วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555ด้านระบบขนส่งทั้งหมด 571,523 ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
วงเงินที่ ครม.อนุมัติให้กระทรวงคมนาคมลงทุนโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและให้เกิดการจ้างงาน ตามนโยบายของรัฐบาล
ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 นั้น รวมเบ็ดเสร็จ 571,523 ล้านบาท จากกรอบวงเงินลงทุนทั้งโครงการ 676,250 ล้านบาท
แยกเป็น

- ปี 2553 จำนวน 125,318 ล้านบาท
- ปี 2554 จำนวน 198,056 ล้านบาท
- ปี 2555 จำนวน 248,148 ล้านบาท

+ ผูกพันในปีงบประมาณต่อไป 106,469 ล้านบาท สำหรับโครงการใช้เวลาก่อสร้างเกิน 3 ปี

...

” ครั้งนี้ได้รับการจัดสรรมาก เพราะโครงการของกระทรวงส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ตรงกับเหลักเกณฑ์ที่รัฐบาล กำหนด
คือสามารถทำได้ทันที เกิดการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงๆ”

ผู้อำนวยการ สนข.แจกแจงว่า โครงการที่จะลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับแบ่งเป็น 5 ด้านด้วยกัน คือ

- ระบบรถไฟฟ้า
- ระบบขนส่งทางราง
- ระบบขนส่งทางถนน
- ระบบขนส่งทางน้ำ
- ระบบขนส่งทางอากาศ

ซึ่งบางส่วนเป็นโครงการอยู่ในงบประมาณปี 2553 แม้งบฯปี 2553 ของกระทรวงคมนาคมจะถูกตัดไป
เหลือแค่ 7 หมื่นล้านบาทเศษ แต่ได้รับจัดสรรมาอยู่ในงบฯฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 แทน

ตามแผนการดำเนินงาน กระทรวงการคลังจะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 พร้อมดำเนินการทันทีในปีงบประมาณ 2552-2553
วงเงินลงทุนรวม 91,137 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.ระบบรถไฟฟ้า เป็นการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าระยะแรก จำนวน 5 สายทาง 6 ช่วง ระยะทาง 118 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 162,060 ล้านบาท จากกรอบโดยรวมทั้งโครงการ 168,586 ล้านบาท แยกเป็น
+ โครงการระบบรถไฟฟ้า 4 สายทาง จำนวน 77 โครงการ ดำเนินการโดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
แห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แก่
- สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 38,765 ล้านบาท
- สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 18,514 ล้านบาท
- สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ 24,184 ล้านบาท
- สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค 30,891 ล้านบาท
+ โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
มีสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 6,713 ล้านบาท และช่วง บางซื่อ-รังสิต 42,993 ล้านบาท

2.ระบบขนส่งทางราง เงินลงทุนรวม 17,636 ล้านบาท อยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท.แยกเป็น
+ จัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 308 คัน 770 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 7 คัน 1,050 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 7 คัน 833 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางระยะที่ 5 ช่วงแก่งคอย-แก่งเสือเต้น สุระนารายณ์-บัวใหญ่ ชุมทางถนนจิระ-บัวใหญ่
ระยะทาง 308 กิโลเมตร 6,809 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางระยะที่ 6 ช่วงชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร 5,423 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ 13 คัน 1,950 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ 800 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน ของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงินรวม 3 ปี 154,560 ล้านบาท
จากกรอบทั้งโครงการ 192,629 ล้านบาท แก้ไขปัญหาจราจรพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และเมืองหลัก คือ
+ แยก ทล.บางปู-คลองกระบือ ตอน 2 ส่วนที่ 1 และ 2 และต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 9 วงเงิน 2,820 ล้านบาท
+ ทางสนับสนุนการขนส่งแบบต่อเนื่อง 670 ล้านบาท
+ ขยาย 4 เลน 11,579 ล้านบาท
+ เพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 7,200 ล้านบาท
+ ก่อสร้าง บูรณะ ปรับปรุงสะพานทั่วประเทศ 1,700 ล้านบาท
+ บูรณะทางสายหลัก 12,000 ล้านบาท
+ ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ สายชุมพร-กระบุรี ตอน 1 เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ง 872 ล้านบาท
+ ปรับปรุงทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยว ตัดผ่านชุมชน ปรับปรุงลาดยาง 9,100 ล้านบาท
+ บำรุงรักษาทาง 51,631 ล้านบาท
+ งานอำนวยความปลอดภัย เช่น ติดตั้งไฟฟ้า ไฟสัญญาณจราจร ตีเส้น เครื่องหมายจราจร 12,870 ล้านบาท
+ โครงการถนนปลอดฝุ่น 34,340 ล้านบาท
+ สะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 3,796 ล้านบาท
+ ถนนสายแยก ทล. 314-อ.ลาดกระบัง 3,536 ล้านบาท
+ ถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวตะวันออก-ตะวันตก) 2,450 ล้านบาท

4. ระบบขนส่งทางอากาศ ตัดงบฯซื้อเครื่องบินของบริษัทการบินไทย กว่า 4.9 หมื่นล้านบาทออก
ให้รอแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเหลือเงินลงทุน 1,638 ล้านบาท
- ปรับปรุงท่าอากาศยานในภูมิภาค 4 แห่งที่ปาย หัวหิน กระบี่ และนราธิวาส 662 ล้านบาท
+ ปรับปรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา วงเงิน 976 ล้านบาท

----

ประเภทที่ 2 เป็นโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการขั้นตอนต่างๆ แต่สามารถดำเนินการในปี 2553-2554
วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 164,286 ล้านบาท ได้แก่

1. ระบบรถไฟฟ้า วงเงินลงทุนรวม 54,116 ล้านบาท เป็นงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่อจาก ระยะแรก
ขณะนี้กำลังทำแบบรายละเอียดและทบทวนแผนแม่บท ประกอบด้วย
+ สายสีเขียวเข้ม จากสะพานใหม่-ลำลูกกา 14,219 ล้านบาท
+ สายสีเขียวอ่อน จากสมุทรปราการ-บางปู 7,419 ล้านบาท
+ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 22,266 ล้านบาท
+ สายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ-มีนบุรี 10,212 ล้านบาท

2. ระบบขนส่งทางราง วงเงินลงทุนรวม 11,970 ล้านบาท คือ
+ รถไฟทางคู่ ช่วง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 10,900 ล้านบาท
+ จัดหาและติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศ 1,880 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน วงเงินลงทุนรวม 47,664 ล้านบาท
+ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา 18,400 ล้านบาท
+ โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และเมืองหลัก 5,140 ล้านบาท
+ ทางสนับสนุนการขนส่งต่อเนื่อง 4 สายทาง 4,830 ล้านบาท
+ ทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 17,552 ล้านบาท

4. การขนส่งทางน้ำ วงเงิน 7,808 ล้านบาท ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.)
+ ก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา 5,410 ล้านบาท
+ ก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ 1,296 ล้านบาท
+ สร้างเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ 776 ล้านบาท
+ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของ ขน. 13 โครงการ 326 ล้านบาท

5. ระบบขนส่งทางอากาศ วงเงิน 42,727 ล้านบาท
+ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 42,503 ล้านบาท
+ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของ ขอ. 224 ล้านบาท

----

ประเภทที่ 3 เป็นโครงการเริ่มดำเนินการในปี 2554 วงเงินลงทุนรวม 3 ปี 71,344 ล้านบาท
จากกรอบทั้งโครงการ 82,037 ล้านบาท ได้แก่

1.ระบบรถไฟฟ้า เงินลงทุน 14,301 ล้านบาท
- รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง 228 ล้านบาท
- สายสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ 4,830 ล้านบาท
- สายสีเหลืองเข้ม ช่วงพัฒนาการ-สำโรง 9,243 ล้านบาท

2. ระบบขนส่งทางราง วงเงิน 10,979 ล้านบาท จากกรอบทั้งโครงการ 19,672 ล้านบาท
+ ก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) แห่งที่ 2 วงเงิน 4,000 ล้านบาท
+ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน 628 ล้านบาท
+ จัดหาขบวนรถโดยสารรูปแบบชุด 6 ขบวน 435 ล้านบาท
+ จัดหาเดินขบวนรถโดยสารดีเซลปรับอากาศเพื่อเปิดเดินขบวนใหม่ 20 ขบวน 405 ล้านบาท
+ จัดหารถดีเซลรางธรรมดาพร้อมอะไหล่ 58 คัน 226 ล้านบาท
+ ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ 2,261 ล้านบาท
+ ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน 3,024 ล้านบาท

3. ระบบขนส่งทางถนน วงเงินลงทุนรวม 46,031 ล้านบาท
+ ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด 6,220 ล้านบาท
+ มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี 7,940 ล้านบาท
+ ถนนต่อเชื่อมราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ-ใต้) 2,500 ล้านบาท
+ ทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S2 วงเงิน 28,871 ล้านบาท
+ ก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดศูนย์กลางการขนส่ง และจังหวัดชายแดน 500 ล้านบาท

4. ระบบขนส่งทางอากาศ วงเงิน 33 ล้านบาท
+ ปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร และปรับปรุงระบบไฟฟ้าท่าอากาศ


ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552 หรือประมาณเดือนที่แล้ว
เป็นบทความชื่อ "โฟกัสคมนาคมยุค “เพื่อนเนวิน” ทุบสถิติงบฯลงทุน 3 ปี 5.7 แสนล้าน"