วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รัฐบาลไม่ล้มภายในเร็วๆนี้แน่! ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

วันนี้ประชาชนกำลังเดือดร้อน วิกฤตการเมืองกระทบการลงทุน ถ้าไม่มีความสงบทางการเมืองก็ไม่มีทางพัฒนาเศรษฐกิจได้ ที่สำคัญขณะนี้ประเทศไหนที่พึ่งการส่งออก โดนกระทบกระเทือนเศรษฐกิจหมด วิกฤตเศรษฐกิจซ้ำเติม ทั่วโลก

ทั้งนี้รัฐบาลเรามีปัญหาทางการเมือง อยากแนะนำอีกครั้งให้ทำงานให้หนัก วันธรรมดาพบปะภาคส่วนต่างๆ สอบถามปัญหา วันหยุดออกต่างจังหวัดรับฟังปัญหาเกษตรกร ถ้าให้รัฐมนตรีรับผิดชอบคนละ 2 จังหวัด มี 36 คน สัปดาห์หนึ่งจะไปได้70 จังหวัด ทำอย่างนี้ทุกอาทิตย์

และภาพที่เห็นคือนายกฯ จะลงพื้นที่ แต่พอจะออกต่างจังหวัดก็เจอตีนตบ ไปไหนไม่ได้ แล้วประเทศนี้จะเดินไปอย่างไร วันนี้ไม่มีสมองเหลือคิดแก้ปัญหาให้ประชาชน เพราะแค่การที่รัฐบาลเอาตัวรอดเป็นรัฐบาลต่อได้ก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว

ปัญหาใหญ่ของการพัฒนาทุกประเทศคือคุณภาพประชากร รัฐบาลพูดถึงแต่ระบบการศึกษาเรียนฟรี15 ปี แต่ไม่เคยพูดเรื่องคุณภาพการศึกษาจะทำอย่างไร การเรียนฟรีมันเป็นทางอ้อม เรื่องใหญ่คือคุณภาพคนสอน และระบบการเรียนการสอน ที่จะให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างนี้ยังไม่เห็นชัด

นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาเกษตรกร ที่มี39 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคตคนจะออกจากภาคเกษตรมาก เพราะถ้าประเทศไหนมีคนอยู่ในภาคเกษตรมากนั่นคือประเทศล้มเหลวเรื่องการศึกษา

ทั้งนี้ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี เคยบอกห้าปีแก้ปัญหาความยากได้จน เขากล้าหาญมากที่ประกาศอย่างนั้น แม้แต่อำเภออาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ที่ลงไปทำโมเดลแก้จนก็ยังจนเหมือนเดิม วันนี้รัฐจะเอาที่ดินกรมธนารักษ์ให้เช่าไร่ละ10 บาท ถามว่ามีที่ดินแล้วเลิกจนหรือไม่ ก็ยังจนเหมือนเดิม มีสินเชื่ออย่างธกส.มาสิบกว่าปีก็ยังจนอยู่

วิธีแก้จนมีอยู่ 2 อย่างคือทำให้เกษตรกรมีอาชีพมั่นคง ไม่มีหนี้ ก็เลิกจน แต่จะทำอย่างไร เรื่องการเกษตรพูดง่ายรัฐบาลชอบพูดเรื่องทำชลประทาน เพื่อให้มีน้ำ แต่ขณะนี้ใช้ชลประทานระบบเดิมก็มีข้าวประมาณ 10 ล้านตัน แต่ข้าวยังราคาถูก ก็ไม่ได้กำไร แม้จะมีผลผลิตมากขึ้นหากไม่มีการจัดการเกษตรกรก็ยังจนเหมือนเดิม

การแก้ไขคือ ที่ดิน ราคาผลผลิต เราไม่มีอะไรเป็นวาระแห่งชาติระยะ เช่น การผลิตพลังงานทดแทน เพื่อลดการสั่งเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ จึงจะแก้ปัญหาได้ หากรัฐยังไม่เข้าแก้ปัญหาเชิงรุก รัฐบาลโฆษณาบอกหากผ่านเงินกู้คนจะไม่ตกงาน แต่ไม่บอกอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้รัฐบาลต้องไปดูเรื่องการส่งออกแต่ละเซคเตอร์ แต่ต้องใส่ใจ ทำงานให้หนัก

รัฐบาลต้องรู้จักคิดโครงการที่ทำให้เอกชนเข้ามาทำเงินสมทบให้มาก เช่น การสร้างโรงพยาบาลทั่วประเทศในวงเงินแสนล้านบาท ทำงบผูกพันสิบปี ให้เอกชนมาลงทุนแทนรัฐผ่อนส่งปีละหมื่นล้าน แต่รัฐไม่ทำโครงการลักษณะอย่างนี้ จะทำให้เกิดการสร้างงาน หรือการกระตุ้นให้ซื้อบ้าน ให้เอกชนลงทุนร้อยเปอร์เซ็นต์ วิธีคิดคือรัฐใส่เงินลงน้อย ให้เอกชนลงทุนมาก ถึงจะเห็นผล

รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีศักยภาพทางการเมือง รับมือได้ แต่ทางเศรษฐกิจจะต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นผลกระทบทางการเมืองได้ รัฐบาลมีโอกาสแก้ไขปัญหา แต่ต้องเข้าใจปัญหา โดยเฉพาะปัญหาความยากจน รัฐต้องให้ความสนใจ 6เดือนรัฐยังไม่หยิบการแก้ปัญหายากจนชัดเจน ประชาชนยังเดียวดาย

แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่ารัฐบาลไม่ล้มภายในเร็วๆ นี้ และปีนี้คงไม่เห็นการเปลี่ยนรัฐบาล เพราะฝ่ายค้านยังอ่อนแอ หัวหน้าฝ่ายค้านตัวจริงยังอยู่ต่างประเทศ ทำให้รัฐบาลมีโอกาส แต่ต้องแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมชัดเจน

นานาทัศนะ 16 มิถุนายน 2552 11:31:15 http://www.innnews.co.th/sombat.php?nid=176347

กรรมการสมานฉันท์แก้ปัญหาได้จริง? ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

ในขณะนี้ทางรัฐบาลได้ตั้ง "คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ขึ้นมา โดยกรรมการชุดนี้ มีสัดส่วนจากฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้านส.ว.และนักวิชาการ ซึ่งกรรมการที่ไม่ได้มาจากรัฐบาลคงไม่ตกเป็นเครื่องมือรัฐบาลอย่างที่หลายฝ่ายเป็นกังวลกัน

อีกทั้งการให้เวลาทำงานเพียง 45 วัน ถือว่าไม่นาน และอาจน้อยไปด้วยซ้ำ ดังนั้น "เพียงเวลาเท่านี้อาจซื้อเวลาไม่ได้" และทุกคนก็อยากทำให้เสร็จ อย่างไรก็ตาม การใช้เวลาน้อยอาจทำให้ไม่ได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วน เพราะการรวบรวมความคิดเห็นจากประชาชนเวลาเพียง 45 วัน อาจไม่พอ

ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองต่าง ๆนั้น เป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่เสนอแก้ไขได้ และทุกฝ่ายควรเปิดใจกว้างรับฟัง เพราะหากไม่ฟังอาจทำให้เกิดปัญหาว่า ให้คนไม่รู้เรื่องการเมืองมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ท้ายที่สุด กระบวนการรัฐสภาต้องตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรกับประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ รวบรวมมา ทั้งนี้ หากเห็นว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวนมาก อาจจะเสนอตั้ง "สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ใหม่" ก็ได้

ส่วนข้อเสนอให้ทำ "ประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ" นั้นหากลงประชามติทั้งฉบับไม่น่ามีประโยชน์ เพราะต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับแต่ละประเด็นย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และที่สำคัญยังไม่มีกฎหมายรองรับการทำประชามติในขณะนี้ ดังนั้น หากสอบถามเพียงบางประเด็นน่าจะพอรับฟังได้

สำหรับข้อเสนอ "นายกรัฐมนตรีคนนอก" นั้นเป็นสิ่งที่รับฟังได้ เพราะประเทศสหรัฐอเมริกาที่ถือว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตย ยังเคยมีประธานาธิบดีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพราะไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า สนับสนุนให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอก เพียงแต่มองว่าควรเปิดช่องสำหรับหาทางออก หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

ทั้งนี้การจะทำให้เกิด "แนวทางสร้างสมานฉันท์" อย่างเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์แบบต้องเสนอประเด็นต่อประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นให้เกิดข้อยุติ แต่ถ้าจะให้ดำเนินการเพียงรวบรวมประเด็นแล้วนำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ไปดำเนินการต่อเวลาเพียงเท่านี้ อาจจะไม่เป็นปัญหา

อย่างไรก็ตามสิ่งที่มองว่าอาจจะเป็น อุปสรรค บ้างจากการทำหน้าที่เป็นกรรมการร่วมกับฝ่ายการเมือง คือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทำได้แค่เสนอความเห็น แต่เมื่อมีการโหวตเราที่เป็นเสียงส่วนน้อยก็มักจะแพ้

หรืออาจจะพูดง่ายๆ ว่าฝ่ายการเมืองมีธงชัดเจนอยู่แล้ว การเสนอความเห็นที่แตกต่างออกไปมักจะไม่ได้รับการสนองตอบ

แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ด้านระบบขนส่งทั้งหมด 571,523 ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
วงเงินที่ ครม.อนุมัติให้กระทรวงคมนาคมลงทุนโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและให้เกิดการจ้างงาน ตามนโยบายของรัฐบาล
ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 นั้น รวมเบ็ดเสร็จ 571,523 ล้านบาท จากกรอบวงเงินลงทุนทั้งโครงการ 676,250 ล้านบาท
แยกเป็น

- ปี 2553 จำนวน 125,318 ล้านบาท
- ปี 2554 จำนวน 198,056 ล้านบาท
- ปี 2555 จำนวน 248,148 ล้านบาท

+ ผูกพันในปีงบประมาณต่อไป 106,469 ล้านบาท สำหรับโครงการใช้เวลาก่อสร้างเกิน 3 ปี

...

” ครั้งนี้ได้รับการจัดสรรมาก เพราะโครงการของกระทรวงส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ตรงกับเหลักเกณฑ์ที่รัฐบาล กำหนด
คือสามารถทำได้ทันที เกิดการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงๆ”

ผู้อำนวยการ สนข.แจกแจงว่า โครงการที่จะลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับแบ่งเป็น 5 ด้านด้วยกัน คือ

- ระบบรถไฟฟ้า
- ระบบขนส่งทางราง
- ระบบขนส่งทางถนน
- ระบบขนส่งทางน้ำ
- ระบบขนส่งทางอากาศ

ซึ่งบางส่วนเป็นโครงการอยู่ในงบประมาณปี 2553 แม้งบฯปี 2553 ของกระทรวงคมนาคมจะถูกตัดไป
เหลือแค่ 7 หมื่นล้านบาทเศษ แต่ได้รับจัดสรรมาอยู่ในงบฯฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 แทน

ตามแผนการดำเนินงาน กระทรวงการคลังจะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 พร้อมดำเนินการทันทีในปีงบประมาณ 2552-2553
วงเงินลงทุนรวม 91,137 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.ระบบรถไฟฟ้า เป็นการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าระยะแรก จำนวน 5 สายทาง 6 ช่วง ระยะทาง 118 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 162,060 ล้านบาท จากกรอบโดยรวมทั้งโครงการ 168,586 ล้านบาท แยกเป็น
+ โครงการระบบรถไฟฟ้า 4 สายทาง จำนวน 77 โครงการ ดำเนินการโดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
แห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แก่
- สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 38,765 ล้านบาท
- สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 18,514 ล้านบาท
- สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 24,184 ล้านบาท
- สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค 30,891 ล้านบาท
+ โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
มีสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 6,713 ล้านบาท และช่วง บางซื่อ-รังสิต 42,993 ล้านบาท

2.ระบบขนส่งทางราง เงินลงทุนรวม 17,636 ล้านบาท อยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท.แยกเป็น
+ จัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 308 คัน 770 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 7 คัน 1,050 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 7 คัน 833 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางระยะที่ 5 ช่วงแก่งคอย-แก่งเสือเต้น สุระนารายณ์-บัวใหญ่ ชุมทางถนนจิระ-บัวใหญ่
ระยะทาง 308 กิโลเมตร 6,809 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางระยะที่ 6 ช่วงชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร 5,423 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ 13 คัน 1,950 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ 800 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน ของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงินรวม 3 ปี 154,560 ล้านบาท
จากกรอบทั้งโครงการ 192,629 ล้านบาท แก้ไขปัญหาจราจรพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และเมืองหลัก คือ
+ แยก ทล.บางปู-คลองกระบือ ตอน 2 ส่วนที่ 1 และ 2 และต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 9 วงเงิน 2,820 ล้านบาท
+ ทางสนับสนุนการขนส่งแบบต่อเนื่อง 670 ล้านบาท
+ ขยาย 4 เลน 11,579 ล้านบาท
+ เพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 7,200 ล้านบาท
+ ก่อสร้าง บูรณะ ปรับปรุงสะพานทั่วประเทศ 1,700 ล้านบาท
+ บูรณะทางสายหลัก 12,000 ล้านบาท
+ ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ สายชุมพร-กระบุรี ตอน 1 เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ง 872 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยว ตัดผ่านชุมชน ปรับปรุงลาดยาง 9,100 ล้านบาท
+ บำรุงรักษาทาง 51,631 ล้านบาท
+ งานอำนวยความปลอดภัย เช่น ติดตั้งไฟฟ้า ไฟสัญญาณจราจร ตีเส้น เครื่องหมายจราจร 12,870 ล้านบาท
+ โครงการถนนปลอดฝุ่น 34,340 ล้านบาท
+ สะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 3,796 ล้านบาท
+ ถนนสายแยก ทล. 314-อ.ลาดกระบัง 3,536 ล้านบาท
+ ถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวตะวันออก-ตะวันตก) 2,450 ล้านบาท

4. ระบบขนส่งทางอากาศ ตัดงบฯซื้อเครื่องบินของบริษัทการบินไทย กว่า 4.9 หมื่นล้านบาทออก
ให้รอแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเหลือเงินลงทุน 1,638 ล้านบาท
- ปรับปรุงท่าอากาศยานในภูมิภาค 4 แห่งที่ปาย หัวหิน กระบี่ และนราธิวาส 662 ล้านบาท
+ ปรับปรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา วงเงิน 976 ล้านบาท

----

ประเภทที่ 2 เป็นโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการขั้นตอนต่างๆ แต่สามารถดำเนินการในปี 2553-2554
วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 164,286 ล้านบาท ได้แก่

1. ระบบรถไฟฟ้า วงเงินลงทุนรวม 54,116 ล้านบาท เป็นงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่อจาก ระยะแรก
ขณะนี้กำลังทำแบบรายละเอียดและทบทวนแผนแม่บท ประกอบด้วย
+ สายสีเขียวเข้ม จากสะพานใหม่-ลำลูกกา 14,219 ล้านบาท
+ สายสีเขียวอ่อน จากสมุทรปราการ-บางปู 7,419 ล้านบาท
+ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 22,266 ล้านบาท
+ สายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี 10,212 ล้านบาท

2. ระบบขนส่งทางราง วงเงินลงทุนรวม 11,970 ล้านบาท คือ
+ รถไฟทางคู่ ช่วง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 10,900 ล้านบาท
+ จัดหาและติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศ 1,880 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน วงเงินลงทุนรวม 47,664 ล้านบาท
+ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา 18,400 ล้านบาท
+ โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และเมืองหลัก 5,140 ล้านบาท
+ ทางสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่อง 4 สายทาง 4,830 ล้านบาท
+ ทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 17,552 ล้านบาท

4. การขนส่งทางน้ำ วงเงิน 7,808 ล้านบาท ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.)
+ ก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา 5,410 ล้านบาท
+ ก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ 1,296 ล้านบาท
+ สร้างเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ 776 ล้านบาท
+ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของ ขน. 13 โครงการ 326 ล้านบาท

5. ระบบขนส่งทางอากาศ วงเงิน 42,727 ล้านบาท
+ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 42,503 ล้านบาท
+ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของ ขอ. 224 ล้านบาท

----

ประเภทที่ 3 เป็นโครงการเริ่มดำเนินการในปี 2554 วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 71,344 ล้านบาท
จากกรอบทั้งโครงการ 82,037 ล้านบาท ได้แก่

1.ระบบรถไฟฟ้า เงินลงทุน 14,301 ล้านบาท
- รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง 228 ล้านบาท
- สายสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ 4,830 ล้านบาท
- สายสีเหลืองเข้ม ช่วงพัฒนาการ-สำโรง 9,243 ล้านบาท

2. ระบบขนส่งทางราง วงเงิน 10,979 ล้านบาท จากกรอบทั้งโครงการ 19,672 ล้านบาท
+ ก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) แห่งที่ 2 วงเงิน 4,000 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน 628 ล้านบาท
+ จัดหาขบวนรถโดยสารรูปแบบชุด 6 ขบวน 435 ล้านบาท
+ จัดหาเดินขบวนรถโดยสารดีเซลปรับอากาศเพื่อเปิดเดินขบวนใหม่ 20 ขบวน 405 ล้านบาท
+ จัดหารถดีเซลรางธรรมดาพร้อมอะไหล่ 58 คัน 226 ล้านบาท
+ ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ 2,261 ล้านบาท
+ ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน 3,024 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน วงเงินลงทุนรวม 46,031 ล้านบาท
+ ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด 6,220 ล้านบาท
+ มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี 7,940 ล้านบาท
+ ถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ-ใต้) 2,500 ล้านบาท
+ ทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S2 วงเงิน 28,871 ล้านบาท
+ ก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดศูนย์กลางการขนส่ง และจังหวัดชายแดน 500 ล้านบาท

4. ระบบขนส่งทางอากาศ วงเงิน 33 ล้านบาท
+ ปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร และปรับปรุงระบบไฟฟ้าท่าอากาศ


ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552 หรือประมาณเดือนที่แล้ว
เป็นบทความชื่อ "โฟกัสคมนาคมยุค “เพื่อนเนวิน” ทุบสถิติงบฯลงทุน 3 ปี 5.7 แสนล้าน"