วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหมาย รายงานศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ TOR

ศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการ(Feasibility Studies FS/Appraisal AP)

ความหมาย
การศึกษาหรือการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย (ผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย) ของแต่ละโครงการในด้านต่างๆ

วัตถุประสงค์
1)ดูว่าสิ่งที่กำหนดไว้มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จตามวัตประสงค์หรือไม่
2)ประเมินว่าควรลงทุนหรือไม่
3)ใช้เป็นแนวทางในการวางรายละเอียดในขั้นการวางแผนดำเนินงาน
4)เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินการ

ขอบข่าย
ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ เช่น โครงการภาครัฐ โครงการเอกชน โครงการ-ต่อเนื่อง โครงการใหม่ โครงการด้านอุตสาห-กรรม โครงการเพื่อขยายงานเดิม เป็นต้น

ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้
-ปัจจัยภายใน
1)ด้านเทคนิค(เทคโนโลยี-การออกแบบ-อัตรากำลัง)
2)ด้านการบริหารจัดการ(กลยุทธ์-ภายในองค์กร-ภายนอก)
3)ด้านการเงิน(ต้นทุน-แหล่งทุน-วิเคราะห์ด้านการเงิน)
-ปัจจัยภายนอก
4)ด้านเศรษฐกิจ(ผลตอบแทนทางศก.-จ้างงาน-กำไร)
5)ด้านสังคม(วัฒนธรรม-Y+No)และการเมือง(ความเสมอภาค-ผลประโยชน์การเมือง-กฏหมาย-ความมั่นคงประเทศ)-SIA
6)ด้านสิ่งแวดล้อม(ความเหมาะสม-ผลกระทบ<ยาว,สั้น,กว้าง,แคบ,ตั้งใจ,ไม่ตั้งใจ>)-EIA

.....................................................................................................................

การจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขโครงการ (TOR)

ความหมาย และความสำคัญของ TOR

ความหมายของ TOR
การจัดทำ TOR (Terms of Reference) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “การจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา” เป็นเอกสารที่กําหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจ ที่ผู้จัดทํา TOR ต้องการให้ผู้รับจ้างดําเนินการ รวมทั้งความรับผิดชอบอื่นๆ ของผู้รับจ้างที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น
ตัวอย่างเช่น TOR สําหรับการว่าจ้างที่ปรึกษาให้ดําเนินการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะกําหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ต้องศึกษา รวมทั้งระดับความลึกของการศึกษาแต่ละประเด็น และรายงานต่างๆซึ่งที่ปรึกษาจะต้องจัดทํา และส่งมอบให้ผู้ว่าจ้างในช่วงเวลาต่างๆ ตลอดช่วงเวลาของการดําเนินภารกิจ

ดังนั้น TOR จึงเทียบได้กับข้อกําหนด (Specifications) ของสินค้า ที่ผู้ซื้อจัดทําขึ้นสําหรับการจัดซื้อ แต่ต่างกันตรงที่ไม่สามารถจัดทําข้อกําหนดอย่างละเอียด สําหรับผลงานการศึกษาหรือบริการทางวิชาการได้เหมือนกับข้อกําหนดของสินค้า ดังนั้น TOR จึงให้ ข้อกําหนดได้เพียงคร่าวๆเท่านั้น

ความสำคัญของ TOR
-ประการแรก มีความสำคัญมากต่อคุณภาพของผลงานที่จะได้จากผู้รับจ้าง TOR จะต้องมีความชัดเจน และกําหนดประเด็นต่างๆ ที่ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการไว้อย่างชัดเจน TOR ยิ่งมีความชัดเจนเพียงใดยิ่งทําให้การคัดเลือกผู้รับจ้างได้ง่ายขึ้น โปร่งใสมากขึ้นและประเมินปริมาณแรงงานของนักวิชาการสาขาต่างๆที่ต้องใช้ใกล้เคียงกับความจริงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น TOR จึงต้องมีความชัดเจนเพียงพอต่อการประเมินปริมาณและคุณภาพงานของผู้รับจ้าง

-ประการที่สอง เป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้าง TOR นอกจากกําหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจของผู้รับจ้างแล้ว ผู้ว่าจ้างจําเป็นต้องกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกผู้รับจ้างไว้ด้วย โดยเสนอแยกต่างหากไว้ในเอกสารข้อมูลสําหรับผู้รับจ้าง TOR ที่ดีจะต้องไม่เป็น TOR ที่กว้าง และทั่วไป จนสามารถนําไปใช้ได้ในทุกกรณี

ดังนั้นการจัดทำ TOR จึงต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น หรือในระดับแนวคิด โดยการร่วม
หารือกับกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลายครบถ้วนครอบคลุม

ในองค์กรภาคเอกชน เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุด(Chief Executive Officer -CEO) จะเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดแนวคิดโครงการ (project ideas) ที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการ และความจำเป็นของกิจการ แนวคิดนี้จึงถือว่าเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขของโครงการ (terms of reference -TOR) ที่นักวางแผนในหน่วยงานหรือบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับการว่าจ้างที่จะต้องดำเนินการต่อไป


ความหมายของ TOR http://www.sepo.go.th/mbc/Uploads/Files/1211525200.pdf


...........................................................................................................................

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ในปัจจุบันมักเกิดปัญหาความขัดเเย้งระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ๆเช่นการก่อสร้างเขื่อน การก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือการวางท่อแก็สที่เห็นเป็นข่าวอยู่นทุกวันนี้ ซึ่งมักจะมีการหยิบยกเรื่องการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือการทำ อี ไอ เอขึ้นมาสนับสนุนหรือขัดค้านโครงการในมุมมองของเเต่ละฝ่ายเสมอ

การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหมายถึงการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งรัฐธรรมนูญเเเห่งราชอนาจักรไทยพ.ศ. 2540 ได้บัญญัติให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งเเวดล้อมจะต้องศึกษาผลกระทบอย่างรุนเเรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งเเวดล้อมพ.ศ 2535 ได้กำหนดประเภทเเละขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำ อี ไอ อี ไว้

การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อี ไอ เอ นั้น ช่วยให้หน่วยงานรัฐที่ควบคุมกำกับดูเเลโครงการหรือกิจกรรมต่างๆตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำโครงการเมื่อใดมีการพิจารณาในเเง่มุมของต้นทุนด้านสิ่งเเวดล้อมประกอบเเล้ว ตรงข้ามกับในอดีตที่การตัดสินสร้างหรือไม่สร้างจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ต้นทุนกำไรของโครงการเป็นหลัก เช่น หากรัฐต้องการจะสร้างเขื่อนก็จะวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการสร้างเขื่อนซึ่งอาจได้เเก่ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งสามารถนำน้ำนั้นมาผลิตเป็นกระเเสไฟฟ้าเพื่อขายให้ผู้บริโภคได้เงินจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกัน อ่างเก็บน้ำอาจช่วยให้เกษตรกรท้ายลำน้ำสามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำนาได้ทั้งปี เป็นประโยชน์ต่อการทำประมงในบริเวณอ่างเก็บน้ำ และท้ายน้ำ บรรเทาความเสียหายอันเกิดจากน้ำท่วม เเละป้องการน้ำทะเลรุกปากเเม่น้ำได้อีกด้วยเเละเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการก่อสร้างเขื่อนเเละอ่างเก็บน้ำซึ่งจะได้แก่ ค่าก่อสร้างเขื่อน เครื่องกำหนดไฟฟ้า ถนน เสาและสายส่งกระเเสไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดิน อพยพประชาชนออกจากพื้นที่น้ำท่วมและการตั้งถิ่นฐานใหม่ของประชาชนในอดีตหากการวิเคราะห์พบว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีค่ามากกว่าต้นทุนทางเศรษฐกิจรัฐก็จะดำเนินโครงการทันทีซึ่งในการวิเคราะห์ต้นทุนเเละกำไรดังที่กล่าวนั้น มิได้นำต้นทุนทั้งหมดมาคำนวณ ยังมิได้พิจารณาว่า การก่อสร้างเขื่อนนั้นมีต้นทุนด้านสิ่งแว้ดล้แมใดบ้างที่ต้องสูญเสียไป เช่น การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจจะทำให้พื้นที่เกษตรกรรมบางส่วนจมอยู่ใต้น้ำ ป่าไม้บางแห่งถูกทำลาย เป็นการทำลายระบบนิเวศน์ของพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งทำลายความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย ความเสียหายทางด้านสิ่งเเวดล้อมบางลักษณะ อาจมิได้มีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์มากนัก เเต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศน์

การจัดทำรายงานผลกระทบฯหรืออี ไอ เอ มีวัตถุประสงค์จะสร้างความปรองดองระหว่างมนุษย์เเละสิ่งเเวดล้อม ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมจาการทำกิจกรรมของมนุษย์ ส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพของมนุษย์ รวมทั้งให้ความเข้าใจต่อระบบนิเวศน์เเละทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างน้ำไม่ว่าจะใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตกระเเสไฟฟ้า ทำการเกษตร อุตสาหกรรม ประมง คมนาคม เขื่อนหนืออ่างเก็บน้ำมีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้านลูกบาศ์มิลลิเมตรขึ้นไป
2. โครงการชลประทานที่มีพื้นที่ชลประทานตั้งเเต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป
3. สนามบินพาณิชย์ทุกขนาด เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ (หนองงูเห่า)
4. โรงแรมหรือสถานที่ตากอากาศที่มีขนาดตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
5. ระบบทางพิเศษ(ทางด่วน) หรือระบบขนส่งมวลชนที่ไร้ราง (รถไฟฟ้าบนดินใต้ดิน)เช่นกระเช้าไฟฟ้าที่แล่นบนรางต้องทำEIA กระเช้าไฟฟ้าที่แล่นตามเส้นลวดไม่ต้องทำEIA
6. การทำเหมืองแร่ทุกชนิด เเต่การสำรวจแร่ไม่ต้องทำ EIA
7. การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ทั้งเขตอุตสาหกรรมทั่วไป เขตอุตสาหกรรมส่งออก
8. ท่าเรือพาณิชย์ที่รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันขึ้นไป
9. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ผลิตกระเเสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป (ความร้อนจากเเก็ส น้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ
10. การอุตสาหกรรม
11. โครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บี พื้นที่ลุ่มน้ำจะมีการจัดชั้นตามความสำคัญของลุ่มน้ำเป็นลุ่มน้ำชั้น 1A ชั้น 1B ลุ่มน้ำชั้น 1A จะเป็นป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ห้ามใช้พื้นที่มีการบุกรุกและใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านทำให้สภาพป่าไม้สมบูรณ์จึงต้องจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยการให้ทำ EIA ก่อน
12. การถมดินในทะเลไม่รวมทะเลสาบ
13. การก่อสร้างอาคารที่อยู่ริมเเม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรืออยู่ในอุทยานเเห่งชาติที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ใช้สอย 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
14. อาคารชุด 80 ห้องขึ้นไป
15. การจัดสรรที่ดินตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไปหรือมีเนื้อที่โครงการเกินกว่า 100 ไร่
16. โรงพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยตั้งเเต่ 60 เตียงขึ้นไป
17. อุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
18. อุตสาหกรรมสารเคมีปุ๋ยเคมี
19. การก่อสร้างทางหลวงหรือถนนที่ก่อสร้างผ่านพื้นที่รักษาพันธ์สัตว์ป่า พื้นที่อุทยาน พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ชายฝั่งทะเล
20. โครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียหรือของเสีย
21. โรงงานน้ำตาล
22. การผลิตปิโตรเลียม
นอกจาก 22 โครงการที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว หากในบางพื้นที่ที่เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน


ปัญหาการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. ทำให้เกิดความล่าช้า หากเป็นโครงการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้า จะทำไม่ได้
2. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลในการตัดสินใจของผู้ทำโครงการเพราะผู้ทำโครงการได้ตัดสินใจทำโครงการนั้นเเล้ว เพียงเเต่จัดทำรายงานผลกระทบให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น
3. ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการทำรายงานผลกระทบสิ่งเเวดล้อม ทำให้การประเมินผลกระทบขาดความสมบูรณ์
4. การทำรายงานผลกระทบสิ่งเเวดล้แมทำโดยเจ้าของโครงการจึงขาดความเป็นกลางในการทำรายงานฯ ประชาชนในพื้นที่จึงไม่ยอมรับผลรายงาน

.........................................................................................................................

ตัวอย่างรายงานศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ TOR

1. รายงานผลการศึกษาโครงการขุดลอกระบายน้ำอ้อมแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการศึกษาโครงการขุดลอกระบายน้ำอ้อมแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้

ผลการศึกษาสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
1. โครงการดำเนินการโดยกรมชลประทาน โครงการศึกษาปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีตอนล่าง (จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี) โดยปรับปรุงขุดลอกลำน้ำมูลท้ายเมืองอุบลราชธานีถึงบริเวณอำเภอพิบูลมังสาหารและการทำแก้มลิงบริเวณพื้นที่ลำมูลน้อย เพื่อเร่งระบายและลดปริมาณน้ำบางส่วนจากผลการวิเคราะห์จะมีผลให้ระดับน้ำที่สถานี M.7(สะพานเสรีประชาธิปไตย) จะมีระดับลดลงจากเดิมก่อนมีการขุดลอกและสร้างแก้มลิงประมาณ 99-103 ซม. และสามารถลดจำนวนวันที่น้ำท่วมได้ 17-28 วัน การมีแก้มลิงลำมูลน้อยจะช่วยกักน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งเป็นที่พักผ่อนของจังหวัดได้ ค่าก่อสร้างของโครงการประมาณ 1,980 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืนที่ดิน)
2. โครงการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ
2.1 โครงการ ศึกษาแบบจำลองสภาพน้ำท่วมพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำมูล เพื่อทราบระดับน้ำและพื้นที่ท่วมนอง บริเวณเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ สรุปได้ว่าการใช้สิ่งปลูกสร้าง หรือ การลงทุนขนาดใหญ่ เช่น ก่อสร้างพนังกั้นน้ำ ขุดลอกทางเชื่อม ปรับปรุงถนน ฯลฯ จะไม่สามารถแก้ไข หรือบรรเทา อุทกภัยได้อย่างมีนัยสำคัญ
2.2 โครงการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุทกภัย ในเขตอำเภอเมืองวารินชำราบ ผลศึกษาสรุปได้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมในเขตเทศบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 1,731 ครัวเรือน นอกจากนี้อุทกภัยส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเก็บขยะ การกำจัด หรือการจัดการขยะ และคุณภาพของน้ำในแม่น้ำมูล และแหล่งน้ำต่าง ๆ
2.3 โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคลองลัดแม่น้ำมูล ได้กำหนดแนวทางคลองเป็นส่วนย่อย ๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวคลองย่อย ดังนี้ 1) แนวคลอง บ้านโนนข่า-ห้วยน้อย 2) แนวคลองวัดโพธิ์ศรีใต้-หนองคอม-ห้วยน้อย 3) เส้นทางน้ำธรรมชาติห้วยน้อย —ดอนตาดไฮ 4) แนวคลองลัดดอนตาดไฮ-ห้วยแคน-บ้านตุงลุง 5) ห้วยน้ำจาง-ห้วยคันลึม-ห้วยหินลาด-บ้านวังใหม่
ผลการศึกษาแสดงว่า การขุดคลองลัดระบายน้ำตามแนวทางต่าง ๆ มิได้เกิดประสิทธิผล หรือมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาอุทกภัยบริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ แต่อย่างใด กล่าวคือ การขุดคลองผัน หรือระบายน้ำ มิได้ทำให้ระดับน้ำท่วมที่บริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ และการทำระบบชลประทานไม่เหมาะสม ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับจะต้องมีผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

http://www.ryt9.com/s/cabt/67023/


2. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย - มาเลเซีย.
http://www.envi.psu.ac.th/ptt/gsp.html