วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การบริหารหนี้สาธารณะ

+กรอบความยั่งยืนทางการคลัง+
กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง (5-10 ปี ) โดยพิจารณาจากการประมาณการรายได้ รายจ่าย ดุลการคลัง หนี้สาธารณะ และนโยบายของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาลให้มีความยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบัน กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ดังนี้
-ยอดหนี้สาธารณะตามประเภทต่อ GDP ไม่เกิน ร้อยละ 50
-ภาระหนี้รัฐบาลต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
-สามารถทำงบสมดุลได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นไป
-สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ
นอกจากนี้ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 กำหนดเกณฑ์ในการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณเพิ่มเติมว่า
ในส่วนของการกู้เงินจากต่างประเทศวงเงินกู้ตามแผนเมื่อรวมกับวงเงินที่คาดว่าจะกู้ใน 5 ปีถัดไปแล้ว สัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) ต้องมีอัตราโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 9 สำหรับเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารโลก สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 80 และ Debt Service Ratio ของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 25


+หนี้สาธารณะ (Public Debt) หมายถึงอะไร+
-หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง (Government Debt) ซึ่งมีผลผูกพันต่อรัฐบาลในการชำระคืนจากงบประมาณแผ่นดิน และเป็นภาระของประชาชนในฐานะผู้เสียภาษีอากร
-หนี้รัฐวิสาหกิจ คือเงินกู้ที่รัฐบาลค้ำประกัน หรือเงินกู้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ซึ่งรัฐวิสาหกิจได้มีบทบาทในการก่อหนี้ เพื่อลงทุนในโครงการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศ
-กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือเงินที่กู้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงิน


+ทำไมสำนักบริหารหนี้สาธารณะจึงมีความสำคัญ?+
-สำนักบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-สำนักบริหารหนี้สาธารณะสามารถกำหนดนโยบายและกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการดำเนินการด้านหนี้สาธารณะ
-สำนักบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้จัดทำแผนการก่อหนี้และบริหารหนี้ภาครัฐ ทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และยาว
-สำนักบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้พัฒนากลยุทธ์ในการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อลดต้นทุนการกู้เงินในระยะยาว และลดภาระงบประมาณแผ่นดินในการจัดสรรงบชำระหนี้ในแต่ละปีให้มีความสม่ำเสมอ (Bunching)
-เป็นผู้สร้างกลไกในการบริหารและจัดการเพื่อให้การดำเนินการก่อหนี้และบริหารหนี้ภาครัฐ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์ มีความคล่องตัวโปร่งใส และสามารถ ตรวจสอบได้ทันท่วงที
-เป็นผู้ดูแลการดำเนินการก่อหนี้ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนเป็นไปอย่างมีระบบและสอดคล้องกับความสามารถ ในการชำระหนี้
-เป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนและระบบการเงินโดยรวม


+ใครคือแหล่งเงินกู้ที่สำคัญของประเทศไทย? +
-ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank /ADB)
-ธนาคารโลก (World Bank)
-ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation /JBIC)


+สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สำคัญของประเทศไทยคือใคร? +
-Standard & Poor
-Moody's Investors Service
-Fitch IBCA
-Japan Rating and Investment Information (R&I)
-Thai Rating and Information Services (TRIS)


+โครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Projects) คืออะไร? +
-โครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) คือโครงการที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ซึ่งมุ่งเน้นที่การคลี่คลายปัญหา พยุงฐานะ และช่วยเหลือผู้ตกงานภายในเวลา 4 ปี ภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ


+ถ้าสนใจลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยควรทราบเรื่องอะไรบ้าง+
-ตราสารหนี้ไทยหลัก ๆ มี 2 ชนิด ได้แก่ พันธบัตร และตั๋วเงินคลัง
พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินที่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
โดยให้คำมั่นสัญญาว่าผู้ถือมีสิทธิที่จะได้รับชำระต้นเงินตามพันธบัตรคืนภายในกำหนดเวลา พร้อมด้วยดอกเบี้ย
ในอัตราที่กำหนด เราสามารถแบ่งชนิดของพันธบัตรตามลักษณะการถือกรรมสิทธิ์เป็น 3 ชนิด ได้แก่
(พันธบัตรชนิดจ่ายเงินแก่ผู้ถือ)
(พันธบัตรชนิดจดทะเบียน )
(พันธบัตรชนิดจดบัญชี )
-ตั๋วเงินคลัง คือ ตราสารทางการเงินระยะสั้นที่รัฐบาลเป็นผู้ออก จำหน่ายโดยวิธีประมูลและชำระเงินในราคาตราหักส่วนลด
เมื่อครบกำหนดผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนราคาตรา


+ระบบประมวลและติดตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ (LP-MIS) คืออะไรและมีวัตถุประสงค์อะไร?+
-ระบบประมวลและติดตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ (LP-MIS) คือระบบข้อมูลสารสนเทศบน Website ( www.osu-mof.org ) ที่พัฒนาโดยหน่วยติดตาม ประเมินผล และสนับสนุนโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ (OSU)
สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ระบบ LP-MIS สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับเจ้าหน้าที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะ และหน่วยดำเนินโครงการของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้ในการจัดการโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ โดยระบบ LP-MIS จะแสดงข้อมูลล่าสุดของโครงการ และสถานะการใช้จ่ายเงินและประเมินผลการดำเนินโครงการโดนใช้ดัชนี