นการพยุงระบบเศรษฐกิจไว้ไม่ให้ชะลอตัวเร็วเกินไป
หน้าที่สำคัญอันนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญ กฎหมายเงินคงคลังของประเทศต่างๆ ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีจึงมีกำหนดไว้อย่างนี้
ในการทำงบประมาณประจำปีของรัฐบาล จึงไม่ควรนำเอาเรื่องการมีเงินคงคลังในบัญชีมากหรือน้อยมาคิด ควรจะคิดว่าในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน รัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีและอื่นๆ เท่าไหร่ รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ ควรจะมีงบประมาณขาดดุล หรือเกินดุล เพราะงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุลสำหรับประเทศเล็กและเปิดกับตลาดต่างประเทศอย่างของเรา การขาดดุลหรือเกินดุลของงบประมาณไม่ได้ไปโยงกับอัตราเงินเฟ้อโดยตรง แต่ไปโยงกับดุลการค้า หรือดุลบัญชีเดินสะพัด และอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาท พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของบ้านเราไม่ตรงกับตำรา
เหมือนกับอัตราดอกเบี้ยของเราก็ไม่ได้โยงกับอัตราเงินเฟ้อ ส่วนมากเงินเฟ้อของบ้านเราโยงกับราคาน้ำมัน และราคาสินค้านำเข้าและราคาสินค้าที่เราส่งออก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน แล้วอัตราแลกเปลี่ยนจึงส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออีกที
ได้ยินว่ากระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนระบบการโอนเงิน การเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลางให้ทันสมัยขึ้น ผมเองไม่รู้เรื่องรายละเอียด เพราะไม่ได้ยุ่งกับรัฐบาลมานานแล้ว แต่ก็เกรงว่าทั้งสองสถาบันหลักทางการเงินการคลังของชาติจะลืม หรือไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของเงินคงคลัง จะปฏิบัติกับเงินคงคลังเหมือนเงินสดคงเหลือของบริษัทห้างร้าน หรือเงินสดคงเหลือของรัฐวิสาหกิจ โดยจะเอาเงินรายได้รายจ่ายและเงินคงคลังไปฝากกับธนาคารของรัฐ
บรรพบุรุษของเราท่านเขียนกฎหมายไว้ดีแล้ว อย่าไปแก้หลักการเลย

คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 06 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3616 (2816)
ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2

ที่ประชุม ครม.อภิสิทธิ์ อนุมัติเจรจากู้เงิน สำรองวิกฤต 2.7 แสนล้านบาท

ที่ประชุม ครม.อนุมัติเจรจากู้เงินจากสถาบันการเงิน และองค์กรระหว่างประเทศ 2.7 แสนล้านบาท ตามข้อเสนอกระทรวงการคลัง “กรณ์” อ้าง จำเป็นรองรับวิกฤต ค้ำดุลเศรษฐกิจประเทศ “บินไทย” จ่อกู้รายแรก ช่วย รสก.เน่า

วันนี้ (3 ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมว่า ครม.เห็นชอบให้กระทรวงการคลัง เจรจากู้เงินจากสถาบันการเงินและองค์กรระหว่างประเทศ 3 แหล่ง คือธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า วงเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 2.38-3.70% ต่อปี

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะนำเงินกู้จากสถาบันการเงินและองค์กรต่างประเทศจำนวน 70,000 ล้านบาท มาใช้ใน 4 โครงการ คือ เพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำไปขยายสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล , ลงทุนในโครงการภาครัฐทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสร้างการจ้างงานในระยะสั้นไม่เกิน 15 เดือน (มี.ค.52-พ.ค.53), ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพ มีเวลาดำเนินการไม่เกิน 36 เดือน (มี.ค. 52-ก.พ.55) และสนับสนุนโครงการ แผนงานและกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล

“เรามีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนเพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะ ณ เวลานี้ รัฐบาลมีความจำเป็นใช้งบขาดดุล เพื่อนำเงินมาค้ำดุลเศรษฐกิจ” รมว.คลัง กล่าว

นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ครม.เห็นชอบให้กระทรวงการคลัง เจรจาจัดหาเงินกู้ในลักษณะช็อตเทิร์ม ฟาซิลิตี้ (Short term facility) อีกไม่เกิน 2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี โดยมีแหล่งเงินจากธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้น ได้โดยตรง ซึ่งหนึ่งในนั้น น่าจะมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ด้วย ซึ่งใน 1-2 สัปดาห์นี้ จะมีการสรุปผลรายละเอียดมายังตน

ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ และยังเป็นเครื่องมือในการจัดสรรการกู้เงินของภาครัฐไม่ให้เกิดภาวะกระจุก ตัวในช่วงใดช่วงหนึ่งด้วย ถือเป็นวงเงินสำรองกู้เงินและให้รัฐวิสาหกิจมีทางเลือกในการกู้เงิน โดยกระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินแบบเต็มจำนวนหรือแบบบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนของการค้ำประกัน เพื่อให้ภาระการค้ำประกันอยู่ในกรอบเพดานในแต่ละปี ที่กำหนดไว้เป็นสกุลเงินบาทไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีอายุเงินกู้ระยะไม่เกิน 18 เดือน

นายกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมเพิ่มทุนให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐอีก 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (Exim Bank) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) โดยวงเงินเพิ่มทุนดังกล่าวกระทรวงการคลังจะดึงมาจากเงินกู้ที่จะขอกู้จาก ธนาคารโลก ADB และ JICA

ทั้งนี้ การใช้เงินจากแหล่งเงินกู้นั้น จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในปี 2553 ที่จะเป็นงบขาดดุล ดังนั้น หนี้สาธารณะจำเป็นที่จะต้องปรับสูงขึ้น และปี 2553 ก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และเชื่อว่า จะเป็นหนี้ที่สามารถแบกรับได้ด้วยรายได้ของประเทศ และสามารถชำระได้ เมื่อเศรษฐกิจดีรายได้ประเทศก็จะมาจากภาษีที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันเร็วเกินไปที่จะบอกว่ามีโครงการใดที่มีประโยชน์ ซึ่งบางโครงการจะต้องเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.ก่อน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000012602

ระบบภาษีอากรที่นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยากเห็น

จากหนังสือ “ร้อยฝัน วันฟ้าใหม่” ของนายกรัฐมนตรี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวถึง 100 ปณิธานการเมืองที่สำคัญของนายกรัฐมนตรี ซึ่งรวบรวมแนวความคิดจากข้อเขียน ปาฐกถา บรรยาย อภิปราย ปราศรัย และข้อคิด ตลอด 15 ปีนับตั้งแต่ก้าวสู่ถนนการเมือง เพื่อบอกถึงอุดมการณ์และเจตนาที่แน่วแน่ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการสร้าง สังคมไทยในอุดมคติ ทั้ง ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
หนึ่งในร้อยปณิธานของนายกรัฐมนตรีที่จะขอนำมาเล่าในที่นี้ คือ ระบบภาษีอากรของประเทศไทย
1. ภาษีที่ง่าย ก้าวหน้า และเป็นธรรม เพิ่มรายได้ เป็น ปณิธานที่นายกรัฐมนตรีอยากเห็นโดยกล่าวว่า หากฝันอยากจะสร้างระบบสวัสดิการที่ดีให้แก่คนของเราจริง ๆ เราก็ต้องพัฒนาในเรื่องการจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐด้วย โดยจะต้องเก็บภาษีในอัตราที่ก้าวหน้า เต็มเม็ดเต็มหน่วย
นายก รัฐมนตรีได้กล่าวถึงระบบภาษีในปัจจุบันว่า การจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีทางอ้อม ทำให้คนจนแบกรับภาระในอัตราสูงกว่าคนรวย ในขณะที่ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ซึ่งมีอัตราก้าวหน้าและมีความเป็นธรรมในสังคมมากกว่า ยังคงมีสัดส่วนต่ำเมื่อคิดต่อรายได้ของรัฐทั้งหมด
อย่าง ไรก็ตาม ในโลกของความเป็นจริงวันนี้ คงไม่สามารถจัดเก็บภาษีทางตรงในอัตราที่สูงมาก ๆ ถึงขั้นประเทศในยุโรป เพราะอาจจะเป็นแรงผลักดันให้คนรวยจำนวนหนึ่ง หลบเลี่ยง หลบหนี หรือย้ายบัญชีหนีภาษี หลบไปอยู่ตามเกาะต่าง ๆ มากขึ้น
ไม่ช้าก็เร็ว เราคงจะต้องยุติการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อรักษาระดับรายได้ทางการคลังของรัฐ
ใน ปัจจุบัน เราจึงต้องจัดระบบภาษี เพื่อให้มีการเก็บและการจ่ายภาษีที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เราจำเป็นต้องขยายฐานการจัดเก็บภาษี กระจายการจัดเก็บภาษีออกไปสู่ระดับท้องถิ่น
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและภาษีมรดก นายก รัฐมนตรีได้กล่าวว่า เราสามารถใช้ภาษีที่ดินเป็นเครื่องมือในการจัดการที่ดิน หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากที่ดินได้มากกว่าที่เป็นอยู่
การ จัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราที่ก้าวหน้ามาก ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐ สามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินหรือจัดหาที่ดินแก่คนยากคนจนแล้ว ยังเป็นแรงกระตุ้นให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินอันมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิด ประโยชน์สูงสุด
นอก จากนี้ ยังอาจจะพิจารณาใช้มาตรการภาษีในการสร้างแรงจูงใจให้คนอยากจะใช้ที่ดินให้ เกิดประโยชน์ในทางที่สร้างสรรค์ เช่น ทำสวนสาธารณะ หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนยากคนจน
การ จัดเก็บภาษีที่ดิน แม้จะกำหนดอัตราก้าวหน้ามาก ๆ บรรดาคนรวยที่ถูกเรียกเก็บก็ไม่สามารถย้ายที่ดินหนีภาษีได้เหมือนการย้าย บริษัทหรือย้ายบัญชี แต่จะนำไปสู่การปลดปล่อยที่ดินให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ซึ่งจะเกิดการเพิ่มงาน เพิ่มรายได้
ใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีมรดก นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ผมสนับสนุนการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะเห็นว่าเป็นภาษีที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและจะช่วยส่งสัญญาณ ทางสังคมที่ชัดเจนว่า ต่อไปนี้ คนเราควรจะคิดถึงสังคมให้มากกว่าเดิม
ภาษี มรดกไม่ใช่การยึดทรัพย์ ลูกหลานยังรับมรดกจากบุพการีต่อไปได้ เพียงแต่ถ้ามูลค่ามรดกสูงเกินเกณฑ์ ก็ต้องจ่ายภาษีมรดกส่วนหนึ่งเข้าแผ่นดิน
นายก รัฐมนตรีมีความเห็นว่า เราอาจจะมีเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินที่คนเราสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตาม แบบพอเพียงได้ ส่วนเกินก็นำมาประเมินภาษีมรดก และเชื่อว่า ภาษีมรดกจะมีผลในทางที่ดีต่อแนวคิดเรื่องความเป็นธรรมในสังคมอย่างแน่นอน
3. ภาษีเหล้า นายก รัฐมนตรีได้กล่าวถึงการดูแลการบริโภคสุราว่า เมื่อไม่มีการโฆษณา ก็ควรขึ้นภาษีเหล้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลดราคาเพื่อจูงใจให้มีการดื่มมากขึ้น โดยปรับโครงสร้างภาษีเหล้า ให้เก็บตามดีกรีของแอลกอฮอล์
4. เรื่องสุดท้ายเป็นปณิธานด้านการปฏิรูปการคลังท้องถิ่น ซึ่ง เห็นว่า จะต้องมีการพิจารณาโครงสร้างภาษีระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ชัดเจน รวมถึงระบบการแบ่งภาษีระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเป็นสัดส่วนเท่าใด ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงและความเหมาะสม
ท้อง ถิ่นควรเพิ่มฐานภาษีได้อีก สามารถจัดเก็บภาษีชนิดต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้น เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีทรัพย์สิน และภาษีสิ่งแวดล้อม
ใน ประการสำคัญ ท้องถิ่นควรจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยการจัดทำระบบแผนที่ภาษีเพื่อสำรวจฐานทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง
จาก ปณิธานเกี่ยวกับระบบภาษีอากรของนายกรัฐมนตรี พอสรุปได้ว่า ระบบภาษีอากรของไทยควรเป็นระบบที่มีความง่าย ก้าวหน้า และเป็นธรรม ควรจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า เห็นด้วยกับการเก็บภาษีมรดก และการปฏิรูปการคลังท้องถิ่นด้วยการเพิ่มฐานภาษี เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีทรัพย์สิน และภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และควรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้วยการจัดทำระบบแผนที่ภาษี
ที่มา : โดย นายชนะชัย ประยูรสิน เศรษฐกร ระดับชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายภาษี

http://www.fpo.go.th/content.php?action=view§ion=3100000000&id=21622

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชี้ทางลูกค้ารายย่อยรับมือ “เครดิต บูโร-สินเชื่อบ้าน

“วิโรจน์ นวลแข” อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร (บล.ภัทร) วิเคราะห์บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิต บูโร) พร้อมให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบทบาทในการดูแลลูกหนี้ การขึ้นบัญชีดำลูกหนี้รายย่อยที่ผ่านมา ต่อด้วยมุมมองคนไทยกับการมีที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งการกู้ได้ไม่เต็มวงเงิน แถมดอกเบี้ยคงที่แค่ 3-5 ปี

“เครดิต บูโร” กับมุมมองลูกหนี้รายย่อย
เรามีความเข้าใจเรื่องบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิต บูโร ไม่เหมือนกัน หลายคนได้รับคำตอบจากธนาคารว่า ไม่ปล่อยกู้ให้ เพราะเป็นแบล็กลิสต์ ผมว่ามันไม่ใช่ ต้องเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลของ เครดิต บูโร ซึ่งก็มาจากการรวบรวมข้อมูลการกู้เงินของลูกค้าทั้งพอร์ตของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะถูกส่งมาที่เครดิต บูโร โดยไม่มีคอมเมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะไปกระทบกระเทือนถึงกรรมการแล้วก็ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ตอนนี้กฎหมายได้ตัดส่วนนี้ออกไปแล้ว ก็จะเป็นเฉพาะข้อมูลของผู้กู้ ทีนี้พอเข้าไปในระบบแล้ว ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้หยิบข้อมูลมาใช้ ในระบบที่ดีผู้ใช้บริการจะต้องได้รับข้อมูลที่แปลงแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่แปลงแล้ว คือ ข้อมูลที่เอามาคำนวณแล้วเป็นพอยต์ (แต้ม) อย่างในสหรัฐฯเมื่อคำนวณพอยต์เต็ม 1,000 มีพอยต์มากกว่า 750 ถึงจะเรียกว่าผู้มีเครดิต ถ้าคนไหนไม่มีเครดิตก็ยากที่จะสร้างเครดิตได้ ก็ต้องเอาบัตรเครดิตจากปั๊ม ห้าง แล้วเริ่มสร้างจากตรงนั้น

แต่ในไทยเราจะใช้ข้อมูลพวกนี้ไปทางลบมากกว่าบวก ก็คือ พอผู้รับได้ข้อมูล ธนาคารก็จะสกอร์การ์ดว่าจะให้หรือไม่ให้ ผู้รับข้อมูลจากเครดิต บูโรไปใส่สกอร์การ์ดของเค้า แต่เมื่อมีประวัติการชำระเงินไม่ดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร ไม่ปรากฏ ผู้รับต้องไปแปรผลเอง อย่างเกิดขึ้น เพราะสูญเสียเศรษฐกิจไม่ดี อันนี้ข้อมูลเครดิต บูโรส่งไปไม่มีข้อมูลตรงนี้ ไม่จ่ายก็คือไม่จ่าย อันนี้สำหรับพวกบุคคลที่เจอ

ตรง กันข้าม พวกค้าขายได้รับการเยียวยาหรือปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินอยู่แล้วใน ระดับหนึ่ง คือ หากมีโครงการใหม่ในอนาคต เปลี่ยนสินค้าที่ขาย วิธีการขาย สร้างโรงงานใหม่ สร้างบริการขึ้นมาใหม่ เครดิตก็จะมีการคำนวณฐานะทางการเงินในอนาคตเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็เกือบจากไม่ต้องคำนึงถึงข้อมูลของเครดิต บูโร แต่บุคคลอย่างรายย่อยหรือรายกลางไม่ได้รับการพิจารณาตรงนี้เลย มันติดแล้วติดเลย

ที นี้กฎหมายใหม่ที่จะออกมาก็พยายามจะทำให้บุคคลได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น คือ ทำสกอร์การ์ด แล้วให้ผู้ใช้ข้อมูลก็หยิบสกอร์การ์ด ไปใช้แทนที่จะเป็นข้อมูลดิบไป ก็อยู่ในกระบวนการที่เครดิตบูโรต้องทำ แล้วยิ่งทำเสร็จเร็วเท่าไหร่ ข้อมูลก็จะมีประโยชน์ใช้งานดีขึ้น

ปัญหาก็คือ สิทธิของผู้บริโภคต่อเรื่องนี้ ไม่ค่อยได้มีการศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เรามีกฎหมายเยอะในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ไม่ค่อยถูกนำมาเผยแพร่ เพื่อประชาชนรู้ว่าจะดูแลผลประโยชน์ของเขาได้อย่างไร เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามเผยให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย

ข้อมูลเรื่องเครดิต บูโร ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจ แล้วทุกคนหวั่นไหวกับมัน แล้วบางคนก็นำไปใช้เกินกว่าเหตุ ในเครดิต บูโรนั้น หากคุณผิดนัดชำระหนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ชื่อจะต้องถูกบันทึกไว้ 3 ปี ถ้าเกิน 3 ปีก็จะถอดทิ้ง คือข้อมูลคุณไม่ปรากฏ แต่ที่สำคัญคือข้อมูลนั้นยังอยู่ในฐานข้อมูลของแบงก์อยู่ดี เขาไม่ได้ถอดไปด้วย ตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล มันก็เหมือนกับการล้มละลาย ก็จะมีการบันทึกไว้ 3 ปี หลังจากนั้น ผู้ล้มละลายก็มีสิทธิ์ที่จะเริ่มต้นใหม่ เริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งกฎหมายของเครดิตบูโรก็คงใช้แบบอย่างอันนี้ ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้ ถ้าไม่มีการกู้ยืมหรือทำธุรกรรม ประวัติควรจะต้องลบหมด

“จริงๆ แล้วคำว่าแบล็กลิสต์เนี่ย มันไม่มีนะ มีแต่พอใจที่จะให้กู้หรือไม่ให้กู้แค่นั้นเอง ดังนั้น เมื่อมีตัวสกอร์การ์ดที่เครดิต บูโรจะต้องทำเนี่ย ต้องแสดงให้เห็นว่าคนไหนมีสกอร์เท่าไหร่ สกอร์ดีก็น่าจะเป็นกูด เครดิต ไปที่ไหนก็กู้ง่ายได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ปัจจุบันเรากับใช้ข้อมูลตรงนี้ไปเชิงลบ คนที่ไม่อยู่ในรายชื่อก็คือแค่ผ่านไม่ใช่เครดิตดีที่ควรได้อัตราดอกเบี้ยที่ ต่ำกว่าปกติหรือพิเศษ แต่คนที่มีรายชื่อก็ไม่ปล่อยกู้ ตรงนี้จึงต้องมีสกอร์การ์ด ไม่ใช่การแปลความเอาเอง โดยขึ้นอยู่กับผู้จัดการสาขาแบงก์หรืออะไร”

สินเชื่อบ้านอุปสรรคชีวิตคนไทย
ผมขอยกตัวอย่างสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเงินกู้ที่รายย่อยพอจะมี สิทธิ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่บ้านเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เช่น เราต้องการซื้อบ้านสักหลังหนึ่งราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเราก็อยากซื้อ ก็จะขาดเงินอยู่ 9 แสนบาท เพราะมีดาวน์อยู่แสนหนึ่ง แต่ธนาคารก็ไม่ให้ 9 แสนบาทเต็ม จะให้ประมาณ 7 แสนบาท ก็ต้องหา 2 แสนบาท ก็อาจจะต้องไปกู้ยืมนอกระบบที่ไหนก็ว่ากันไป แต่ 2 แสนนี่เป็นหนี้ที่ต้องชำระก่อน เพราะระยะเวลาสั้นกว่า คราวนี้ก็จะถูกบีบคั้น กลายเป็นว่าต้องชำระถึง 2 ก้อน พอหนี้ 2 แสนจบ ก็ผ่อนตัวหนี้ 7 แสนก็ผ่อนไม่ไหว ชีวิตก็ล้มเหลว ที่เป็นแบบนี้เพราะคุณไม่สนใจเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงของลูกหนี้ ส่วนรายกลางก็เหมือนกับรายย่อย แต่รายใหญ่ นั่งเจรจากันได้ เอาอย่างโน้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ อันนี้สภาพที่เป็นอยู่

ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้ ก็คือ ยิ่งพอเกิดสถานการณ์แบบนี้ เศรษฐกิจถดถอย ต้องมีคนตกงาน รายได้ลด ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะมีการค้างชำระหนี้อยู่ โดยเฉพาะพวกรายย่อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาเมินเฉยกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆ ที่ภาวะแบบนี้มันต้องมีการดูแล การเยียวยา ไม่มากก็น้อยกับผู้กู้รายย่อย ต้องให้โอกาสเขาบ้าง เพราะผู้กู้รายใหญ่ได้รับการเยียวยามาโดยตลอดอยู่แล้ว

หนุนพัฒนาบริษัทค้ำประกันเงินกู้
เรามาขยายความเรื่องการปัญหาเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวอย่างเดิมบ้านราคา 1 ล้านบาท มีเงินดาวน์ 1 แสนบาท ธนาคารปล่อยกู้ให้ 7 แสนบาท ที่เหลืออีก 2 แสนบาท ไปกู้นอกระบบ อาจจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน แต่ก้อนนี้มักจะเป็นระยะสั้นกว่าก็ต้องคืนก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือคุณรับภาระไม่ไหว ทางที่จะแก้ไขก็คือมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เข้ามาดูแล จึงควรมีการสร้างบริษัทค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ระบบการทำงานก็คือเราจ่ายค่าฟี (ธรรมเนียม) เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะเป็นการประกันว่า 2 แสนที่ขาดอยู่นี่ได้แน่ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดจากธนาคาร แล้วก็ไปทำจำนองอันดับที่ 2

แนว ทางในการบริหารของสถาบันนี้ก็ค่อนข้างระมัดระวังอยู่พอสมควร โดยส่วนแรกจะเป็นรายได้ที่มาจากค่าฟีของผู้กู้หลายรายนั้น น่าจะครอบคลุมส่วนของลูกหนี้ที่มีปัญหาซึ่งอาจจะแค่ 5-10% เท่านั้นเอง ส่วนที่ 2 ก็คือหลักประกันจากการจำนองอันดับ 2 นั้น ตัวทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก็คือบ้านหรือที่ดินนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ หรือไม่หยุดชะงักแล้วก็ขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอย่างนี้ตราบที่ราคาทรัพย์สินบ้านเรายังไล่ราคาทรัพย์สินใน เมืองใหญ่ของตลาดโลกไม่ทัน ทีนี้พอถึงเวลาอันควร เขาก็จะได้ส่วนแบ่งจะการยึดหรือขายทรัพย์มา

การเคหะฯต้องเป็นนโยบายระดับชาติ
นโยบาย ด้านการเคหะฯ จำเป็นต้องผลักดันให้เป็น National Housing Policy ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมี เป็นตัวที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ผังเมืองจนไปถึงระบบการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งควรจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ทั้งอายุการกู้ และที่สำคัญการมี National Housing Policy จะทำให้มีข้อมูลของทรัพย์ มีตลาดกลางของทรัพย์ จากปัจจุบันที่ลูกค้าต้องวิ่งดูเอง ไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางที่จะบอกว่าที่ไหนมีทรัพย์ซื้อ หรือขาย หนังสือพิมพ์ก็ได้แต่โฆษณา จึงควรต้องมีศูนย์ข้อมูลตรงนี้โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสอง

การมีแหล่งข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้ประชาชนมีปัจจัยที่สำคัญในการดำเนิน ชีวิตอย่างหนึ่งคือบ้านอย่างเหมาะสม อย่างชีวิตเราตอนที่ยังไม่โต ไม่มีครอบครัวก็เช่าบ้านที่มีห้องเดียวได้เพราะอยู่คนเดียว พอแต่งงานก็ยังอยู่ได้ แต่พอมีลูก 1 คน ก็ต้องขายที่พักที่มีห้องเดียว แล้วไปบ้านซื้อที่มี 2 ห้อง พอมีลูก 2 คน ก็ต้องเป็นบ้านที่มี 3 ห้องแล้ว แต่พอลูก 2 คนโตเข้ามหาวิทยาลัยหรือแต่งงานมีครอบครัวไป ก็ต้องกลับมาหาบ้านหลังเดียวอีกแล้ว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องแบกบ้าน 3 ห้องนอนไว้ ทำให้ต้องใช้แหล่งข้อมูลเรื่องตลาดบ้านมือสองมากขึ้น

National Housing Policy ยังมีความสำคัญในการที่วางแผนการพัฒนาประเทศว่าจะพัฒนากันอย่างไร มีเอ็นจิเนียริ่งอย่างไร แบบบ้านนี้น่าจะช่วยประหยัดพลังงานและเรื่องเงินผ่อนระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ฟิกซ์) ตลอดอายุ รัฐจะเข้ามาดูแลอย่างไร เพราะเรื่องดอกเบี้ยฟิกซ์นี่ธนาคารไม่กล้าทำอยู่แล้ว แต่เรื่องที่อยู่อาศัยนี่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาชน ต้องได้รับดูแล หากไม่มีการฟิกซ์ดอกเบี้ย เขาก็จะคำนวณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ได้ เดี๋ยวไปๆ มาๆ ที่จ่ายไปเป็นดอกเบี้ย 200 บาทเงินต้นแค่ 100 บาทก็แย่

การฟิกซ์ดอกเบี้ยแค่ 3 ปี 5 ปี ไม่ดี ต้องฟิกซ์ตลอดระยะเวลาการกู้ ภาครัฐต้องเข้ามา การทำ National Housing Policy ก็มีความเกี่ยวพันกับหลายกระทรวงหลายหน่วยงาน เพราะต้องดูแลคนหลายล้านคนที่ตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย ต้องเอาเรื่องนี้มาทำเป็นนโยบายอย่างจริงจัง ก็เคยมีคนผลักดันเรื่องนี้ แต่ไปไม่ได้ไกล เป็นนโยบายระยะยาวที่ต้องทำเพราะถือเป็นคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ

ปัจจุบัน การหาที่อยู่อาศัยของคนไทยยังไม่ค่อยเหมาะสม คืออยู่ที่ไหนแล้วก็อยู่เลย ไปทำงานที่ไหนไกลแสนไกล แต่ก็ไม่เปลี่ยนที่อยู่ เพราะอะไร เพราะคิดว่ามันยุ่งยาก ที่ยุ่งยากก็เพราะมันไม่มีตลาด ไม่มีข้อมูลตรงนี้ จริงๆ แล้วอาจจะมีคนอยากขายที่พักอาศัยตรงที่เราต้องการเยอะแยะ แล้วก็มีคนอยากจะซื้อตรงที่เราอยากขายอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีข้อมูลส่วนกลางตรงนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่รัฐบาลสนับสนุน


http://www.manager.co.th/business/viewnews.aspx?NewsID=9520000011893

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP)

ตอน – เครื่องมือการพัฒนาบุคลากรด้วย “การสอนงาน” การสอนงาน เป็น เครื่องมือพัฒนาบุคลากรแบบหนึ่งที่นำมาใช้พัฒนาความสามารถของพนักงาน ถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่ผู้สอนงานใช้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาพนักงานให้มี ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถเฉพาะตัว (Personal Attribute) ด้วยวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่วางแผนไว้เป็นอย่างดี ทำการสอนให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดขึ้น จนกระทั่งสามารถฝึกให้พนักงานปฏิบัติงานตามที่สอนให้บรรลุเป้าหมายตามที่ กำหนดไว้ โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interactive Process) ระหว่างผู้สอนงานและพนักงาน โดยมากการสอนงานมักจะเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล (One-on-One Relationship and Personal Support) ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสอนงานจึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรหรือลูกน้องของตนเอง ซึ่งจะเรียกผู้สอนงานว่า “Coach” โดยปกติผู้เป็น Coach สามารถเป็นผู้บริหารระดับสูง (Top Management Level) เช่น ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้อำนวยการ หรือเป็นผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management Level) เช่น ผู้จัดการอาวุโส ผู้จัดการฝ่าย หรือจะเป็นผู้บริหารระดับต้น (Low Management Level) เช่น ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้างาน เป็นต้น และเราจะเรียก ผู้ถูกสอนงานโดยปกติจะเป็นลูกน้องที่อยู่ในทีมหรือกลุ่มเดียวกันที่เรียกว่า “Coachee”

การสอนงานเป็นเครื่องมือการออกแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล มีการกำหนดเป้าหมายหรือผลงานที่ผู้สอนงานต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้น (Result – Oriented) ระหว่างผู้สอนงานและพนักงานที่จะต้องตกลงและยอมรับร่วมกัน (Collaborative) เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีหรือทางบวก (Positive Change) ด้วยอาศัยการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) โดยปราศจากอคติ มีการติดตามและประเมินผล เพื่อให้พนักงานมีสามารถนำสิ่งที่สอนไปใช้ต่อได้จริง ฝึกให้พนักงานคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ทั้งนี้การสอนงานนั้นมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการ 3 ประการ ได้แก่
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน - ผู้สอนต้องทำหน้าที่ในการกระตุ้นด้วยการชี้ให้เห็นแนวทางแก้ไข และให้พนักงานคิดแก้ไขปัญหาต่อเอง
เพื่อพัฒนาอาชีพเป็นการเตรียมให้พร้อมก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่ง - ผู้สอนจะต้องทบทวนผลงาน ความสามารถปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายในการสอนงานโดยเน้นพัฒนาความสามารถในตำแหน่งที่พนักงานจะเลื่อนขึ้นไป
เพื่อปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น - ผู้สอนจะต้องทำหน้าที่ในการค้นหาความสามารถที่โดดเด่น / ความสามารถที่ต้องปรับปรุงของพนักงาน และจัดลำดับความสำคัญของความสามารถที่จะพัฒนา หรือต้องการเสริม และพัฒนาตามลำดับ
ขั้นตอนการทำ Coaching – การสอนงานนั้น มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. ขั้นตอนการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ – ผู้บังคับบัญชาจะต้องวางแผนระยะเวลาการสอนงาน ระบุความคาดหวัง แผนการดำเนินการ เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ต้องการ และมีการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นหรือจุดเน้นที่ต้องการชี้แนะร่วมกัน เนื่องจากเครื่องมือการสอนงานนั้นจะเน้นไปที่การเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การ ปฏิบัติจริง เป็นการทำงานเชิงลึก (Deep Approach) และวางแผนร่วมกันว่าในแต่ละครั้งที่ดำเนินการสอนงานนั้น จะสอนงานลงลึกเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ

2. ขั้นตอนการสื่อสารและตกลงเป้าหมายร่วมกัน – ผู้บังคับบัญชาจะต้องสำรวจงานที่ต้องสอนให้กับพนักงาน โดยจัดลำดับความสำคัญของงานที่ควรสอนก่อน และพิจารณาร่วมกับทักษะและความสามารถที่จำเป็นต้องเสริมสร้างของพนักงานใน การทำงาน หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาต้องสื่อสารกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานรับรู้แนวทางในการสอนงานของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาควรตั้งคำถามเพื่อจุดประกายให้พนักงานเห็นความสำคัญ ของการพัฒนา ดังตัวอย่างของคำถามต่อไปนี้
“คุณต้องการบรรลุเป้าหมายอะไรในอนาคต”
“คุณมีความสามารถหรือข้อได้เปรียบอะไรที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย / สิ่งที่ต้องการพัฒนามีอะไรบ้าง”
“คุณจะเริ่มต้นอย่างไร”
“คุณกำหนดช่วงเวลาอย่างไร”
3. ขั้นตอนการเรียนรู้และการสอนจริง – กระบวนการสอนจริงเป็นกระบวนการให้พนักงานได้เรียนรู้ในเรื่องที่ผู้บังคับ บัญชาจะต้อง ประเด็นที่ผู้บังคับบัญชาต้องตระหนักและให้ความสำคัญก็คือ การสอนพนักงานนั้นจะต้องเลือกวิธีการสอนงานให้กับพนักงานตามความเหมาะสม พยายามให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สนใจสังเกตการทำงานของพนักงานภายหลังจากการสอนงาน และหมั่นสอบถามข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากพนักงานเสมอว่าเข้าใจงานที่สอนหรือไม่ มีปัญหาสงสัยในเรื่องใด ทั้งนี้ในการสอนงานนั้น ผู้บังคับบัญชาควรยกตัวอย่างประกอบการสอนงาน ให้ข้อแนะนำ และชมเชยเมื่อพนักงานทำถูกต้องเสมอ

4. ขั้นการติดตามและประเมินผลการสอน – ภายหลังจากที่ผู้บังคับบัญชาสอนพนักงานเสร็จแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การ ติดตามและประเมินผลการสอนงาน ไม่ว่าจะเป็นในช่วงระหว่างสอนเสร็จหรือช่วงภายหลังจากการสอนงาน ผู้บังคับบัญชาจะต้องติดตามการทำงานของพนักงานและแจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ให้พนักงานรับทราบ ขั้นตอนนี้ผู้บังคับบัญชาจะต้องประเมินการสอนงานของตนเองด้วยเช่นกันเพื่อ ปรับปรุง และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนงานให้เหมาะสมหากพนักงานยังไม่เข้าใจ

สรุปว่าการสอนงานเป็นเครื่องมือการ พัฒนาความสามารถของพนักงานได้ทุกระดับ สามารถนำไปพัฒนาได้ในหลายโอกาส การสอนงานจึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาพนักงานที่มีประสิทธิภาพ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแทบในทุกองค์การ การสอนงานเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้พนักงานทำงานและเรียนรู้งานไปด้วยใน ตัว อันนำไปสู่ทักษะความชำนาญที่เกิดขึ้นในการทำงานต่อไป

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์
p_arporn11@yahoo.com

เริ่มจัดการความรู้ด้วยการสร้าง "ค่านิยม KM" ในองค์กร

ต้อง ยอมรับว่าเวลากล่าวถึงการจัดการความรู้นั้น หลายๆ ท่านมักจะมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้ทรัพยากรเยอะ และที่สำคัญว่าผู้นำเบอร์หนึ่งขององค์กรต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้เคยแนะนำผ่านทางคอลัมน์นี้ไปแล้ว อย่างไรก็ดีมีหลายๆ ท่านอาจเห็นด้วยกับผมถึงคุณค่าอันมากมายที่ไม่สามารถมองเห็นได้ทันทีของการ จัดการความรู้ แต่ผู้นำในองค์กรหลายๆ ท่านอาจไม่เห็นด้วยกับการทำ KM เพราะมองว่าเสียเวลาเสียต้นทุนโดยไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ผู้นำในองค์กรบางท่านอาจรู้จักและเคยได้ยินว่าการจัดการความรู้ แต่ไม่รู้และเข้าใจอย่างแท้จริงว่าการจัดการความรู้ หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า KM ซึ่งย่อมาจาก knowledge management แท้จริงแล้วคืออะไร

ในฐานะที่เป็นนักวิชาการไทยทางด้านการจัดการ ความรู้ ผมจึงต้องทำหน้าที่ให้คำตอบต่อคำถามที่ถามเข้ามาหลายต่อหลายครั้งสำหรับ บุคลากรในองค์กรที่เห็นและเข้าใจในเรื่องของ KM แต่เกิดอุปสรรคจากการที่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรไม่มีความเข้าใจและเห็น คุณค่าของการทำ KM อย่างแท้จริง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากมากต่อการผลักดันให้เกิดการทำ KM ขึ้นมาในองค์กร

จริงๆ แล้วผมพยายามสื่อให้คนทั่วไปรับรู้ว่า KM มิใช่เรื่องยาก และได้เคยกล่าวแนะนำผ่านทางคอลัมน์นี้ว่า KM เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เราทุกคนกระทำกันอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว แต่การทำ KM เป็นการเน้นให้บุคลากรในองค์กรเห็นถึงกระบวนการจัดการความรู้ที่ชัดเจนมาก ขึ้น และทำให้วงจรของกระบวนการจัดการความรู้หมุนไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง และองค์ความรู้ใหม่ๆ นี่เองที่เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนให้ความสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า นวัตกรรม นั่นเอง และหลายๆ องค์กรสามารถอาศัยอยู่ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอันดุเดือดภายใต้สภาพ เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ตกต่ำได้ ก็เพราะการสร้างนวัตกรรมในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมประเภทสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน หรือนวัตกรรมประเภทอื่นๆ

ก่อนอื่นเมื่อท่านเข้าใจ แล้วว่า จริงๆ แล้ว KM มิใช่เรื่องยากและทำแล้วก่อให้เกิดสิ่งดีๆ ต่างๆ มากมายต่อองค์กร แต่ติดอยู่ที่ว่าผู้บริหารของท่านไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพที่แท้จริงของการ จัดการความรู้ ผมจึงต้องแนะนำว่าอย่าเพิ่งท้อแท้ใจ ในเมื่อเราเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของ KM และสิ่งหนึ่งที่ขาดมิได้เลยในความเป็นคนที่สนใจเรื่อง KM ก็คือ การเป็นผู้เพียรพยายามใฝ่รู้ ในกรณีนี้ให้นึกว่าท่านเป็นผู้ที่เพียรพยายามใฝ่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะ เริ่มทำ KM ขึ้นในองค์กรของเราได้โดยที่มิต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของ องค์กรที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องของ KM

อย่างที่ผมได้เกริ่นไว้แล้ว ว่า KM เป็นเรื่องของธรรมชาติ การเรียนรู้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ตื่นขึ้นมาเพื่อรับรู้ มิฉะนั้นเราคงไม่มีสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ หรือสื่อที่ทุกคนให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ณ ปัจจุบันนั้นก็คือสื่ออินเทอร์เน็ต ในทุกวันนี้เราเสพสื่อต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาก็เพราะว่าเป็นความต้องการทางธรรมชาติของเราที่ใคร่อยากที่ จะรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นรอบตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เราสนใจ เช่น ถ้าท่านสนใจกีฬา ท่านก็ชอบอ่านข่าวกีฬา ท่านสนใจการเมือง ท่านก็ชอบอ่านข่าวการเมือง และถ้าลองนึกกันให้ดี ท่านอาจได้เข้าไปทำการจัดการความรู้ในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาหรือ content เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านสนใจโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นกลยุทธ์ในการเริ่มจัดการความรู้ในองค์กรในสถานการณ์ที่มีความ จำกัดในการสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง คือการพยายามทำ KM แบบที่ไม่รู้ตัวและให้บูรณาการไปกับการบริหารงานหรือการทำงานของท่านในแต่ละ วัน

ต้องขออนุญาตกล่าวย้ำเตือนท่านผู้อ่านให้ทราบว่า กิจกรรมหลักๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการความรู้นั้นก็คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การจัดเก็บความรู้ การแพร่กระจายความรู้ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพราะฉะนั้นนี่เป็นหลักง่ายๆ ที่ท่านสามารถใช้เป็นหลักแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ในทีมงานของท่านมากที่สุด ถึงแม้ท่านจะไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูง แต่ท่านสามารถเริ่มทำ KM อย่างง่ายๆ ได้ในทีมงานของท่าน โดยที่ไม่ต้องอาศัยทุนรอนมากมายหรือความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และใคร่อยากจะแนะนำว่า เมื่อท่านทำ KM ในทีมงานของท่านจนประสบความสำเร็จ บุคลากรในทีมงานของท่านจะรู้สึกดีไปเอง เพราะข้อดีในจำนวนในหลายๆ ข้อของการทำ KM คือการทำให้การทำงานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญทำให้เพื่อนร่วมงานมีความเป็นทีม ไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น และสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นที่ประจักษ์ให้ทีมงานอื่นๆ เห็นเอง และก็จะกลายเป็นกระแสหรือเป็นค่านิยม และจุดนี้เองที่จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงหันมองเห็นความสำคัญของ KM และมีความต้องการอย่างแท้จริงที่อยากจะเข้าใจแล้วว่า จริงๆ แล้ว KM คืออะไร และก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างไรบ้าง

สำหรับ กระบวนวิธีในการเริ่มทำ KM ในทีมงานของท่านนั้น ท่านมิจำเป็นที่จะต้องประกาศให้ลูกน้องของท่านทราบว่า เรากำลังจะทำการจัดการความรู้ในทีมงาน เพราะหลายๆ คนพอได้ยินคำประกาศมักจะมองว่า การทำ KM เป็นการที่ทำให้งานงอกเงยขึ้นมาโดยไม่จำเป็น เพราะลำพังงานแต่ละวันที่มีอยู่ก็เยอะอยู่แล้ว และคำถามต่อไปที่ลูกทีมของท่านจะถามในใจของพวกเค้าก็คือ ทำแล้วได้ผลตอบแทนอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วในหลายๆ องค์กรมีความพยายามที่จะใช้ผลตอบแทนหรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เป็นตัวกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการทำ KM แต่ในความคิดเห็นของผมนั้น ผมมองว่ารางวัลเหล่านั้นมิใช่ตัวตอบโจทย์ที่แท้จริงเพื่อให้บุคลากรในองค์กร เห็นคุณค่าอันแท้จริงของการทำ KM แต่การที่บุคลากรรู้สึกว่าทำ KM แล้วรู้สึกว่าทำงานได้ดีขึ้น รู้สึกว่าตัวเองเก่งขึ้น รู้สึกว่าทำงานแล้วผลการดำเนินงานออกมาดีขึ้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้บุคลากรเห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของการทำ KM ซึ่งต้องอาศัยความพยายามของหัวหน้าทีมหรือผู้นำพอสมควรในการพยายามทำ KM จนสำเร็จเพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้สึกต่างๆ ที่ว่าได้

เพราะ ฉะนั้นขอกล่าวสรุปว่า มิใช่จะเป็นอะไรที่เป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะเริ่มทำ KM ในองค์กรของท่านโดยที่ท่านมิได้เป็นผู้บริหารระดับสูง หรือโดยที่ผู้บริหารระดับสูงของท่านไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของการทำ KM ในองค์กร แต่กลยุทธ์ที่ผมขอนำเสนอ ณ ที่นี้คือ ท่านสามารถเริ่มทำ KM ในทีมงานของท่านโดยที่ทำไปโดยไม่ให้ลูกทีมของท่านรู้ตัว และให้ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน หรืออีกนัยหนึ่งคือท่านทำให้การทำ KM ถูกกลืนไปกับการทำงานในแต่ละวันของทีมงานของท่าน และขอให้ท่านอดทนกับการทำ KM เพราะถ้ามองโดยอ้อมแล้วนั้น การทำ KM ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารใจของลูกทีมของท่าน การบริหารใจคนนั้นมิใช่เรื่องง่าย แต่ก็มิใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ตราบใดที่ท่านเป็นเจ้านายที่ดีและมีใจที่ ปรารถนาดี ที่คิดว่าอยากให้ลูกทีมมีความสามารถมากขึ้น เก่งขึ้น มีพัฒนาการในการทำงาน และอยากที่จะเห็นพวกเค้าประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ถ้าท่านเป็นเจ้านายที่วันๆ จ้องแต่ที่จะมอบหมายงานให้ลูกน้อง เพื่อให้มีงานออกมาเป็นผลงาน และส่งผลดีต่อตนเอง ผมว่าเจ้านายประเภทนี้มิใช่เจ้านายที่เหมาะต่อการทำ KM และมิใช่ประเภทของเจ้านายที่จะบริหารใจลูกน้องได้

อ่านมาถึง ย่อหน้านี้ หลายๆ ท่านอาจเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วจะหาวิธีการใดบ้างในการทำการจัดการความรู้ภายในทีมงานแบบไม่ให้ลูกน้อง รู้ตัว หรือเพื่อกลืนไปกับการทำงานแต่ละวัน และที่สำคัญมิต้องลงทุนเพราะองค์กรมิได้อนุมัติงบประมาณให้ท่านทำ KM ซึ่งเรื่องวิธีการนั้น ผมขออนุญาตกล่าวแนะนำในบทความต่อๆ ไป แต่ ณ วันนี้ ถ้าท่านผู้อ่านหลายท่านสนใจที่จะเริ่มทำ KM จริงๆ ผมขออนุญาตให้การบ้านท่านเริ่มทำการคิดว่าในทีมงานของท่าน ท่านคิดว่าเราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไรบ้าง หรือถ้าจะให้ง่ายสมมุติว่า ท่านจะสร้างห้องสมุดเล็กๆ ขึ้นมาสักห้องหนึ่ง เพื่อให้ทีมงานของท่านใช้เป็นที่หาความรู้เพื่อใช้ในการทำงาน ท่านอยากให้ห้องสมุดของทีมงานของท่านมีหมวดหมู่องค์ความรู้เรื่องใดบ้าง กระบวนการดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักการทางด้านการจัดการความรู้ที่เรียกว่า การทำ knowledge map หรือแผนที่ความรู้ นอกจากนี้ขอให้ท่านลองนึกถึงกระบวนการบริหารงานของท่านว่า ท่านบริหารงานกับลูกทีมของท่านอย่างไร อาทิ ท่านมอบหมายงานอย่างไร ท่านตามงานที่ได้มอบหมายไปแล้วอย่างไร ท่านตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับงานอย่างไร แล้วในบทความถัดไป ผมจะนำเสนอถึงวิธีง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนมากนักในการทำ KM ในทีมงานของท่าน

สุด ท้ายนี้ต้องขอกล่าวย้ำเตือนว่า ถ้าท่านสนใจที่จะทำ KM จริงๆ แต่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรยังไม่เห็นด้วยกับท่าน ท่านอย่าเพิ่งท้อแท้ใจ สำหรับสังคมการทำงานแบบไทยๆ นั้น บางทีเรื่องของการทำ KM เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการจะทำให้คนในองค์กรเห็นภาพของคุณค่าอันแท้จริง ของ KM และจนบัดนี้ผมมองว่ายังไม่มีวิธีไหนที่จะดีเท่ากับการที่จะต้องทำให้ KM ให้สำเร็จเห็นเป็นผลดีก่อนจนก่อให้เกิดกลายเป็นค่านิยมไป ซึ่งเมื่อ KM กลายมาเป็นค่านิยมในองค์กรแล้ว ถึงเวลานั้นท่านคงไม่ต้องเหนื่อยในการชักจูงใจผู้บริหาร หรือเพื่อนร่วมงานในการมาทำ KM เพราะทุกคนจะมาทำกันเองตามค่านิยม ดังสำนวนไทยที่เราทุกคนพูดกันติดปากว่า "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม"

คอลัมน์ องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้
โดย ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ Mongkolchai@acc.chula.ac.th

http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edi06290152&day=2009-01-29§ionid=0212

จิตสำนึกคุณภาพ อาวุธสำคัญเพื่อความอยู่รอด

เห็น ข่าวคราวเรื่องปัญหาแรงงานที่ลุกลามไปทั่วไทย ไม่เว้นแม้นานาชาติแล้ว ก็ได้แต่แอบถอนใจ ที่ต้องแอบนั้นก็เพราะไม่อยากให้มาเป็นเรื่องหนักกระทบกับจิตใจและการดำเนิน ชีวิต

เพราะอย่างไร ชีวิตก็ต้องก้าวต่อไป การหดหู่แล้วท้อถอยไม่ใช่เรื่องที่ดีหากมีเกิดขึ้น และในภาวะเช่นนี้คนทำงานกลับยิ่งต้องฝึกฝนและพัฒนาตัวเองกันมากขึ้น

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ ที่ปรึกษาอิสระ บอกว่า คุณภาพ (Quality) เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงในการปฏิบัติงาน ทั้งภาคการผลิต และบริการ คุณภาพนั้นถือเป็นอาวุธที่สำคัญยิ่งในการต่อสู้กับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ณ ขณะนี้ จากภาพข่าวหลายครั้งจะพบว่า ปัญหาการเรียกเก็บสินค้าคืนจากบริษัทผู้ผลิต เนื่องจากพบว่าสินค้านั้นไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการปลอมปนของวัตถุดิบที่เป็นอันตราย อย่างที่ได้ทราบๆ กัน

จะเห็นว่าผู้บริโภคในปัจจุบันใส่ใจและให้ความสำคัญ โดยการเลือกใช้สินค้าที่ดีมีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตในปัจจุบันต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้าดังกล่าว จะเห็นว่าเกือบทุกหน่วยงานได้นำเอาระบบบริหารคุณภาพต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ISO 9000:2000 TS/ISO 16949 เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะสามารถผลิตสินค้าได้ดี และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า

ถ้ากล่าวถึงคำว่าคุณภาพ เรื่องรู้ความสำคัญก็เชื่อว่าก็รู้กันดีอยู่ แต่ “จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า จริงๆ แล้วคุณภาพนั้นมีความสำคัญขนาดไหน?” คุณภาพถือเป็นสิ่งที่สำคัญและส่งผลต่อความเป็นอยู่ของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ไม่ดีนอกจากจะเสียเงินเสียทองในการเรียกเก็บของคืนแล้ว สิ่งที่เสียไปอย่างยิ่งก็คือเรื่องความน่าเชื่อถือ

สินค้าที่ดีมีคุณภาพเกิดจากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เริ่มจากพนักงานผู้ปฏิบัติงานนั้นมีจิตสำนึกที่ดีต่อคุณภาพ (Quality Awareness) ซึ่งจิตสำนึกคุณภาพนี้เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานฝันอยากให้เกิดขึ้นกับพนักงาน ของตน เพราะถ้าบริษัทใดมีพนักงานที่มีจิตสำนึกคุณภาพแล้วละก็ แน่นอนสินค้าหรือบริการที่ได้นั้นก็จะมีคุณภาพดีตรงตามความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Need and Satisfactions)

จิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีการรับรู้ถึงผลกระทบที่ได้จากการปฏิบัติงาน หรือมีสติรู้ว่าขณะปฏิบัติงานนั้น ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการที่ได้มีคุณภาพ หรือได้มาตรฐานตรงตามที่กำหนดเอาไว้ ประโยชน์ที่ได้จากการที่พนักงานมีจิตสำนึกคุณภาพ คือ ปริมาณของเสีย (Defect) การแก้ไขงาน (Rework) หรือ การหยุดรองาน (Delay) ลดน้อยลง ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือเครื่องจักรสูงขึ้น

องค์ประกอบที่สำคัญของจิตสำนึกคุณภาพ

1.องค์กร หรือหน่วยงาน (Organization)

ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ดังคำพูดที่ว่า “เมื่อหัวส่าย หางก็กระดิก” โดยควรจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพ เช่น การนำระบบบริหารคุณภาพ ISO เพื่อมาควบคุม บริหารจัดการกระบวนการ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร หรือ TQM (Total Quality Management) เพื่อสร้างกิจกรรมคุณภาพให้กับพนักงานทุกคน กิจกรรมวันคุณภาพ หรือ Q Day (Quality Day) เพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารเข้ามาตรวจสอบในวันนั้นด้วย

นอกจากนี้ ควรจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Control Cycle การจัดบอร์ดเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างชิ้นงานที่ดีหรือเสียเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารให้กับพนักงานได้ ทราบอีกทางหนึ่ง

2.หัวหน้างาน (Supervisor)

เป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างให้เกิดคุณภาพในองค์กร ด้วยเหตุที่ว่าเป็นผู้ที่คอยประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงาน ระดับล่าง โดยการวางแผนการดำเนินงาน และสื่อสารไปยังพนักงานผู้ปฏิบัติให้มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และความสำคัญของคุณภาพ รวมไปถึงแผนการดำเนินงานต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน โดยปราศจากความผิดพลาด

นอกจากนี้ หัวหน้างานควรประชุมเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น ปัญหาคุณภาพ และแนวทางการแก้ไข ป้องกัน การเปลี่ยนแปลงขั้นตอน หรือวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้พนักงานได้ทราบข้อมูลที่ทันสมัย สุดท้ายหัวหน้างานควรติดตามการปฏิบัติงานของลูกน้องหรือสมาชิกในทีมอย่าง ใกล้ชิด เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างทันเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดของเสียหรือชิ้นงานไม่ได้มาตรฐานเกิดขึ้น

3.พนักงาน (Operator)

นับเป็นหัวใจหลักในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น เพราะพนักงานคือผู้ที่หยิบ จับ หรือสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง ดังนั้น คุณภาพจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่พนักงานนี่เอง

พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพได้ มีความสนใจในนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของหน่วยงาน มีความรู้ ความเข้าใจในหน้าที่ที่ตนปฏิบัติอย่างผู้รู้จริง ไม่รู้แบบงูๆ ปลาๆ ตั้งใจและเอาใจใส่ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน ต้องเป็นผู้ที่หมั่นสังเกตความผิดปกติ เพื่อค้นหาจุดบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างที่มีการปฏิบัติงาน เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างาน ปฏิบัติตามเอกสารควบคุมและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สุดท้ายมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ เป็นต้น

นอกจากองค์ประกอบทั้งสามแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานให้เหมาะสม และสอดคล้องต่อการปฏิบัติงาน เช่น มีการจัดเก็บทำความสะอาดก่อนและหลังการทำงานให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานเสมอ ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดคุณภาพในการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนในการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ

1.ประเมินระดับจิตสำนึกคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามกึ่งวิจัยเพื่อทำให้ทราบระดับจิตสำนึกคุณภาพของพนักงานก่อนเริ่มดำเนินโครงการ
2.รณรงค์ ส่งเสริม โดยผู้บริหารระดับสูง
3.จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริม
4.กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานในทุกพื้นที่
5.วิเคราะห์หาจุดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข
6.ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
7.ติดตามผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน เช่น ปริมาณของเสีย ความผิดพลาด
8.ประเมินระดับจิตสำนึกคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามกึ่งวิจัย เพื่อทำให้ทราบระดับจิตสำนึกคุณภาพของพนักงานก่อนจบโครงการ
9.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก
การที่จะสร้างจิตสำนึกคุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรได้นั้นใช้ระยะเวลาค่อนข้าง นาน และต้องใช้ความรู้ ความสามารถผ่านกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องใช้ความอดทนและความร่วมมือ เอาใจใส่อย่างเอาจริงเอาจังของพนักงานทุกคน ถ้าทำได้อย่างนี้ สินค้าหรือบริการก็จะมีคุณภาพที่ดีเลิศตรงตามความต้องการและสร้างความพึงพอ ใจสูงสุดให้กับลูกค้า

ที่มา หนังสือพิมพ์ Posttoday วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2551

http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=816