วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จุดเสี่ยงรัฐท่ามกลางฝ่ายค้านอ่อนแอ

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
ในประเด็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.เตรียมพิจารณาความเป็นสมาชิกภาพของส.ที่ถือครองหุ้นในกิจการสื่อและบริษัทที่รับสัมปทานกับรัฐว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 48ประกอบมาตรา265 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่?นั้นในเรื่องนี้มีจุดทีต้องพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น

คือ เรื่อง"กฎหมายของประเทศไทย" บางครั้งเขียนขึ้นมาไม่ชัด ทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นในตัวกฎหมายตีความตามตัวอักษรอาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติมากพอสมควร ฉะนั้น ถ้าหากการตีความจะมีการตรวจสอบถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดเจนด้วยก็อาจจะช่วยทำให้บ้านเมืองไม่ต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียด้านทรัพยากร การสูญเสียจากการใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อม ที่อาจจะต้องเกิดขึ้นในครั้งใหม่ หรือการสูญเสียในด้านอื่น ๆ ที่เกิดจากการพิจารณาหรือวินิจฉัยให้ ส.ส. และ ส.ว. ต้องสิ้นสภาพ

ประเด็นที่ 2 หากต้องมีการตัดสิทธิ ส.ส. จริง จะต้องมีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ครั้งใหม่ ถามว่าจะกระทบกับรัฐบาลหรือไม่ เนื่องจากมี ส.ส. ซึ่งเป็นรัฐมนตรีจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองไปมาก ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน แต่ว่าการเลือกตั้งซ่อมจะต้องเกิดภายใน 45 วัน ดังนั้นใน 45 วัน รัฐบาลอาจจะต้องประคับประคองตัวให้รอดพ้นในช่วงการเลือกตั้งซ่อมที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้น และถ้าหากผลการเลือกตั้งซ่อมออกมา รัฐบาลยังได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนเข้ามา ก็จะทำให้รัฐบาลสามารถประคับประคองตัวได้อีกทางหนึ่ง

ยกเว้นการเลือกตั้งซ่อมที่ออกมารัฐบาลจะได้เสียงน้อยคือ ประชาชนไม่เลือก ส.ส. ของรัฐบาล ทำให้เกิดเสียงน้อยในสภา จนกระทั่งไม่สามารถครองเสียงส่วนใหญ่ได้ รัฐบาลก็จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสี่ยงในการบริหารประเทศ ซึ่งจะทำให้การบริหารยากขึ้น การเสนอกฎหมายใด ๆ ที่จะต้องเข้าสู่สภา ก็จะทำให้ยากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลก็จะอยู่ไม่ได้และจะต้องยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของการถือหุ้นทางรัฐมนตรีก็จะระบุหรือยืนยันว่า ได้ถือหุ้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวทำให้เกิดการสูญเสีย เนื่องจากความจริงแล้วกฎหมายที่เขียนไว้มีเจตนารมณ์อย่างไร การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพียงเล็กน้อยจะไม่มีผล ถือเป็นเรื่องไม่รอบคอบของกฎหมายทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

ทั้งนี้หากรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ของพรรคการเมืองถูกวินิจฉัยให้พ้นสภาพจริง ก็ไม่น่ามีปัญหา เพียงแค่พ้นสภาพความเป็น ส.ส. เท่านั้น ยังสามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้เช่นเดิม เพราะการเป็นรัฐมนตรีจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ส.ส. แต่จะต้องถือหุ้นไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าถือหุ้นเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ก็จะกระทบกระเทือน เนื่องจากกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ห้ามรัฐมนตรีถือหุ้นในสัมปทานของรัฐเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ แต่เรื่องนี้ไม่ยาก แค่ขายหุ้นที่ถือออกไปก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ไม่ใช่เรื่องยาก

เรื่องที่มีการร้องเรียนในขณะนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่จะใช้ต่อสู้ในทางการเมืองเท่านั้น เพราะหากมีรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ถือหุ้นเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ก็จะต้องตกอยู่ในกระแสอย่างแน่นอน

หาก กกต.หรือศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ ส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรีพ้นสภาพก็จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งซ่อมใหม่ภายใน 45 วัน และถ้ารัฐบาลยังสามารถครอบครองเสียงข้างมากไว้ได้เช่นเดิม ก็ไม่น่ามีปัญหา สามารถบริหารประเทศต่อไปได้

เพราะวันนี้ฝ่ายค้านยังอ่อนแอ เนื่องจากยังไม่มีผู้นำตัวจริง ซึ่งผู้นำตัวจริงยังอยู่ต่างประเทศ ที่อยู่ในประเทศก็เป็นแค่นอมินี สุดท้ายการเมืองที่ไม่มีตัวจริง ประชาชนก็ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ เพราะการบริหารประเทศขึ้นอยู่กับตัวผู้นำที่จะเข้ามาบริหารประเทศ และเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุด !!


http://www.innnews.co.th/sombat.php?nid=178910