วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การประกันสังคมในประเทศไทย

ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน

ทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531
จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา

ประเทศ ไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

ประเภทของการประกันสังคม
ระบบประกันสังคมที่นานาประเทศถือเป็นหลักปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน จะมีประเภทของการประกันรวม 8 ประเภท คือ
การประกันการเจ็บป่วย
การประกันการคลอดบุตร
การประกันอุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน
การประกันทุพพลภาพ
การประกันชราภาพ
การประกันการสงเคราะห์ครอบครัว
การประกันการเสียชีวิต
การประกันการว่างงาน


หลักการ
การประกันสังคมที่ประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีหลักการที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริหารทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่ง ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว
การประกันสังคมที่ประเทศต่างๆใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีหลักการที่ไม่แตก ต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริหารทางสังคมในระยะยาวอีกระบบหนึ่ง ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว
โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีรายได้ในสังคม ด้วยการออกเงินสมทบเข้ากองทุนเรียกว่ากองทุนประกันสังคมโดยมีนายจ้างลูกจ้าง และในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย

กองทุนนี้จะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดความเดือนร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น
การประกันสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน โดยมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน
โดยมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองความเป็นอยู่ของประชาชน ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต แม้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องขาดแคลนรายได้ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (1989) ได้กำหนดหลักการของการประกันสังคม ของการประกันสังคม ไว้ดังนี้
การประกันสังคมจะมีการบริหารทางการเงินโดยวิธีการจัดเก็บเงินสมทบ ซึ่งโดยปกติมักมาจาก การสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้รัฐจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบหรือเงินอุดหนุนอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ก็ได้
การเข้ามามีส่วนร่วมในการประกันสังคมนั้นจะเป็นลักษณะของการบังคับซึ่งมีข้อยกเว้นน้อยมาก
เงินสมทบที่จ่ายมานั้นจะจัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษ ซึ่งต้องนำไปจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด และนำไปใช้ในการบริหาร
ส่วนเกินของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนขึ้นอยู่กับการได้จ่ายเงิน สมทบ ที่เป็นไปตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบความจำเป็น หรือการตรวจสอบรายได้แต่อย่างใด
อัตราเงินสมทบและอัตราประโยชน์ทดแทนจะมีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ประกันตน
การประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน
โดยทั่วไปจะมาจากการสนับสนุนทางการเงินจากนายจ้างแต่เพียงผู้เดียว โดยอาจมีรัฐช่วยจ่ายเงินอุดหนุน
การประกันสังคมเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลของประเทศต่างๆในโลกส่วนใหญ่นำ ระบบประกันสังคมไปใช้ ในการให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนของตนตั้งแต่เกิดจนตาย

หลักประกันประกันสังคมมีคุณลักษณะ ดังนี้
เป็น ระบบของการเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกันระหว่างมวลสมาชิก ซึ่งโดยทั่วไปรัฐบาลของทุกประเทศจะให้ความสำคัญแก่บุคคลที่ทำงานมีรายได้และ อยู่ในระบบแรงงานก่อนและจะขยายความคุ้มครองไปสู่ผู้ทำงานที่มีรายได้นอกระบบ การจ้างงานปกติ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าแรงงานนอกระบบ
เงินสมทบที่เก็บไปนั้นจะสะสมเป็นกองทุนซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์เฉพาะกับบุคคลที่ส่งเงินสมทบ ซึ่งประเทศไทยเรียกว่า ผู้ประกันตนเท่านั้น
การ เก็บเงินสมทบ ซึ่งถือว่าเป็นภาษีพิเศษ ซึ่งจะเก็บจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ความสำเร็จประการหนึ่งของการประกันสังคม ก็คือเป้าหมายหลักที่จะทำให้การประกันสังคมสามารถครอบคลุมทุกตัวบุคคลของ ประชาชนในชาติ (Universal Coverage) ได้ในอนาคต
อนุสัญญาที่ 102 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ กำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของการประกันสังคมไว้ 9 ประการ คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์ครอบครัว กรณีชราภาพ กรณีว่างงาน การดูแลผู้ที่ขาดการอุปการะ และกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน
สำหรับประเทศไทยได้จัดการดำเนินการระบบประกันสังคมเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน


http://www.sso.go.th/headline/list/240


ข้อเสนอเพื่อสร้างหลักประกันสำหรับแรงงานนอกระบบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
โดย : ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ(25/04/2009 01:53 PM)
23 เมษายน 2552
เรื่อง ข้อเสนอเพื่อสร้างหลักประกันสำหรับแรงงานนอกระบบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

กราบเรียน พณฯนายกรัฐมนตรี

เครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ ประกอบด้วยกลุ่ม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกษตรกรพันธสัญญาและแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร พนักงานในสถานบริการ กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้าง กลุ่มแรงงานคุ้ยขยะและซาเล้ง หาบเร่แผงลอย และกลุ่มขับรถแท็กซี่ ซึ่งทำงานเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวในลักษณะแตกต่างกันโดยไม่มีนายจ้างหรือ มีนายจ้าง ก็ถูกยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายประกันสังคมของรัฐบาล ทำให้ขาดหลักประกันรายได้ทั้งขณะทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานเข้าสู่วัยชรา แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายการขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แต่ยังไม่มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของ แรงงานนอกระบบโดยรวม นอกจากนี้แรงงานนอกระบบไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมาตรการการแก้ไขปัญหาวิกฤต เศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาณสมทบให้แก่แรงงาน ที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมซึ่งไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทั้งที่เสริม สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและสอดคล้องกับมาตรา 44 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ เครือข่ายแรงงานนอกระบบมีข้อเสนอต่อนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐบาลดังนี้
เร่งพัฒนามาตรา ๔๐ และพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องแห่งพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ตามมติของคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรา ๔๐ฯ ด่วนที่สุดพร้อมกับเร่งผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาเห็นชอบ ในการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไขนี้ ที่มีสาระในมาตรา ๔๐ ว่า
"...ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน..."
ให้มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ดังนี้ คือ การจ่ายสมทบปีละ 3,360 บาทต่อปีหรือ 280 บาทต่อเดือน โดยได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองเพิ่มเป็น 5 ประการ คือ
1) กรณีเจ็บป่วย
- ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เนื่องจากการเจ็บป่วย (เฉพาะผู้ป่วยใน) ครั้งละ 1,000 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- บริการทางการแพทย์ บริการคลอดบุตรและทันตกรรมยังคงใช้สิทธิโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเหมือนเดิม
2) กรณีทุพพลภาพ - ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท เป็น เวลา 15 ปี โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 เดือน (3 ปี)
3) กรณีคลอดบุตร - ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์การคลอดบุตร 3,000 บาท คนละ 1 ครั้ง โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 เดือน
4) กรณีเสียชีวิต - ทายาทผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพเหมาจ่ายเป็นเงิน 30,000 บาท โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5) กรณีชราภาพ - กองทุนประกันสังคมจะกันวงเงินปีละ 1,855 บาท (จากเงินสมทบปีละ 3,360 บาท) เก็บสะสมไว้เป็นเงินออมเพื่อผู้ประกันตนจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เมื่อมีอายุครบ 55 ปี (หมาย เหตุ สิทธิประโยชน์ที่กำหนดตามมาตรา 40 (ใหม่) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการปรับปรุงกฎหมายของคณะกรรมการประกันสังคมและสำนักงานประกัน สังคม)
เสนอให้รัฐบาลประเดิมจ่ายเงินจำนวน 2,000 บาท สำหรับปีแรกและร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแรงงานนอกระบบตามอัตรา กำหนดที่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายในปีต่อ ๆ ไปเพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรมเช่นเดียวกับที่แรงงานในระบบที่รัฐบาล ร่วมจ่ายเงินสมทบและมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยเหลือค่าครอง ชีพแก่แรงงานในระบบ
หากรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะร่วมกันสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 24 ล้านคนอย่างจริงจังต่อเนื่อง เครือข่ายแรงงานนอกระบบขอเรียกร้องให้ รัฐบาลโปรดดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง


( นายสมคิด ด้วงเงิน )
ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ
เลขที่ 1071 หมู่บ้านรามอินทรานิเวศน์ ซอยรามอินทรา 67 ถนนรามอินทรา
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์/โทรสาร 02-9458485